น้ำหนักแม่ท้อง หากจะว่าด้วยเรื่องน้ำหนักแม่ท้องตั้งแต่ไตรมาสแรกจนไตรมาสที่สามนั้น สิ่งที่แม่ท้องควรคำนึกให้มาก คือ การรักษาน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ให้ได้มาตรฐานเป็นไปตามเกณฑ์จะดีที่สุด แต่ก็มีแม่ท้องบางคนสงสัยและสอบถามเข้ามาจำนวนมากว่า …แล้วหากแม่ท้องที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมากและน้ำหนักลดลงอย่างมาก จะมีผลกับทารกในครรภ์หรือไม่อย่างไร ทีมคนท้องขออาสาไขปัญหาสำหรับเรื่องนี้ให้ค่ะ
น้ำหนักแม่ท้อง
ที่เหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐาน
โดยปกติแล้วน้ำหนักแม่ท้องตลอดระยะเวลา 9 เดือน เฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 10-15 กิโลกรัม ซึ่งหากคิดเป็นแต่ละไตรมาสควรมีน้ำหนักดังต่อไปนี้
1.ไตรมาสแรก เดือนที่ 1-3 เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ และในแม่ตั้งครรภ์มือใหม่น้ำหนักตัวจะยังไม่มีความแตกต่างจากเดิมมากนัก อาจจะเพิ่มเพียง 1-2 กิโลกรัม ซึ่งในแม่ท้องบางคนน้ำหนักอาจจะมีการลดลงด้วยซ้ำ เนื่องจากมีอาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ทานอาหารได้น้อยลง หรือทานอาหารไม่ได้เลย โดยขนาดของทารกในไตรมาสนี้เริ่มจากสัปดาห์ที่ 8 ถึง 12 จะอยู่ที่ 1-15 กรัม และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 16
2.ไตรมาสที่ 2 เดือนที่ 4-6 ในช่วงนี้น้ำหนักแม่ท้องจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ประมาณเดือนละ 1 กิโลกรัม ถึง 1 .5 กิโลกรัม ขณะที่ในแม่ท้องบางคนอาจจะมีความอยากทานนั่นนี่มากขึ้นกว่าเดิม โดยขนาดของทารกในไตรมาสนี้เริ่มจากสัปดาห์ที่ 17-20 น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นทุกๆ 50 กรัม จนกระทั่งสิ้นสุดไตรมาสนี้ ทารกจะมีน้ำหนักประมาณ 600 กรัม
3.ไตรมาสที่ 3 เดือนที่ 7-9 ในช่วงนี้แม่ท้องจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 2 กิโลกรัม หรือ 2.5 กิโลกรัม และในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ น้ำหนักจะเริ่มคงที่ซึ่งหากมีการลดลงก็จะลดลงเล็กน้อย โดยขนาดของทารกในไตรมาสนี้จะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นประมาณสัปดาห์ละ 200 กรัม และจนสัปดาห์สุดท้ายของไตรมาสนี้ น้ำหนักทารกจะอยู่ที่ประมาณ 2,400 กรัม ถึง 3,700 กรัม
น้ำหนักแม่ท้อง ที่ขึ้นมากหรือน้อย มีผลต่อขนาดของทารกในครรภ์หรือไม่
1.แม่ท้องที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก จะส่งต่อทั้งแม่ท้องและทารกในครรภ์ คือ แม่ท้องเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เสี่ยงต่อโรคอ้วนหลังคลอด เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน เสี่ยงต่อการคลอดยาก ช่องคลอดฉีกขาดมากกว่าปกติ เพราะทารกจะตัวใหญ่ หรือทารกกลายเป็นเบาหวาน
2.แม่ท้องที่น้ำหนักน้อยลงมาก ในกรณีที่เกิดจากภาวะขาดสารอาหาร จะส่งต่อแม่ท้องและทารกในครรภ์ เพราะร่างกายที่ขาดวิตามิน ขาดสารอาหาร ย่อมส่งผลให้ทารกมีขนาดเล็ก น้ำหนักตัวน้อย หรือหากมีอาการมากอาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้ สำหรับแม่ท้องเองอาจเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ เนื่องจากรกต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือมีภาวะแท้ง หรือ ภาวะทารกตัวเล็กกว่าอายุครรภ์ ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการด้านสมองของทารกในครรภ์ หรือในกรณีที่น้ำหนักน้อยลงมากอาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม หรือรกมีปัญหา หรือ เกิดจากทารกเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อขนาดของทารกในครรภ์ทั้งสิ้น
แม่ท้องกับการปฏิบัติสำหรับการดูแลน้ำหนัก
1.ชั่งน้ำหนัก เพื่อเช็กสุขภาพครรภ์เป็นประจำ ประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมกับจดบันทึกเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก ซึ่งในแต่ละสัปดาห์ไม่ควรเกิน 0.3 กิโลกรัม
2.ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ครบ 3 มื้อ งดอาหารจำพวกที่ไม่มีประโยชน์สำหรับสุขภาพครรภ์ หรืออาหารจำพวกที่มีน้ำตาล ไขมัน ซึ่งทำให้น้ำหนักตัวแม่ท้องเพิ่มขึ้น หรืองดทานอาหารรสจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด หวานจัด เผ็ดจัด เป็นต้น
3.ออกกำลังกายสำหรับแม่ท้อง การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นกับแม่ท้องเช่นกัน ไม่ควรละเลยกับข้อนี้ เพราะจะทำให้มีประโยชน์ต่อทั้งแม่ท้องและลูกในครรภ์ ช่วยเสริมกล้ามเนื้อสำหรับการคลอด โดยอาจจะเดินออกกำลังกาย โยคะสำหรับแม่ท้อง ว่ายน้ำ แอโรบิค ประมาณวันละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
เช่นนี้แล้วแม่ท้องควรรักษาน้ำหนักให้ได้มาตรฐานจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..