การตรวจสุขภาพก่อนที่จะทำการตั้งครรภ์นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีความจำเป็นต่อผู้ที่กำลังจะเป็นคุณแม่เป็นอย่างมาก เพราะแพทย์จะได้ตรวจดูก่อนว่าคุณแม่มีโรคอะไรบ้างที่มีความเสี่ยงในระหว่างการตั้งครรภ์บ้างหรือเปล่า เช่น แม่ท้องเป็นโรคไต การเป็นโรคธาลัสซีเมีย การได้รับเชื้อบางชนิดจากการมีเพศสัมพันธ์ ที่ค่อนข้างจะมีผลกระทบต่อทารกในครรภ์กรณีที่เกิดการกำเริบขึ้นมาในระหว่างการตั้งครรภ์ วันนี้เราเลยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคุณแม่ที่อยู่ในช่วงของการตั้งครรภ์แล้วเกิดเป็นโรคไตขึ้นมาว่าควรจะดูแลตัวเองอย่าง เนื่องจากโรคนี้อันตรายมากกว่าที่คิด

แม่ท้องเป็นโรคไต มีโอกาสอาการกำเริบง่ายกว่าที่คิด

เมื่อมีอายุครรภ์พอสมควร มดลูกก็จะต้องมีการขยายตัวขึ้นตามการเจริญเติบโตของทารก จึงอาจทำให้เกิดการกดทับไต เป็นเหตุให้ท่อไตอุดตันจนทำให้เกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ กรวยไตอักเสบ เป็นนิ่วในไตได้ ยิ่งถ้าคุณแม่กลั้นปัสสาวะ ก็อาจทำให้อาการรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ก็คือคุณแม่ที่มีประวัติเป็นโรคไตมาก่อน ถึงแม้ว่าจะรักษาจนหายขาดแล้ว ก็มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่ได้ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์นี้

โรคไตแบบใดบ้าง ที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

แพทย์ได้แบ่งการเป็นโรคไตในคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องไว้เป็น 2 ประเภท คือโรคไตชนิดรุนแรง และโรคไตชนิดที่ไม่รุนแรง โดยมีรายละเอียดคือ

1.โรคไตชนิดไม่รุนแรง

อาจจะพบได้จากค่าเกลือแร่ในไตที่มีความผิดปกติเล็กน้อย แต่ไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อทารกมากนัก โดยสูติแพทย์ และอายุรแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องไต จะต้องคอยดูแลคุณแม่ที่มีอาการโรคไตชนิดไม่รุนแรงนี้อย่างใกล้ชิด โยการติดตามผลการตั้งครรภ์ และตรวจการเจริญเติบโตของทารกตลอดเวลา เพื่อดูว่าเกิดความผิดปกติใดขึ้นหรือไม่ ถ้าไม่พบก็แปลว่าไม่มีอะไรที่ต้องกังวล

2.โรคไตชนิดรุนแรง

การจะระบุว่าเป็นโรคไตชนิดรุนแรง ก็ต่อเมื่อก่อนการตั้งครรภ์คุณแม่เคยผ่านการล้างไตมาแล้ว ถ้าหากมีการตั้งครรภ์ขึ้น ก็มีความเสี่ยงสูงถึงร้อยละ 50 ที่จะเกิดภาวะแท้งบุตร ภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์ รวมถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ ที่อาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่ถึงแก่ชีวิต

Sponsored

อาการอย่างไร จึงจะใช่โรคไตในขณะที่มีการตั้งครรภ์ ?

ถ้าหากว่าคุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์อยู่ พบอาการดังต่อไปนี้ ให้ตั้งข้อสงสัยทันทีว่าอาจจะเป็นโรคไต และต้องรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

  • ปัสสาวะมีฟองขาวมาก หรือปัสสาวะปนเลือด การพบปัสสาวะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นไปได้ว่าอาจจะเกิดจากการที่มีโปรตีนปะปนมากับปัสสาวะในปริมาณมาก รวมถึงเกิดการอักเสบภายในร่างกาย จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการให้เร็วที่สุด เพราะถ้าหากพบว่าเป็นโรคไตจริง ก็จะต้องมีการดูแลควบคุมให้โรคสงบก่อนที่จะมีการคลอดเด็กออกมา มิเช่นนั้นอาจจะเกิดปัญหาคลอดก่อนกำหนด หรือทำให้ทารกมีพัฒนาการที่ช้ากว่าที่ควรจะเป็น
  • มีอาการไข้สูง พร้อมกับปัสสาวะแสบขัด มักจะเป็นอาการของการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (ถึงแม้จะไม่ได้เป็นโรคไตก็สามารถพบโรคนี้ได้บ่อย) จะพบได้ก็ต่อเมื่อมีอายุครรภ์เกิน 20 สัปดาห์ไปแล้ว ถ้าหากพบแพทย์เร็ว แค่ทานยาปฏิชีวินะก็สามารถหายขาดได้ แต่ถ้ารอเวลาไปเรื่อย ๆ จนถึงขั้นกรวยไตอักเสบ ก็จะต้องทำการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อดูอาการแทน เพราะถ้าไม่รีบทำการรักษา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด และเกิดการคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่เสียชีวิต

ถ้ารู้ตัวว่าเคยเป็นโรคไตมาก่อน คุณแม่ก็ควรปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้มีการกระตุ้นให้กลับมาเป็นอีกครั้ง หรือถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องหมั่นมาพบแพทย์อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์และตัวคุณแม่เองในอนาคต

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.10 เคล็ดลับการตั้งครรภ์ ท้องแรก ที่คุณแม่ควรปฏิบัติ

2.10 ความเชื่อคนท้อง ที่คุณแม่ควรรู้ เช็คสิมีอะไรบ้าง