โรคหัดเยอรมัน อีกหนึ่งโรคร้ายที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะหาก แม่ท้องเป็นหัดเยอรมัน อาจส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคุณแม่เป็นอย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นเมื่อพบว่ากำลังป่วยด้วยโรคหัดเยอรมัน คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อทำการตรวจและรักษาในทันทีนั่นเอง แต่เอ๊ะ!! แล้วโรคหัดเยอรมันมีอาการอย่างไร จะรู้ได้ยังไงว่ากำลังป่วยด้วยโรคนี้ เราลองไปทำความรู้จักกับโรคหัดเยอรมันกันหน่อยดีกว่า

โรคหัดเยอรมัน คืออะไร

หัดเยอรมัน เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไข้ออกผื่น ซึ่งส่วนใหญ่การได้รับเชื้อไวรัสหัดเยอรมันจะไม่แสดงอาการออกมาในทันที แต่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไปแล้วประมาณ 14-21 วัน ทั้งยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ตั้งแต่ยังไม่แสดงอาการออกมาเลยทีเดียว และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ก็มีโอกาสที่จะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้สูง แม้ว่าโรคนี้จะไม่มีความร้ายแรงกับตัวคุณแม่เองก็ตาม

อาการของโรคหัดเยอรมัน

เมื่อติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมันไปได้ระยะเวลาหนึ่ง จะเริ่มมีอาการผิดปกติแสดงออกมา โดยเริ่มจากมีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยเฉพาะตามข้อ และในบางคนก็อาจมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย ซึ่งอาการดังกล่าวนี้ก็จะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดาทั่วไปนั่นเอง แต่หลังจากมีไข้ได้ประมาณ 1-2 วัน จะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นบนใบหน้าและกระจายออกไปตามลำตัวอย่างเห็นได้ชัด และอาจคลำเจอต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณหลังหูได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นหากพบอาการเหล่านี้อย่าได้นิ่งนอนใจเด็ดขาด เพราะนั่นอาจแสดงได้ว่าคุณกำลังป่วยด้วยโรคหัดเยอรมัน อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยบางคน ก็อาจไม่มีอาการออกผื่นให้เห็นได้เหมือนกัน

เกิดการติดต่อไปสู่กันได้อย่างไร

สำหรับการติดต่อของโรคหัดเยอรมันไปสู่กันนั้น จะติดต่อผ่านทางการหายใจ น้ำลายและเชื้อในละอองน้ำมูกของผู้ป่วย ดังนั้นจึงมีการห้ามใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วยอย่างเด็ดขาด รวมถึงหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยในระยะที่หายใจรดถึงกันได้อีกด้วย

แม่ท้องเป็นหัดเยอรมัน มีผลกระทบที่เกิดกับทารกในครรภ์

ในหญิงตั้งครรภ์ที่กำลังป่วยด้วยโรคหัดเยอรมัน อาจไม่ได้รับอันตรายจากโรคนี้ก็จริง แต่ก็ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์อย่างน่าตกใจเลยทีเดียว โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะทารกยังไม่มีภูมิต้านทานมากนัก จึงอาจได้รับผลกระทบได้ง่าย ซึ่งจากการที่คุณแม่ป่วยด้วยโรคหัดเยอรมัน ก็จะทำให้ทารกเกิดความผิดปกติโดยอาจถึงขั้นพิการได้เลยทีเดียว เช่น หูหนวก หัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นตาต้อกระจกหรือต้อหิน ม้ามโต มีความผิดปกติทางสมองและเกิดจ้ำเลือดตามผิวหนัง เป็นต้น ดังนั้นในช่วงตั้งครรภ์ คุณแม่จึงควรระมัดระวังให้ดีเพื่อไม่ให้ติดเชื้อหัดเยอรมัน เพราะเมื่อเป็นแล้วการจะป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ทำได้ยากพอสมควรเลยทีเดียว

การรักษาโรคหัดเยอรมัน

สำหรับการรักษาเมื่อคุณแม่ท้องป่วยด้วยโรคหัดเยอรมัน หากเป็นในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้ทำแท้ง เพราะมั่นใจได้มากกว่า 50% ว่าเด็กมีโอกาสพิการอย่างแน่นอน แต่หากคุณแม่ยืนยันที่จะเอาเด็กไว้ แพทย์ก็จะหาแนวทางการรักษาที่มีความเหมาะสมและก่อให้เกิดผลเสียต่อทารกในครรภ์น้อยที่สุดต่อไป พร้อมกับดูแลคุณแม่ตามอาการป่วยที่เกิดขึ้น และนอกจากนี้เมื่อเด็กคลอดออกมาแพทย์ก็จะรีบทำการรักษาการติดเชื้อหัดเยอรมันในทารกแรกเกิดทันที

วิธีป้องกันเมื่อเป็นหัดเยอรมัน

การป้องกันสามารถทำได้หลากหลายวิธี คือ

Sponsored

1.ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันอย่างน้อยเป็นเวลา 3 เดือนก่อนปล่อยให้ตั้งครรภ์ เพื่อให้วัคซีนออกฤทธิ์ในการเสริมภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันให้กับคุณแม่อย่างเต็มที่นั่นเอง

2.หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับบุคคลที่ป่วยด้วยโรคหัดเยอรมันอย่างเด็ดขาด เพราะโรคนี้สามารถติดต่อสู่กันได้ง่ายมาก เพียงแค่หายใจรดกันหรือสัมผัสกับน้ำลายของผู้ป่วยเท่านั้น

3.ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมันทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ เพราะหากพบโรคหัดเยอรมันตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้วางแผนการรักษาได้ทัน

โรคหัดเยอรมัน ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงและไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่ แต่ก็เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์เป็นอย่างมากเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นควรป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากโรคหัดเยอรมันไว้ก่อนจะดีกว่า จะได้ไม่มีเรื่องน่าเศร้าเกิดขึ้นนั่นเอง

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.7 อาหารแก้แพ้ท้อง สยบอาการคลื่นไส้ อาเจียนอย่างได้ผล

2.แพ้ท้องระดับไหน เช็คสิ อาการแพ้ท้องของคุณ รุนแรงหรือไม่