อย่างที่ทราบกันดีว่านมแม่นั้นเป็นอาหารที่ดีที่สุดต่อลูกน้อย แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะนมแม่นอกจากจะมีสารอาหารที่ครบถ้วน นมแม่ยังเป็นเหมือนวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยอีกด้วย เด็กที่ดื่มนมแม่จะแข็งแรงไม่ค่อยป่วย คุณแม่จึงต้องพยายามที่จะทำให้ลูกน้อยได้ดื่มนมแม่ให้ได้มากที่สุด ดังนั้นเรามาเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีเก็บนมแม่อย่างถูกวิธีกันดีกว่า เพื่อที่จะได้มีนมให้ลูกน้อยได้ดื่มอย่างที่ต้องการ ซึ่ง นมแม่แช่แข็ง สามารถเก็บได้กี่วัน และการนำนมแม่แช่แข็งออกมาให้ลูกน้อยดื่มต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีข้อแนะนำมาฝาก
นมแม่แช่แข็ง เก็บไว้ได้กี่วัน
เพราะนมแม่เป็นเหมือนอาหารที่วิเศษสำหรับทารกแรกเกิด เนื่องจากนมแม่มีสารอาหารที่ครบถ้วนมากกว่า 200 ชนิด ที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อยในการต่อสู้กับโรคต่างๆ ทำให้ลูกน้อยเติบโตแข็งแรงอย่างสมบูรณ์ เด็กที่ดื่มนมแม่อย่างต่อเนื่องจะมีพัฒนาการทางสมองที่ดี ฉลาด อารมณ์ดี มีร่างกายที่แข็งแรงไม่ป่วยง่าย คุณแม่หลายๆ ท่านจึงเลือกที่จะให้ลูกน้อยได้ดื่มนมแม่ให้ได้มากที่สุดถึงแม้ว่าจะไม่ค่อยมีเวลาก็ตาม จึงต้องปั๊ม นมแม่แช่แข็ง ไว้เพื่อที่จะสามารถเอาออกมาให้ลูกดื่มได้ตลอดเวลา โดยการเก็บนมแม่ในช่องแช่แข็งนั้น สามารถเก็บได้ยาวหลายเดือน ซึ่งนมแม่แช่แข็ง ในตู้เย็นประตูเดียวในอุณหภูมิคงที่จะอยู่ได้ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นตู้เย็นประตูเดียวในอุณหภูมิ 4 องศาจะอยู่ได้ยาวถึง 3 เดือน และช่องแช่แข็งเย็นจัดอุณหภูมิลบ 19 องศาจะอยู่ได้นานถึง 6 เดือน
ข้อดีของการแช่แข็ง
การเก็บนมแม่ นั้นสำคัญมากเพราะหากจัดเก็บไม่ดีก็อาจจะทำให้เสียเร็วได้ อย่างไรก็ตามการเก็บนมแม่ในตู้เย็นแช่แข็งนั้นจะทำนมแม่สามารถอยู่ได้ยาวนาน เพราะหากเก็บนมแม่ดีๆ คือหลังจากที่ปั๊มจากเต้าแล้วรีบใส่ถุงจัดเก็บในช่องแช่แข็งตู้เย็นที่มีอุณหภูมิคงที่ หรือตู้แช่โดยเฉพาะจะสามารถเก็บได้นานถึง 6 เดือนเลยที่เดียว โดยที่สารอาหารในนมยังคงที่ สามารถเอาออกมาให้ลูกน้อยดื่มกินได้อย่างปลอดภัยไม่กังวลในเรื่องของนมบูดเสีย
ข้อเสียของการแช่แข็ง
เก็บ นมแม่แช่แข็ง จะช่วยรักษานมแม่ให้ได้อยู่ยาวนาน แต่ข้อเสียก็คือไม่สามารถนำออกมาให้ลูกน้อยได้ดื่มทันที เพราะต้องรอเวลาให้นมแม่ละลายซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1วันหากปล่อยให้ละลายโดยธรรมชาติ หรือหากไม่สามารถรอได้ก็สามารถนำมาละลายกับน้ำอุ่นสร้างความยุ่งยากในการจัดเตรียม หากเกิดกรณีฉุกเฉิน นมแม่แช่แข็ง ไม่สามารถนำมาให้ลูกน้อยดื่มกินทันทีจะต้องใช้เวลา ซึ่งถือว่าเป็นข้อเสียของนมแม่ที่จัดเก็บในช่องแช่แข็ง
วิธีนำนมแช่แข็งออกมาให้ลูกดื่ม
สำหรับวิธีที่จะนำ นมแม่แช่แข็ง ออกมาจากช่องแช่แข็งเพื่อให้ลูกดื่มนั้น คุณแม่ควรเลือกนมที่เก่าที่สุดโดยดูจากวันที่ที่ได้จดบันทึกไว้ข้างถุงนมก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันสารอาหารนมแม่หมดอายุก่อน โดยการนำนมแม่ที่แช่แข็งมาละลายให้ลูกได้ดื่มนั้นก็สามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ก่อนที่จะให้ลูกดื่มในวันถัดไปคุณแม่จะต้องนำ นมแม่แช่แข็ง มาไว้ในตู้เย็นธรรมดาล่วงหน้าไว้ 1 วันก่อนเพื่อรอเวลาให้น้ำแข็งละลาย หรือหาก 1 วันยังไม่ละลายตามที่ต้องการก็ต้องเพิ่มเวลาตามความเหมาะสม นมแม่ที่แช่ตู้เย็นช่องธรรมดาสามารถอยู่ได้ 2 – 3 วัน หลังจากนั้นก็ไม่แนะนำให้นำมาให้ลูกดื่มเพราะอาจจะเสี่ยงนมบูดเสียหรือมีแบคทีเรียก่อตัวจำนวนมาก
- หากคุณแม่ไม่สะดวกที่จะนำนมมาแช่ตู้เย็นช่องธรรมดาค้างไว้ สามารถทำได้อีกหนึ่งวิธีนั่นก็คือ นำถุงนมไปวางไว้ในน้ำอุ่นที่เตรียมไว้ และทำการแช่ไว้สักระยะหนึ่งเพื่อเร่งให้นมแม่ละลายเร็วขึ้น แต่ไม่แนะนำให้นำนมแม่ไปอุ่นหรือผ่านความร้อนบนเตาหรือในไมโครเว็บ เพราะจะทำให้คุณค่าสารอาหารในนมแม่เสียไป หลังจากที่นมละลายในน้ำอุ่นแล้วให้เทใส่ขวดและวางในอุณหภูมิห้องประมาณ 1 ชั่วโมงเพื่อให้นมไม่เย็นมากแล้วค่อยนำไปให้ลูกดื่ม
คำแนะนำในการเก็บนมแม่อย่างถูกวิธี
ใน การเก็บน้ำนมแม่ นั้นสำคัญมาก คุณแม่ควรเขียนบันทึกวันที่เวลาที่ปั๊มในข้างถุงหรือขวดอย่างชัดเจน และควรใส่ในปริมาณที่พอดีหรือในปริมาณที่ลูกน้อยดื่มในแต่ละครั้ง ซึ่งขั้นตอนการเก็บนมแม่อย่างถูกวิธีนั้นก็จะมีดังนี้
1. ก่อนที่คุณแม่จะทำการเก็บน้ำนมแม่ จะต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อโรคและแบคทีเรียปนเปื้อนไปในน้ำนม
2. จัดเตรียมถุงนมหรือขวดนมที่สะอาดปราศจากเชื้อ มาเพื่อใส่น้ำนม
3. ก่อนปั๊มนมทุกครั้งจะต้องพยายามทำจิตใจให้สงบ ผ่อนคลาย จะช่วยการหลั่งน้ำนมดีขึ้น
4. ก่อน การเก็บน้ำนมแม่ ทุกครั้งคุณแม่จะต้องทำการจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับนม ไม่ว่าจะเป็นวันเวลา ให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการหยิบนมใหม่มาใช้ก่อนนมเก่า นั่นเอง
และนี่คือวิธีเก็บ นมแม่แช่แข็ง ที่เราได้นำมาฝากในวันนี้ การเก็บนมแม่นั้นสำคัญมาก คุณแม่จะต้องใส่ใจทุกขั้นตอนอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นความสะอาด การจัดเก็บ การบันทึกวันจัดเก็บให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการนำนมใหม่ออกมาใช้และนมเก่าจะหมดอายุก่อนนำมาใช้ เพื่อที่ลูกน้อยจะได้ดื่มนมแม่ไปนานๆ และเติบโตแข็งแรงอย่างที่คุณแม่ต้องการ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่