ในกรณีที่คลอดยากเพราะเด็กตัวโตเกินไป หรือคุณแม่ไม่มีแรงเบ่ง การ ช่วยคลอด ด้วยเครื่องดูดสุญญากาศก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แพทย์มักจะนำมาใช้ เพื่อให้คลอดง่ายขึ้นโดยไม่ต้องผ่าคลอดนั่นเอง แต่รู้ไหมว่าการคลอดโดยใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยนั้น ก็มีความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนเหมือนกัน ซึ่งมีความเสี่ยงอย่างไรบ้างมาดูกันเลย

ความเสี่ยงจากการ ช่วยคลอด ด้วยเครื่องดูดสุญญากาศ

เมื่อจำเป็นต้องใช้เครื่องดูดสุญญากาศ ในการช่วยให้คลอดง่ายขึ้น หลังคลอดจะต้องเฝ้าระวัง ในเรื่องของภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อย โดยมีความเสี่ยงที่พบได้บ่อยดังนี้

ความเสี่ยงกับตัวคุณแม่เอง

สำหรับความเสี่ยงจากการใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยในการคลอดลูก ที่อาจเกิดกับคุณแม่ ได้แก่

1.ติดเชื้อที่แผลฝีเย็บ

โดยปกติการคลอดธรรมดาก็เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลฝีเย็บได้ง่ายอยู่แล้ว แต่การคลอดโดยใช้เครื่องสุญญากาศเป็นตัวช่วย จะยิ่งเพิ่มโอกาสการติดเชื้อให้สูงมากขึ้นไปอีก นั่นก็เพราะแผลจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติ และอาจทำให้เนื้อเยื่อฝีเย็บมีความชอกช้ำมากกว่าเดิมนั่นเอง โดยทั้งนี้เมื่อเกิดการติดเชื้อก็จะเป็นอันตรายอย่างมากเลยทีเดียว

2.เสี่ยงต่อการฉีกขาดของปากมดลูก

ในขั้นตอนการใช้เครื่องดูดสุญญากาศช่วยคลอด หากวางถ้วยดูดสุญญากาศอย่างไม่เหมาะสม หรือผิดวิธี ก็จะทำให้เสี่ยงต่อการฉีกขาดของปากมดลูกได้ ซึ่งก็จะส่งผลเสียต่อคุณแม่ได้ไม่น้อย

3.มีโอกาสตกเลือดสูง

คุณแม่จะมีความเสี่ยง ต่อภาวะการตกเลือดหลังคลอดได้สูง ซึ่งมีความอันตรายมาก ดังนั้นหากมีการช่วยคลอดด้วยวิธีนี้ ควรสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ หากมีอาการที่แสดงได้ว่าคุณอาจตกเลือดหลังคลอด ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เพื่อจะได้ดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน เพราะการตกเลือดหลังคลอด อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ความเสี่ยงกับลูกน้อย

การใช้เครื่องดื่มสุญญากาศจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อทารกโดยตรง โดยความเสี่ยงที่มักจะเกิดขึ้นกับทารก ได้แก่

Sponsored

1.ศีรษะทารกปูดบวม

ด้วยแรงจากการวางถ้วยดูดสุญญากาศที่ศีรษะของทารกขณะทำคลอด จึงอาจทำให้ศีรษะทารกปูดบวมขึ้นมาตามแนววางถ้วยได้เลยทีเดียว แต่ส่วนใหญ่รอยปูดบวมจะค่อยๆ ยุบลงและหายเป็นปกติภายในไม่กี่วัน เว้นแต่จะเกิดภาวะเลือดออกที่เยื่อหุ้มหรือเนื้อเยื่อในกะโหลกศีรษะ ซึ่งจะมีระดับความรุนแรงต่างกันไป โดยในเด็กบางคนอาจถึงขั้นช็อกจากการเสียเลือด หรือมีความผิดปกติทางระบบประสาทได้เลยทีเดียว อย่างไรก็ตามภาวะที่เลือดออกในกะโหลดศีรษะนี้ พบได้ไม่บ่อยนัก จึงไม่ต้องกังวลมากเกินไป

2.หนังศีรษะถลอกหรือเป็นแผล

ในระหว่างใช้เครื่องดูดสุญญากาศขณะทำคลอด อาจเกิดความผิดพลาด ถ้วยดูดสุญญากาศเลื่อนไถลหลุดจากศีรษะเด็ก จนทำให้หนังศีรษะถลอกหรือเป็นแผลได้เหมือนกัน แต่ทั้งนี้รอยถลอกหรือแผลจะค่อยๆ หายเป็นปกติภายในไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งระหว่างนี้ก็ต้องคอยระมัดระวังอย่าให้มีอะไรมาสัมผัสกับแผลของลูก รวมถึงระวังสิ่งสกปรกเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อผ่านบาดแผลและรอยถลอกได้นั่นเอง

3.เกิดการตกเลือดที่จอประสาทตา

เป็นภาวะแทรกซ้อนที่มีความเสี่ยงและอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะการตกเลือดที่จอประสาทตา อาจนำไปสู่อาการตาบอดในเด็กได้เลยทีเดียว แต่ภาวะดังกล่าวนี้ก็ไม่ค่อยพบมากนักเช่นกัน จึงไม่ต้องกังวลมากเกินไป

จะเห็นได้ว่า แม้การใช้เครื่องดูดสุญญากาศในการช่วยให้คลอดง่ายขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่มากเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นในระหว่างตั้งครรภ์มาเตรียมพร้อมเพื่อให้คลอดง่ายขึ้นกันดีกว่า จะได้ไม่ต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการช่วยคลอดด้วยวิธีต่างๆ นั่นเอง

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม