โรคอาหารเป็นพิษ ถึงแม้ว่าคุณแม่จะพยายามรักษาความสะอาดในเรื่องอาหารการกินสุขอนามัยให้กับลูกสักเท่าไหร่ แต่ อาหารเป็นพิษก็อาจจะเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน เพราะอาหารที่เป็นพิษมักจะมากับอากาศที่ร้อนอบอ้าวในหน้าร้อน ทำให้อาหารเกิดการก่อตัวของเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย โดยอาหารเป็นพิษเป็นโรคที่ค่อนข้างจะอันตรายมากถ้าเกิดขึ้นกับเด็ก เพราะฉะนั้นการป้องกันดูแลรักษาสุขอนามัยในเรื่องอาหารการกินของเด็กจึงสำคัญมาก คุณแม่ไม่ควรมองข้ามเลยเชียว
โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากอะไร
โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในร่างกาย และรองลงมาก็คือการติดเชื้อไวรัสบางชนิดหรือการติดเชื้อปรสิตก็สามารถทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้เช่นกัน รวมถึงการทานอาหารที่ปนเปื้อนด้วยพิษของเชื้อโรค อาหารทะเล น้ำผลไม้คั้นสดที่ล้างไม่สะอาด นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ และอื่นๆ เมื่อลูกน้อยทานอาหารเป็นพิษเหล่านี้เข้าไประยะฟักตัวก็จะเร็ว เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าผู้ใหญ่จึงทำให้เกิดอาหารเป็นพิษในเด็ก และเมื่อลูกมีอาการอาหารเป็นพิษ ก็จะแสดงออกมาด้วยลักษณะการปวดท้อง ร้องไห้ งอแง คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายเหลว ซึ่งในเด็กบางคนอาจจะมีไข้ขึ้นสูงและถ่ายเป็นมูกเลือดร่วมด้วย
อาการโรคอาหารเป็นพิษ
เมื่อเด็กได้รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีสารปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุทำให้เกิด โรคอาหารเป็นพิษ เข้าไปในร่างกายเด็กก็จะมีอาการดังต่อไปนี้
- มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย มีการถ่ายมากกว่า 8 – 10 ครั้งต่อวัน
- อาการอาหารเป็นพิษ เด็กจะมีอาการอาเจียนที่รุนแรง
- อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น มีไข้ ซึม ไม่มีแรง มือเท้าเย็น.
- ปัสสาวะเป็นสีเข้ม ปัสสาวะน้อยหรือไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง
- หากเกิดขึ้นกับเด็กที่เล็กมาก เด็กจะมีอาการตาโหล และร้องไห้งอแงแบบไม่มีน้ำตา
อาหารเป็นพิษในเด็ก อันตรายแค่ไหน
ถึงแม้ว่า โรคอาหารเป็นพิษ จะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าเกิดขึ้นกับเด็กเล็กนั้นย่อมจะมีความอันตรายมากกว่าเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ที่มีภูมิคุ้มกันมากกว่าเด็ก เพราะเด็กมีระบบย่อยอาหารที่ยังไม่สมบูรณ์และมีภูมิคุ้มกันร่างกายที่อ่อนแอกว่าในการต่อสู้กับเชื้อโรค รวมไปถึงปริมาณกรดเอนไซม์และเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในท้องมีน้อยกว่าผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้ โรคอาหารเป็นพิษ ถ้าเกิดขึ้นกับเด็กจึงมีความอันตรายมากและบางชนิดอาจจะอันตรายถึงขั้นถึงชีวิตได้หากเกิดขึ้นกับเด็ก เรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องคอยใส่ใจในเรื่องรักษาความสะอาดอาหารน้ำดื่มรวมถึงนมให้กับลูกน้อย
วิธีการรักษา
โรคอาหารเป็นพิษ ในเด็กเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้เร็วและหายเร็วเหมือนกันเพราะการที่เด็กถ่ายและอาเจียน ก็จะเป็นอีกทางในการขับสารพิษออกจากร่างกาย หากลูกไม่มีอาการรุนแรงใดๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลรักษาเบื้องต้นด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- ให้ลูกทานยาแก้อาเจียนและชงน้ำเกลือแร่ให้ลูกจิบเพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป ยังไม่ต้องให้ยาฆ่าเชื้อควรสังเกต อาการอาหารเป็นพิษ ดูก่อน หากลูกมีอาการขาดน้ำก็จะมีอาการปากแห้ง กระบอกตาลึก กระหม่อมบุ๋ม ชีพจรเต้นเร็ว และมีอาการปัสสาวะน้อยลง เพราะถ้ามีอาการขาดน้ำดังที่กล่าวมานี้ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์
- ถ้าลูกมีอาการเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ คุณแม่ควรชงน้ำเกลือแร่ต่อไปและพยายามให้ลูกดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อไม่ให้อาเจียน และให้อาหารอ่อนๆ งดอาหารที่หนักๆ หรือมีรสจัด
- ที่ควรระวังให้มากๆ คือไม่ควรให้ลูกทานยาระงับการถ่ายหรือยาแก้ท้องเสีย เพราะการถ่ายเป็นเหมือนการได้ถ่ายของเสียออกจากร่างกายจะช่วยให้ลูกอาการดีขึ้นได้เร็ว
วิธีการป้องกัน
การรักษาป้องกัน โรคอาหารเป็นพิษ ในเด็กเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องให้ความสำคัญดีกว่ามาหาวิธีการรักษาโรคนี้อย่างไร เพราะถ้าลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคได้ก็ไม่ต้องมาห่วงหรือวิตกกังวลวิธีการรักษา โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันโรคนี้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาหารเป็นพิษได้จากการปฏิบัติดังนี้
- พยายามทำอาหารที่ปรุงสุกทั่วถึงสดใหม่ให้ลูกทานทุกวัน และควรเก็บอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสม
- รักษาทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ลูกใช้อย่างขวดนม แก้วน้ำ และจานชามด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้
- ควรล้างทำความสะอาดผักและผลไม้ให้สะอาดทั่วถึงและหลีกเลี่ยงผลไม้ที่ไม่ได้เกิดตามฤดูกาลให้กับลูก เพราะจะมีสารตกค้างหรือสารพิษยาฆ่าแมลงสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก
- สอนให้ลูกล้างมือก่อนทานอาหารทุกครั้ง
โรคอาหารเป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน เป็นโรคที่ถ้าเกิดขึ้นกับเด็กแล้วจะมีอาการที่รุนแรงกว่าผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจในเรื่องของความสะอาดและอาหารการกินของลูกมากเป็นพิเศษ ให้ลูกทานอาหารที่ปรุงสุกโดยทั่วถึงและรักษาความสะอาดล้างมือก่อนทานอาหารทุกครั้ง ก็จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคดังกล่าวกับลูกน้อยได้
= = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่