อาหารคนท้องอ่อน ๆ คุณแม่ยังสาวหลายท่าน อาจจะไม่รู้ตัวเองว่ากำลังตั้งครรภ์จนเผลอรับประทานอาหารที่ตัวเองชอบ โดยไม่นึกถึงคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการแท้งบุตร หรือเมื่อคลอดออกมาแล้วทารกมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งในเรื่องนี้เป็นอันตรายอย่างมาก ดังนั้น เมื่อคุณแม่ที่รู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อยู่ ก็ควรเลิกพฤติกรรมการกินที่ไม่ดี และปรับเปลี่ยนวิธีการกินใหม่เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีของทารกในครรภ์ คุณแม่มือใหม่ ที่กำลังตั้งครรภ์อ่อน ๆ อยู่นี้ อาจจะไม่รู้ว่าตัวเองต้องรับประทานอาหารแบบใด มากน้อยเพียงใด หรือต้องเน้นอะไรมากเป็นพิเศษหรือไม่ วันนี้เรามีวิธีการเลือกอาหารให้เหมาะสมกับร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ มาแนะนำค่ะ
อาหารคนท้องอ่อน ๆ
อาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ
- อาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 1 – 5 สัปดาห์
อายุครรภ์ 1 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ยังไม่รู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์อยู่ แต่คุณแม่ที่รู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ ก็ควรเริ่มรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทานให้ครบทุกมื้อ พอเข้าสัปดาห์ที่ 2 หลายคนเชื่อว่าอายุครรภ์กำหนดเพศลูกได้ ถ้าหากคุณแม่ต้องการให้ลูกเป็นผู้หญิง คุณแม่ต้องรับประทานอาหารจำพวกแป้ง หรือผลิตภัณฑ์นม แต่ถ้าคุณแม่ตั้งการให้ลูกเป็นผู้ชาย ก็ควรเลือกรับประทานผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ทุกชนิด เมื่ออายุครรภ์ได้ 3 สัปดาห์ คุณแม่ควรเริ่มรับประทานอาหารบำรุงเลือด หรืออาหารที่มีส่วนผสมของกรดโฟลิกสูงๆ เพื่อช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์ของตัวอ่อนมีความแข็งแรงมากขึ้น
อายุครรภ์ได้ 4 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่เริ่มมีอาการแพ้ท้อง ร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพราะธาตุเหล็กสามารถช่วยสร้างฮีโมโกลบินได้ ซึ่งสารตัวนี้เป็นสารที่มีส่วนสำคัญในการนำออกซิเจนเข้าสู่ตัวอ่อน ดังนั้นคุณแม่จึงควรเริ่มรับประทานอาหารกลุ่มธัญพืชต่าง ๆ ถั่วตระกูลต่าง ๆ และผักขม เมื่ออายุครรภ์ได้ 5 สัปดาห์ ร่างกายของคุณแม่จะเริ่มต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง เพื่อช่วยให้ลูกสร้างอวัยวะต่าง ๆ ได้ดีขึ้น คุณแม่ควรเริ่มทานอาหารจำพวก เนื้อ นม โยเกิร์ต ชีสและพืชตระกูลถั่ว นอกจากนี้ ธาตุเหล็กและแคลเซียมร่างกายของคุณแม่ก็มีความต้องการเพิ่มขึ้นเช่นกัน
- อายุครรภ์ได้ 6 – 12 สัปดาห์
เมื่ออายุครรภ์ได้ 6 สัปดาห์ อาการแพ้ท้องจะเริ่มรุนแรงขึ้นให้คุณแม่รับประทานขนมปังกรอบที่ผสมธัญพืช หรือผักโขม เพราะในช่วงนี้คุณแม่จะมีอาการแพ้ท้องที่รุนแรงจนบางครั้งไม่สามารถรับประทานอาหารที่เป็นของเหลวได้ ส่งผลทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ดังนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและไม่มีกลิ่นที่กระตุ้นให้เกิดการอาเจียน หรือคลื่นไส้ได้ สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์บางรายที่มีอาการแพ้ท้องแบบรุนแรงมาก ๆ แนะนำให้ฝานขิงอ่อน เป็นแผ่นบาง ๆ แช่ในน้ำร้อน แล้วค่อย ๆ จิบจะช่วยให้อาการดีขึ้น เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 สัปดาห์ ร่างกายของทารกกำลังมีพัฒนาการทางร่างกาย และสมองที่รวดเร็ว คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารที่มีสารอาหารสำคัญ อย่างเช่น โอเมก้าในปริมาณที่เพียงพอ เนื่องจากสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างสมองให้เจริญเติบโตได้อย่างแข็งแรง คุณแม่ควรรับประทานน้ำมันปลา (ปลาแซลมอน, ปลาซาดีน และถั่วต่าง ๆ) และที่สำคัญไม่ควรลืมกรดโฟลิกด้วย เพราะร่างกายยังมีความต้องการสารเหล่านี้อยู่อย่างต่อเนื่อง พออายุครรภ์ได้ 8 – 9 สัปดาห์ คุณแม่ต้องรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย โอเมก้า 3, 6, 9 และวิตามิน B12 เพื่อให้ส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ คุณควรรับประทาน นม ไข่แดง ไข่ปลา เนยแข็ง และผักใบเขียวเป็นประจำ
อายุครรภ์ได้ 10 สัปดาห์ ทารกจะเริ่มได้รับอาหารจากคุณแม่โดยตรง คุณแม่ควรงดรับประทานตับ และน้ำมันตับปลา หรืออาหารที่มีวิตามิน A สูง เพราะอาหารกลุ่มนี้เป็นกรดไขมันอิ่มตัว สามารถสะสมในร่างกายของทารกได้ ดังนั้นในช่วงนี้คุณแม่ควรงดอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน A สูง เมื่ออายุครรภ์ได้ 11 สัปดาห์ อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายของคุณแม่จะเร็วกว่าปกติ ร่างกายมีความต้องการ วิตามิน B2 จำเป็นต่อเอนไซม์ต่าง ๆ ที่ร่างกายของทารกต้องการ แต่คุณแม่ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารที่มีรสชาติจัดด้วยนะคะ อายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ ร่างกายของคุณแม่จะมีความต้องการน้ำมากขึ้น คุณแม่จึงควรดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 – 10 แก้ว เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน
ในช่วงระยะเวลาของการตั้งครรภ์อ่อน ๆ ถือเวลาเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่หลาย ๆ ท่านต้องบำรุงมากเป็นพิเศษ เพราะถ้าไม่ทำเช่นนั้น อาจส่งผลระยะยาวไปถึงช่วงที่ทารกคลอดออกมาแล้วก็ได้ ดังนั้น คุณแม่ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับตามแต่ละช่วงเวลา เพื่อให้ร่างกายปรับสมดุล และร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ซึ่งยิ่งคุณแม่เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ก็ยิ่งส่งผลดีต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของทารกในครรภ์ ลูกที่คุณรักก็จะคลอดออกมามีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ และมีพัฒนาการที่ดีสมวัย
อาหารต้องห้ามยามตั้งครรภ์อ่อน ๆ
เมื่อคุณแม่ทราบแล้วว่าควรรับประทานอาหารอะไร ในระหว่างตั้งครรภ์อ่อน ๆ แล้ว คุณแม่ก็ควรรู้เกี่ยวกับอาหารต้องห้ามสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ ด้วยเช่นกันค่ะ อาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์อ่อนๆ ไม่ควรทานมีดังนี้
- อาหารรสเผ็ด เพราะยิ่งเผ็ดอุณหภูมิในร่างกายของคุณแม่ก็ยิ่งร้อน ส่งผลถึงอารมณ์ ทำให้เกิดอาการหงุดหงิดได้ง่าย แถมยังไม่ดีต่อสุขภาพอีกด้วย อาจทำให้เป็นร้อนในและลำไส้อักเสบได้
- อาหารไขมันสูง ย่อยยาก เช่น เค้ก พิซซ่า โดนัท และน้ำอัดลม เพราะนอกจากไม่มีประโยชน์แล้ว ยังทำให้ร่างกายทำงานหนัก และเป็นไขมันสะสมในร่างกายอีกด้วย
- อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ปลาดิบ ไข่ดิบ ซูซิ ซึ่งอาหารเหล่านี้อาจมีสารพิษ หรือเชื้อโรคตกค้างอยู่ คุณแม่ตั้งครรภ์อ่อน ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจทำให้ติดเชื้อโรค เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
- ของหมักดอง มีโซเดียมสูง อาจทำให้ท้องอืด อาหารไม่ย่อย และถั่วลิสงก็ไม่ควรรับประทาน เพราะมีสารบางชนิดส่งผลเสียต่อร่างกาย อาจเข้าไปกระตุ้นให้ลูกเกิดมาเป็นโรคภูมิแพ้ได้
- น้ำชา กาแฟ ก็ควรหยุด เพราะเมื่อร่างกายได้รับสารในชา และกาแฟในปริมาณที่มาก อาจทำให้ร่างกายต้องการขับน้ำออกมามาก ส่งผลให้คุณแม่มีอาการท้องผูกได้ เพราะร่างกายขาดน้ำในปริมาณที่มากเกินไปในแต่ละวัน นอกจากนี้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ไม่ควรดื่ม เพราะแอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์นั่นเองค่ะ
คุณแม่มือใหม่ที่มีกำลังตั้งครรภ์อ่อน ๆ นั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด และเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพของลูกน้อยกันดีกว่าค่ะ เพื่ออนาคตที่สดใสของลูกที่กำลังลืมตาดูโลกค่ะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..