การรับประทาน อาหารสำหรับคนท้อง ให้เหมาะสมมีความสำคัญต่อคุณแม่และทารกในครรภ์มาก ในแต่ละเดือนร่างกายต้องการสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น มาดูกันว่าแต่ละเดือนคุณแม่ควรรับประทนอาหารอย่างไรให้เพียงพอและเหมาะสมสำหรับแม่ท้องและทารกในครรภ์กันค่ะ
อาหารสำหรับคนท้อง เดือนแรก – เดือนที่ 9
มาดูกันเลยว่าอาหารสำหรับคนท้อง ที่เหมาะสมตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ มีอาการคนท้องอะไรบ้าง
เดือนที่ 1
ปลายๆ เดือน คุณจะรู้สึกปรวนแปร ไม่ต่อสบายเนื้อตัวเหมือนปกติ
หลังตื่นนอนควรดื่มน้ำผลไม้สด 1 แก้ว จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น ก่อนตามด้วยอาหารเช้าเบาๆ อย่างข้าวต้ม 1 ชาม นม 1 แก้ว ผลไม้ 1 ลูก หรือจะเป็นขนมปังปิ้ง แซนวิส ไข่ดาวก็ได้ตามชอบ
เดือนที่ 2
ช่วงนี้คุณแม่จะหนี้ไม่พ้นอาหารแพ้ท้อง ในรายที่อาเจียนบ่อย จะสูญเสียน้ำและสารอาหารบางอย่างไปพร้อมกับอาเจียน
ควรรับประทานอาหารบ่อยๆ ครั้งละน้อยๆ เพื่อไม่ให้ท้องว่าง หลีกเลี่ยงอาหารทอด มัน คาว กลิ่นแรง อาหารที่เหมาะในช่วงนี้ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย มีโปรตีนสูงและให้วิตามิน อาหารว่างระหว่างมื้อควรเป็นน้ำผลไม้ นม แครกเกอร์ หรือผลไม้สดชิ้นเล็กๆ ซึ่งจะให้วิตามินช่วยชดเชยความอ่อนเพลีย
เดือนที่ 3
ท้องผูก อุจจาระแข็งแห้ง ความทุกข์ทรมานจากการถ่ายยากจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนนี้
คุณแม่ควรดื่มน้ำเปล่า น้ำผลไม้ เช่นน้ำลูกพรุน รับประทานผลไม้หลังอาหารทุกมื้อเพื่อเป็นกากใยช่วยในการขับถ่าย
เดือนที่ 4
กระดูกและอวัยวะภายในต่างๆ ของลูกน้อยเริ่มสร้างเป็นรูปเป็นร่างขึ้น
คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่ให้โปรตีนสูง แคลเซียมและธาตุเหล็กมาก ได้แก่ ตับ ไข่แดง ใบขี้เหล็ก ใบตำลึง เป็นต้น แต่อาหารบางชนิดหรือโรคประจำตัวบางอย่าง ทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กไม่เต็มที่ คุณหมอจะจัดยาบำรุงเลือดเสริมให้ค่ะ
เดือนที่ 5
บำรุงสมองและระบบประสาทของลูกด้วยอาหารที่อุดมด้วยสังกะสีให้เพียงพอ
ได้แก่ เนื้อปลา ปลาหมึก หรืออาหารทะเลต่างๆ ไข่ เมล็ดทานตะวัน หัวหอม วิตามินบี12 เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ นม ไข่ ก็ไม่ควรพลาดเช่นกัน
เดือนที่ 6
คุณแม่จะรู้สึกแสบร้อนในอกและเหงื่อออกมากกว่าปกติ
คุณแม่ควรดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินบีสูง เช่น เครื่องในสัตว์ ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว นม ไข่ ถั่วลิสง จะช่วยให้คุณแม่เป็นตะคริวน้อยลงค่ะ
เดือนที่ 7
เริ่มจากเดือนนี้เป็นต้นไป ลูกน้อยจะต้องการแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน
กลุ่มอาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นม ปลาไส้ตัน ถั่วเหลือง ไข่แดง ข้าวโพด บร็อกโคลี่ ผักโขม ฯลฯ ถ้าร่างกายได้รับอาหารเหล่านี้ไม่เพียงพอ คุณแม่จะมีโอกาสเป็นตะคริวขณะตั้งครรภ์ และฟันผุได้ง่าย
เดือนที่ 8
คุณแม่ควรลดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลลง เพราะจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเกินความจำเป็น
ควรหันมาเน้นบริโภคอาหารที่ให้โปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา ไข่ นม ปลาเล็กปลาน้อย ผัก ผลไม้ เพื่อเตรียมสะสมไว้เป็นน้ำนมคุณภาพสำหรับลูก
เดือนที่ 9
ใกล้คลอดแล้ว คุณแม่ควรรับประทานอาหารสำหรับคนท้องให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นแคลเซียมและธาตุเหล็กให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณโลหิตให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกในครรภ์ ถ้าคุณแม่รับประทานธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ไม่มีแรงและอ่อนแอหลังคลอดด้วย
รู้แบบนี้แล้ว ก็มาเลือกทานอาหารให้เหมาะสมกับเลย เพื่อลูกน้อยในครรภ์จะได้เติบโตอย่างสมบูรณ์และแข็งแรงนั่นเอง
= = = = = = = = = = = =