คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในช่วงแรกที่มักพบได้คือ อาการท้องอืด ซึ่งอาการนี้ มีความรู้สึกเหมือนมีลมอยู่ในท้องมากกว่าปกติ กินอาหารเพียงเล็กน้อยก็ทำให้มีอาการ ไม่สบายตัว รู้สึกอึดอัด คุณแม่บางรายอาจมีอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ท้องแข็ง ร่วมด้วย เมื่อคุณแม่มีอาการเหล่านี้ จำเป็นต้องรู้ถึงสาเหตุ อาการ การป้องกัน และการดูแลตัวเอง เพื่อช่วยบรรเทาอาการ บทความนี้จะนำข้อมูลดีๆ มาฝากคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่าน เพื่อนำไปดูแลสุขภาพตัวเองกันค่ะ
ท้องอืด แน่นท้อง ท้องแข็ง เกิดจากอะไร
อาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องแข็งในคุณแม่ตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้จากอะไรได้บ้างนั้น มีสาเหตุที่พอจะแยกได้ดังนี้
1.ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และฮอร์โมนตัวอื่นๆ เพิ่มขึ้น
สำหรับฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน แท้จริงแล้วมีประโยชน์ต่อสุขภาพครรภ์ ทั้งคุณแม่และลูกน้อย ทำให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น แต่มีข้อเสียเพียงข้อเดียวคือ ทำให้ระบบการย่อยของคุณแม่ย่อยได้ไม่สมบูรณ์นัก เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเรียบในร่างกาย โดยเฉพาะในระบบย่อยอาหารคลายตัว จึงส่งผลให้อาหารเคลื่อนตัวได้ช้า เป็นเหตุให้อาหารค้างอยู่ในระบบทางเดินอาหารนานขึ้น จึงมีการเกิดแก๊สที่เป็นสาเหตุของอาการท้องอืด ในคุณแม่ตั้งครรภ์
2.เกิดจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด การกลืนอาหารเร็วเกินไป ก็เปิดโอกาสให้ลมเข้าสู่กระเพาะอาหารมากขึ้น จนทำให้ท้องอืดได้เหมือนกัน
3.การคลื่นไส้ อาเจียน
เมื่อคุณแม่มีการอาเจียน อาจทำให้มีการกลืนลมเข้าไปในกระเพาะอาหารได้ และมีผลทำให้ท้องอืดในที่สุด ซึ่งมักจะเกิดในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก
4.การกินอาหารที่ทำให้เกิดการสร้างแก๊สได้มากกว่าปกติ
เมื่ออาหารที่ย่อยไม่หมด จึงทำให้เกิดแก๊สจำนวนมาก เกิดขึ้นในทางเดินอาหาร ทำให้คุณแม่มีอาการท้องอืด ได้ ส่วนคุณแม่ที่กินอาหารซึ่งผลิตจากนม ก็อาจทำให้รู้สึกแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อได้ เพราะร่างกายคุณแม่ขาดเอนไซม์แลคโตสที่จะมาช่วยย่อยนมวัว ส่วนผักบางชนิดก็ทำให้คุณแม่มีอาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องแข็ง ได้หลังจากกินเข้าไปแล้วเพราะมีแก๊สมาก เช่น บร็อคโคลี่ ผักคะน้า กะหล่ำปลี หัวหอม ตลอดจนธัญพืชบางชนิด
วิธีบรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้อง
วิธีบรรเทาอาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องแข็งในคุณแม่ตั้งครรภ์สามารถแก้ได้ด้วยการเริ่มต้นที่อาหารดังนี้
- หากคุณแม่ได้สังเกตการกินอาหารของตนเองในแต่ละวัน แล้วจดบันทึกถึงอาการที่เปลี่ยนแปลงหลังจากกินไปแล้ว หากอาหารชนิดไหนกินแล้วมีอาการท้องอืด ก็ให้หลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้น และอาหารชนิดไหนที่กินแล้วท้องอืดไม่มากก็สามารถกินได้ แต่ให้ลดปริมาณลง
- ถึงแม้ว่าผักจะกินแล้วทำให้ท้องอืด แต่ไม่ควรที่จะงดกิน เพราะร่างกายคุณแม่ยังต้องการเกลือแร่ และวิตามินที่จำเป็นรวมถึงเส้นใยอาหาร ก็มีส่วนช่วยในการทำให้ลำไส้ มีการทำงานได้เป็นปกติช่วยลดอาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องแข็ง ได้ แต่อาจจะใช้วิธีลดปริมาณลง หรืออาจจะสลับหมุนเวียนกับผักชนิดอื่นก็ได้
- กินอาหารเป็นมื้อเล็กๆ และบ่อยครั้ง เพราะการกินมื้อละน้อยจะทำให้อาหารอยู่ในระบบการย่อยน้อย และโอกาสเกิดแก๊สน้อยลงด้วย
- พยายามเคี้ยวอาหารให้ละเอียด และเคี้ยวช้าๆ เพื่อจะได้ช่วยให้กระเพาะทำงานได้ดีขึ้น และการกลืนช้าจะช่วยลดโอกาสการกลืนอากาศเข้าในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
- พยายามลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหวลดโอกาสการเกิด ท้องอืด แน่นท้อง ท้องแข็งได้
- หลีกเลี่ยงการกินถั่วในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ เพราะถั่วมีแก๊สมาก มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องแข็งได้
- หากคุณแม่มีอาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องแข็ง แบบรุนแรง ต้องรีบไปพบแพทย์ทันทีเพราะอาจจะมีสาเหตุจากอาการอื่นได้
ป้องกันอาการท้องอืด แน่นท้องได้อย่างไร
ปัญหาของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งส่วนใหญ่มีอาการท้องอืด สามารถป้องกันได้โดยวิธีเหล่านี้
1.ปรับเปลี่ยนชนิดของอาหาร
โดยพยายามกินอาหารที่ย่อยง่ายประเภท ปลา เนื้ออกไก่ ควรเพิ่มผักและผลไม้ให้มากขึ้น จะได้ช่วยให้ลำไส้มีกากใย ช่วยให้การขับถ่ายง่ายขึ้น
2.แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อยๆ
การแบ่งมื้ออาหารออกเป็นหลายมื้อใน 1 วันจะทำให้สะดวกในการย่อย คุณแม่ไม่ต้องกินมื้อใหญ่มากเกินไป การกินมื้อเล็ก แต่บ่อยครั้งจะเป็นผลดีลดโอกาสการเกิดท้องอืด ได้มากกว่า
3.เคี้ยวอาหารให้ละเอียด
การเคี้ยวอย่างละเอียด จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารตั้งแต่กระเพาะอาหารลำไส้ทำงานน้อยลง และมีพลังงานเหลือที่จะไปใช้ในส่วนอื่น และลดโอกาสการเกิดท้องอืดได้มาก
4.หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการท้อง
อาหารที่ทำให้เกิดอาการท้องอืด ได้ง่ายเช่นอาหารมันอาหารทอดน้ำมัน อาหารรสเผ็ดจัด ตลอดจนน้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีแก๊สผสมอยู่
5.ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่าง
การกินอาหารขณะท้องว่างมี โอกาสทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ง่าย ดังนั้นควรกินอาหารบ่อยๆ อย่าให้ท้องว่างเลยเชียว
6.หากต้องใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการท้องอืดควรปรึกษาแพทย์
เพราะขณะตั้งครรภ์การกินยามีผลต่อลูกน้อยในครรภ์ จึงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง
อาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องแข็ง เกิดขึ้นได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งจัดว่าเป็นเรื่องปกติ คุณแม่ควรทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป และบางครั้งคุณแม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องอาหาร และการใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับสภาวะของคุณแม่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นอาการท้องอืด จะค่อยๆ ดีขึ้นได้ ซึ่งเมื่อครบระยะเวลาของการตั้งครรภ์ 9 เดือน และคลอดลูกน้อยออกมาแล้วอาการก็จะหายเป็นปกติได้เอง
= = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่