เพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ หากคุณแม่เริ่มรู้สึกว่า ขนาดท้องของตัวเองน้อย จึงสงสัยว่าขนาดของลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์จะเล็กเกินไปหรือไม่ ถ้าหากลูกมีน้ำหนักตัวน้อยจะทำยังไงดี สำหรับคุณแม่ที่รู้สึกว่าน้ำหนักตัวของลูกน้อยกว่าเกณฑ์ วันนี้เรามีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มน้ำหนักตัวทารกในครรภ์ ที่คุณแม่สามารถปฏิบัติตามได้ง่าย ๆ มาฝากดังนี้ค่ะ

เพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์

คุณแม่จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกในครรภ์มีน้ำหนักตัวน้อย

สำหรับขั้นแรก ให้คุณแม่สังเกตเกี่ยวกับน้ำหนักของคุณแม่เองค่ะ ว่ามีการเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการตั้งครรภ์หรือไม่ และในแต่ละช่วงมีน้ำหนักตัวที่ได้มาตรฐานตามตารางหรือไม่ หากคุณแม่สังเกตว่าน้ำหนักตัวของคุณแม่ ไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ปกติ นั่นคือสัญญาณเตือนแรกที่คุณแม่ต้องระวังค่ะ เพราะสำหรับการตั้งครรภ์ทารกคนเดียวนั้น น้ำหนักคุณแม่จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากอายุครรภ์ได้ 3 เดือน เฉลี่ยแล้วน้ำหนักต้องขึ้นสัปดาห์ละ 0.2 – 0.5 กิโลกรัม แต่สำหรับคุณแม่บางคนน้ำหนักอาจจะไม่เพิ่มตามเกณฑ์ได้เนื่องจากช่วง 3 เดือนแรกจะมีอาการแพ้ท้องทำให้น้ำหนักไม่ขึ้น ดังนั้นคุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลไปนะคะ

อีกหนึ่งข้อที่สังเกตได้ว่าทารกในครรภ์จะมีขนาดตัวที่เล็กหรือไม่ นั่นคือการตรวจวัดความสูงของมดลูกโดยแพทย์เมื่อฝากครรภ์ค่ะ เพราะในช่วงอายุครรภ์ 5 เดือน หรือ 20 สัปดาห์ จะมีขนาดเท่ากับระดับสะดือของคุณแม่ แต่อายุครรภ์หลังจากนั้นแพทย์จะทำการวัดโดยใช้สายวัด ที่มีความสูงของมดลูกหน่วยเป็นเซนติเมตร เพื่อหาค่าเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ อย่างเช่น วัดความสูงมดลูกได้ 28 เซนติเมตร ก็จะเท่ากับขนาดของมดลูกที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์นั่นเองค่ะ

การส่งเสริมสุขภาพทารกให้แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์

  1. คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องพักเยอะๆ ค่ะ ทำจิตใจผ่อนคลาย เพื่อเลือดสูบฉีดไปเลี้ยงทารกได้มากขึ้น หากคุณแม่ฝืนทำงานเยอะ ออกแรงมาก เลือดก็ต้องไปเลี้ยงส่วนอื่น ๆ ของร่างกายคุณแม่มากขึ้น ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงลูกน้อยลดลง ดังนั้นคุณแม่ควรนอนกลางคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และกลางวันอย่างน้อย 2 ชั่วโมงค่ะ
  2. คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเน้นเรื่องโภชนาการเป็นหลักค่ะ โดยเน้นแต่อาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ใช่เน้นเพียงอาหารที่เพิ่มพลังงานเพียงอย่างเดียวนะคะ เพราะอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในเด็กได้ เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลาย เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ โดยคุณแม่ต้องเน้นโปรตีนในมื้ออาหารให้มากขึ้น และต้องมีความหลากหลายที่มาจากธรรมชาติด้วย อย่างเช่น ปลา ไก่ หมู ไม่ใช่ทานอาหารอย่างเดียวในปริมาณมาก ๆ นะคะ
  3. คุณแม่ต้องหมั่นคอยดูแลรักษาโรคประจำตัวอยู่เสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนที่ไม่พอ อาจส่งผลถึงอารมณ์ทำให้คุณเกิดความเครียด และความกังวลต่าง ๆ ได้ และที่สำคัญอารมณ์ต่าง ๆ เหล่านี้มีผลต่อขนาดของตัวทารกในครรภ์อีกด้วย
  4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่จำเป็น งดการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ คุณแม่ควรออกกำลังอย่างเหมาะสมด้วยนะคะ เพราะการออกกำลังกาย จะทำให้สุขภาพร่างกายของลูกน้อยแข็งแรงตามไปด้วยนั่นเองค่ะ

นอกจากนี้คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรไปตามแพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อติดตามความผิดปกติที่เกิดกับร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกในครรภ์ตัวเล็ก แพทย์อาจจะนัดติดตามคุณแม่ถี่กว่าปกตินะคะ เพื่อตรวจสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างละเอียด

วิธีการเพิ่มน้ำหนักให้กับลูกน้อยในครรภ์

คุณแม่ที่พบว่าลูกน้อยมีขนาดตัวเล็กกว่าเกณฑ์ปกติ แล้วต้องการเพิ่มน้ำหนักตัวให้กับลูกน้อย คุณแม่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ โดยการรับประทานอาหารทุก ๆ 2 ชั่วโมงค่ะ โดยให้คุณแม่รับประทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป อย่างเช่น ทานกล้วยหอม 1 ลูก ตามด้วย แอปเปิล 1 ลูก แล้วตามด้วยนมสด 1 แก้ว เท่ากับ 1 มื้อ และอีกสองชั่วโมงต่อมา แนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหารจำพวกขนมปังทาตับบด และนมถั่วเหลือง ทานสลับกันไป พอถึงช่วงเย็น คุณแม่ก็ทานอาหารได้ตามปกติค่ะ แต่ขอเน้นให้แต่ละมื้อร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนนะคะ เพียงเท่านี้น้ำหนักตัวของลูกในครรภ์ก็เพิ่มขึ้นได้อย่างดีแล้วล่ะคะ

อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารก็ควรอยู่ในปริมาณที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะทุกสิ่งที่คุณแม่รับประทานเข้าไป จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารกในครรภ์ ดังนั้นการที่คุณแม่เลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์จะช่วยการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เป็นไปอย่างดี คลอดออกมาแล้วลูกน้อยของคุณแม่จะได้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์อย่างที่คุณแม่ตั้งความหวังไงล่ะค่ะ

Sponsored

สิ่งหนึ่งที่คุณแม่ต้องระวังให้มาก

สิ่งสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรระวังและต้องควบคุมให้ได้นั่นก็คือ “ความเครียด” ค่ะ ซึ่งแน่นอนว่าคุณแม่จะมีความเครียดเพิ่มสูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ในระยะแรก ๆ และบางคนอาจจะมีความเครียดตลอดจนกระทั่งคลอดลูกเลยก็มี แต่คุณแม่ทราบหรือไม่ค่ะว่า ความเครียดเหล่านี้ เป็นตัวอันตรายทำให้เกิดความเสี่ยงให้ทารกในครรภ์มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าปกติได้

ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยืดยันโดยงานวิจัยที่ทำการศึกษาคุณแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ (อายุครรภ์ตั้งแต่ 1 – 3 เดือน) ที่มีภาวะความเครียดสูงจากการทำงาน 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไป ให้คุณแม่ตั้งครรภ์ทำหน้าที่ต้องอาศัยความรับผิดชอบสูง ส่งผลให้คุณแม่เกิดความเครียดสูงขึ้น เมื่อถึงวันครบกำหนดพบว่า น้ำหนักของทารกในครรภ์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้สรุปสั้น ๆ ได้ว่า ความเครียดของคุณแม่ตั้งครรภ์มีผลต่อน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์อย่างมาก

ดังนั้นคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่เริ่มรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ แนะนำให้ทำงานน้อยลง ผ่อนคลายบ้างบางเวลา ลดความเครียดจากการทำงานโดยการนั่งอ่านหนังสือ หรือลงไปเดินเล่นในสวนดอกไม้ เพื่อปรับสมองให้ปลอดโปร่ง และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงต่อกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวันอย่างเหมาะสมด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย ที่จะเกิดมาพร้อมกับสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์อย่างที่คุณแม่อย่างให้เป็น

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ชุดชั้นในคนท้อง เลือกอย่างไรดี ให้เหมาะสมที่สุด

2.เลือก ชุดชั้นในแม่ท้อง และหลังคลอด แบบไหนถึงจะดี