คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ย่อมมีเรื่องต่าง ๆ มากมายของเจ้าตัวน้อยให้เรียนรู้ อย่างเรื่องอุจาระของลูกน้อย ที่เรียกว่า “ขี้เทา” หลายคนงงใช่ไหมคะ ว่ามันคืออะไร บอกเลยว่า ทารกขี้เทา สัญญาณอันตรายของเบบี๋ที่คุณแม่ควรสังเกต งั้นเรามาทำความรู้จักไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
ทารกขี้เทา ทำความรู้จักกับขี้เทา
ขี้เทา เป็นอุจจาระของเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งโดยปกติเด็กจะสร้างเองได้ตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่ ตั้งแต่ประมาณช่วงเดือนที่ 2-3 ของการตั้งครรภ์ โดยเริ่มสร้างขี้เทาออกมาในลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นเรื่องปกติหากไม่มีภาวะบางอย่างทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา นั่นคือ ภาวะสูดสำลักขี้เทา ซึ่งเป็นกลุ่มอาการความผิดปกติที่เกิดขึ้นในเด็กแรกเกิด จากการที่มีการสูดสำลักเอาขี้เทาของตนเองเข้าไปตั้งแต่ที่เด็กอยู่ในครรภ์มารดา ตามปกติเด็กก็ควรจะถ่ายขี้เทาหลังคลอด ประมาณ 2-3 วัน โดยสังเกตได้คือ อุจาระจะมีลักษณะเหนียว เป็นสีเขียวเข้มดำคล้ำ และจากนั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เพราะทารกเริ่มกินนมและมีแบคทีเรียในลำไส้ จึงปรับเปลี่ยนสีของสารประกอบของน้ำดีเป็นสีเหลือง
ขี้เทาสำคัญอย่างไร?
มาดูกันเลยค่ะ ทารกขี้เทา สัญญาณอันตรายของเบบี๋ที่คุณแม่ควรสังเกต หากตรวจพบขี้เทาในน้ำคร่ำก่อนการคลอด อาจแสดงถึงการมีภาวะขาดออกซิเจนในทารกในครรภ์ได้ ซึ่งแพทย์จำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ตามมาได้แก่ การหายใจเอาน้ำคร่ำที่มีขี้เทาเข้าไปในปอดขณะอยู่ในครรภ์ และเกิดภาวะปอดอักเสบหลังคลอด ภาวะนี้อาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้ ด้วยเด็กทารกที่อยู่ในครรภ์ถ่ายขี้เทาออกมาก่อนกำหนด ส่วนใหญ่เกิดจากการที่มีการขาดเลือดไปเลี้ยงทารก อาจจะเกิดจากสาเหตุของโรคประจำตัวของคุณแม่ หรือสาเหตุของตัวทารกเองหรือสาเหตุอื่นนั่นเอง
ป้องกันได้หรือไม่
สิ่งสำคัญที่สุดต้องบอกว่า คุณแม่เมื่อพบว่าตั้งครรภ์ต้องฝากครรภ์ให้เรียบร้อย พร้อมกับตรวจเช็คสุขภาพครรภ์ตนเองตามที่หมอนัดเสมอ เพื่อจะป้องปัญหาที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการหาทางแก้ไขในเรื่องผลแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ด้วย ทั้งนี้หากฝากครรภ์ช้าอาจมีผลเสียได้
อุจจาระของลูกน้อยเป็นสิ่งที่คุณแม่ต้องสังเกตอยู่เสมอ เพราะอาจบอกถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อยได้ ซึ่งนอกจากขี้เทาแล้ว หากลูกอึมีเลือดปน ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด
= = = = = = = = = = = =