พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ทารกในครรภ์แต่ละช่วง จะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย สมองและพัฒนาการด้านอื่น ๆ อย่างเช่น การเคลื่อนไหว ทารกจะเริ่มมีการเรียนรู้และปรับเปลี่ยนวิธีการอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ สมองของทารกในครรภ์นั้น จะเริ่มมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ไปพร้อมกันอย่างเหมาะสม ทำให้คุณแม่หลายคนเกิดความอยากรู้เกี่ยวกับพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ว่า แต่ละช่วงนั้น สมองมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง มาดูรายละเอียดพร้อมกันเลยค่ะ

การ พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ ดังนี้

ไตรมาสแรก ( 1 – 3 เดือน)

เพียง 16 วันหลังจากการปฏิสนธิ ทารกในครรภ์เริ่มพัฒนา 2 ส่วนหลัก ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง ต่อมาสมองจะพัฒนาไปเป็นสมองส่วนหน้า และก้านสมอง หลังจากนั้นสมองส่วนหน้าจะแบ่งออกเป็น “เทเลนเซฟาลอน” และ “ไดเอนเซาฟาลอน” ส่วนก้านสมองจะแบ่งเป็นสมองส่วนกลาง และสมองส่วนท้าย

ในขณะเดียวกันเซลล์สมองมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ระบบใยสมองจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแห ระบบประสาทของทารกจะถูกสร้างขึ้นหลายล้านเซลล์ พร้อมกับผลิตสารสื่อประสาท เพื่อสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงาน พัฒนาการสมองของทารก จะเริ่มสั่งการกล้ามเนื้อในพัฒนาส่วนของแขน และขาในอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 8 และสามารถขยับแขน ขยับขาได้ในช่วงท้ายของไตรมาสแรก

ไตรมาสที่ 2 (4 – 6 เดือน)

พัฒนาการสมองในระยะนี้ จะมีการแบ่งตัวของเซลล์สมองลดลง แต่จะมีการขยายขนาด และแผ่ขยายของเซลล์ประสาท ทำให้จำนวนเซลล์ประสาทของทารกจะมีขนาดเท่ากับผู้ใหญ่แล้ว เมื่อทารกอายุได้ 6 เดือนลักษณะของคลื่นสมองคล้ายกับทารกที่ครบกำหนด

กล้ามเนื้อหน้าอกของทารกจะมีการบีบตัว เพื่อฝึกซ้อมการเคลื่อนไหวในการหายใจ ทารกเริ่มต้นการดูดกลืนครั้งแรกประมาณ สัปดาที่ 16 และภายในสัปดาห์ที่ 21 ปฏิกิริยาตอบสนองของทารกทำให้ทารกสามารถดูดกลืนน้ำคร่ำได้ ซึ่งหมายความว่า พัฒนาการการับรสของทารกเริ่มทำงาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ พัฒนาการสมองของทารกเริ่มสั่งการได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

เมื่อทารกอายุครรภ์ได้ สัปดาห์ที่ 18 – 25 คุณแม่จะรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูก เป็นครั้งแรก และในช่วงเวลาเดียวกันเส้นประสาทสมองจะของทารกจะได้รับการห่อหุ้มด้วยเยื่อไมอีลีน (Myelin) เป็นฉนวนไฟฟ้า ช่วยทำให้กระแสประสาทผ่านไปได้เร็วขึ้น และในสัปดาห์ 24 อีกหนึ่งปฏิกิริยาตอบสนองที่สำคัญของทารกได้เริ่มขึ้น นั่นก็คือ “การกะพริบตา”

ในปลายไตรมาสที่ 2 นี้ ก้านสมองของทารกจะมีการพัฒนาเกือบสมบูรณ์ ที่ด้านหลังเหนือไขสันหลัง แต่ต่ำกว่าเปลือกสมอง ระบบประสาทของทารกในครรภ์ พัฒนามากพอที่จะทำให้ทารกสะดุ้ง เมื่อได้ยินเสียงดังจากภายนอกท้องของแม่ และสามารถหันหาเสียงของแม่ได้

พัฒนาการที่น่าตื่นเต้นอีกช่วงจะอยู่ราวสัปดาห์ที่ 28 คลื่นสมองของทารกในครรภ์ จะมีการพัฒนาทางด้านกลไกการนอนหลับ รวมถึงการนอนในระดับ “Rapid eye movement (REM)” และเริ่มฝัน ในระยะนี้ ทำให้เห็นถึงพัฒนาการสมองของทารกในครรภ์ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ระบบประสาทส่วนกลางของทารก พัฒนาไปอย่างมาก เส้นประสาทมีการสร้างเยื่อหุ้มที่มาจากไขมัน ทำให้การส่งผ่านสัญญาในเส้นประสาททำได้รวดเร็วขึ้น มีการแผ่กิ่งก้านสาขา เพื่อเชื่อมต่อกันเป็นร่างแหของระบบประสาท สมองมีขนาดใหญ่ขึ้น และเริ่มมีรายหยักในสมองที่บ่งบอกถึงความเฉลียวฉลาดมากขึ้น

ไตรมาสที่ 3 (7 – 9 เดือน)

Sponsored

ในระยะนี้ มีการพัฒนาของเซลล์ประสาท และการส่งสัญญาในเส้นประสาทอย่างรวดเร็ว สมองของทารกจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า ในช่วง 13 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยขนาดของสมองจะเท่ากับ 10% ของน้ำหนักตัว หรือประมาณ 350 กรัม หลังคลอด จากพื้นผิวเรียบ ๆ ของสมองก็จะเริ่มปรากฎรอยหยักที่บ่งบอกถึงความเฉลียวฉลาดมากขึ้นในขณะเดียวกัน ซีรีบลัมที่มีหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหว ก็เริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็วมากกว่าสมองส่วนอื่น ๆ โดยมีการขยายให้ใหญ่ขึ้นถึง 30 เท่าในช่วง 16 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์

ถึงแม้ว่า ส่วนต่าง ๆ ของสมองจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงตั้งครรภ์ แต่จริง ๆ แล้ว สมองทารกจะเริ่มกระบวนการทำงานก็เมื่อครบกำหนดคลอดของทารก และค่อย ๆ พัฒนาต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีแรกของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ คุณพ่อ คุณแม่ควรส่งเสริมพัฒนาการทางสมองให้กับทารก ผ่านการเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเอาใจใส่ อย่างใกล้ชิด และรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยเน้นสารอาหารที่บำรุงสมองของทารกในครรภ์เป็นพิเศษ

การรับประทานอาหารเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสมองของทารก

ระบบประสาทของทารกเริ่มพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญที่ทารกควรได้รับนั่นคือ โฟเลต (ประมาณ 400 ไมโครกรัม) และกรดโฟลิกหรือวิตามินบี ซึ่งสารอาหารนี้มีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของเซลล์สมองของทารกในครรภ์ และช่วยลดโอกาสเกิดข้อบกพร่องร้ายแรงของหลอดประสาทได้ถึง 70% จากการวิจัยในวารสารทางการแพทย์ในอเมริกา นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่า สารอาหารสามารถลดโอกาสเกิดความผิดปกติ หรือออทิสติกของเด็กแรกเกิดถึง 40% อีกด้วย

ดังนั้นขณะที่คุณแม่ตั้งครรภ์ ควรได้รับ โฟเลต และวิตามินบี อย่างน้อย 400 ไมโครกรัม อีกสารอาหารที่สำคัญสำหรับสมองและตา นั่นคือ กรดโอเมก้า 3 และ DHA โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสที่ 3 สมองทารกจะมีการพัฒนาเร็วที่สุด DHA จะพบมากใน เนื้อปลาทะเลน้ำลึก (ปลาแซลมอน, ปลาเทราท์) และสาหร่ายทะเล

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.10 อาหารเพิ่มน้ําหนักลูก เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อย

2.อาหารที่แม่กิน มีผลต่อการสร้างน้ำนม จะเลือกกินอย่างไรดี