ภาวะครรภ์เสี่ยง อันตรายต่อทารกในครรภ์อย่างมาก สำหรับคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านที่อาจจะไม่ทราบว่าภาวะครรภ์เสี่ยงนี้ เกิดจากอะไรแล้วควรทำอย่างไรไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ภาวะครรภ์เสี่ยงนั้น มีหลายปัจจัย และหลายสาเหตุ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแข็งแรงสมบูรณ์ทางร่างกายของคุณแม่แต่ละคนด้วย ภาวะครรภ์เสี่ยงที่คุณแม่ไม่ควรมองข้ามมากที่สุด ก็คือ “ภาวะครรภ์เป็นพิษ” ค่ะ
ภาวะครรภ์เสี่ยง ที่คุณแม่มือใหม่ไม่ควรมองข้าม
อันตรายของภาวะครรภ์เป็นพิษ
ภาวะครรภ์เป็นพิษนั้น ถือว่าเป็นภาวะที่อันตรายมากที่สุด สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยทั่วไปอาการที่เกิดขึ้นร่วมกันจะมีอยู่ 3 อาการ คือ อาการบวม ความดันโลหิตสูงและโปรตีนในปัสสาวะ ซึ่งภาวะครรภ์เป็นพิษอาจเกิดแทรกซ้อนขึ้นได้ในช่วงระยะการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 – 3 ค่ะ
สาเหตุที่เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ
ครรภ์เป็นพิษในปัจจุบันเรียกว่า “Pregnancy-induced Hypertension” เพราะภาวะครรภ์เป็นพิษเป็นโรคที่เชื่อว่าเกิดจากการตอบสนองอย่างผิดปกติของกลไกภูมิคุ้มกันของตัวคุณแม่ต่อการตั้งครรภ์
- คุณแม่มีอายุน้อยกว่า 18 ปี และมีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากร่างกายไม่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในระหว่างตั้งครรภ์
- คุณแม่ที่มีการตั้งครรภ์ผิดปกติ เช่น การตั้งครรภ์ลูกแฝด และครรภ์ไข่ปลาอุก ความผิดปกติเหล่านี้ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้
- คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวก่อนการตั้งครรภ์ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไต และคุณแม่ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน เป็นโรคอ้วนก่อนตั้งครรภ์
- คุณแม่มีอายุครรภ์นานเกินกว่า 10 เดือน ทารกมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ หรือมีพัฒนาการช้า
อาการทั่วไปของภาวะครรภ์เป็นพิษ
โดยทั่วไปอาการภาวะครรภ์เป็นพิษ จะเริ่มจากอาการปวดศีรษะ ตามัว คลื่นไส้อาเจียน ปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่ มีอาการบวนตามือ ตามเท้าและใบหน้า ในกรณีนี้คุณแม่มีอาการภาวะครรภ์เป็นพิษที่รุนแรงมาก (Severe Preeclampsia) จะมีภาวะแทรกซ้อนแพทย์อาจตรวจพบความดันที่สูงขึ้นถึง 160 / 100 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งอาจตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะมาก คุณแม่จะสังเกตเห็นอาการบวมที่รุนแรง และมีอาการปวดศีรษะ ตามัว และมีจุกแน่นหน้าอกร่วมด้วย
ภาวะครรภ์เป็นพิษที่เกิดจากอาการชัก ถือเป็นอาการของภาวะครรภ์เป็นพิษขั้นรุงแรงที่สุด ซึ่งอาการเหล่านี้สืบเนื่องมากจากการรักษาครรภ์เป็นพิษอย่างไม่ถูกวิธีทำให้อาการเรื้อรัง คุณแม่ที่มีภาวะครรภ์ที่มีภาวะความดันขึ้นสูงมาก และมีอาการชักจนหมดสติร่วมด้วย ความรุนแรงของภาวะครรภ์เป็นพิเศษนี้ อาจส่งผลให้มีเลือดออในสมองมากที่สุด เป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่ และทารกในครรภ์ ดังนั้น เมื่อคุณแม่สังเกตอาการเริ่มต้นคล้าย ๆ กับที่เราได้กล่าวมาแนะนำให้รีบไปพบแพทย์รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป จะดีทั้งกับตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์ด้วย ถึงแม้สาเหตุของภาวะครรภ์เป็นพิษ จะไม่สาเหตุได้อย่างชัดเจน
การสังเกตอาการภาวะครรภ์เป็นพิษ
- คุณแม่สามารถสังเกตได้จาก อาการปวดศีรษะ บริเวณท้ายทอย หน้าผาก (รับประทานยาแล้วไม่ดีขึ้น)
- สายตาเริ่มพร่ามัวบ่อยครั้ง หรือ มองเห็นแสงเป็นจุดๆ ในบางรายอาจจะมีอาการเห็นแสงวูบวาบ หรือตาบอดไปชั่วขณะ
- มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ถึงแม้อาการคลื่นไส้อาเจียนจะพบบ่อยกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องโดยทั่วไป แต่ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีอาการปวด จุกเสียดแน่นบริเวณหน้าอก หรือบริเวณใต้ลิ้นปี่
- มีอาการบวมตามมือ ข้อมือ ตามเท้าและใบหน้า
- มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินไปอย่างรวดเร็ว (เกินสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม)
- รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยลง ขนาดของมดลูกเล็กกว่าปกติ และท้องไม่ค่อยโตขึ้นตามอายุครรภ์ (อาจเกิดจากการที่เลือดไปเลี้ยงมดลูกลดลง)
- ความดันโลหิตสูงขึ้นผิดปกติ มีปัสสาวะน้อยลง หรือพบโปรตีนในปัสสาวะ
- ถ้ามีอาการรุนแรงคุณแม่จะมีอาการชักกระตุกทั้งตัว เกิดเลือกออกในสมองมาก ซึ่งหากคุณแม่พบอาการเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไปค่ะ
นอกจากนี้ภาวะครรภ์เป็นพิษยังเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของครรภ์เป็นพิษได้ เช่น คุณแม่อาจมีเลือดออกในอวัยะต่าง ๆ จากภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีภาวะน้ำท่วมปอด และตาบอดชั่วคราว จนถึงขั้นเสียชีวิตไปในที่สุด ภาวะแทรกซ้อนนี้ยังส่งผลต่อทารกในครรภ์ด้วยเช่นกัน มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดมากกว่าปกติ ทารกที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน หัวใจของทารกจะเต้นช้าเนื่องจากการขาดออกซิเจน และทารกเสียชีวิตไปในที่สุดได้ ซึ่งอันตรายมาก ๆ เลยล่ะค่ะ
วิธีการรักษาภาวะครรภ์เป็นพิษอย่างถูกต้อง
- แพทย์จะควบคุมความดันโลหิตไม่ให้ขึ้นสูง โดยการใช้ยาลดความดันโลหิต วิธีการนี้สามารถป้องกันการชักโดยใช้ยาแมกนีเซียมซัลเฟต และทำให้การคลอดเกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อหยุดกระบวนการของโรคนั่นเองค่ะ
- สำหรับคุณแม่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 30 – 32 สัปดาห์ แพทย์อาจต้องพยายามยืดระยะเวลาการตั้งครรภ์ออกไปเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของการคลอดก่อนกำหนด แต่ถ้าคุณแม่มีอายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์แพทย์จะพิจารณาให้ผ่าคลอดภายใน 4 – 6 ชั่วโมงเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกในครรภ์
- คุณแม่ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ และได้รับการดูแลจากแพทย์เป็นอย่างดี จนถึงการคลอด ซึ่งภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด อาการต่าง ๆ ที่เกิดจากภาวะครรภ์เป็นพิษ จะค่อย ๆ ทุเลาลงค่ะ และหายไปเองในที่สุด
นอกจากนี้ คุณแม่มือใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการตั้งครรภ์มาก่อน เชื่อว่าเพียงแต่พบปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้เป็นกังวลได้แล้ว ดังนั้น คุณแม่จะต้องเตรียมทั้งสภาพร่างกายและสภาพจิตใจให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างการตั้งครรภ์นี้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกาย ระบบฮอร์โมน และการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..