สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็กควรหมั่นสังเกตปัญหาสุขภาพของลูกให้มากๆ เพราะปัจจุบันเด็กมักจะป่วยด้วยโรคต่างๆ มากกว่าเดิม โดยหากพบว่าลูกมี อาการลมชัก ควรรีบพาลูกเข้ารับการรักษาทันที จะมีโอกาสรักษาหายได้ ซึ่งลมชักมีผลต่อพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านสติปัญญา การเรียนรู้ และสังคม หากปล่อยทิ้งไว้พัฒนาการของลูกจะยิ่งถดถอยลงไป ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด

อาการลมชักในเด็ก เป็นอย่างไร

เมื่อเด็กมี อาการลมชัก ก็จะมีการชักเกร็งทั้งตัวและชักกระตุกนานมากกว่า 3 – 4 นาที โรคลมชัก เกิดจากความผิดปกติของการนำกระแสประสาทในสมอง ทำให้ร่างกายเกิดการชักเกร็ง ซึ่งเด็กที่มีอาการชักมักจะจำไม่ได้ว่าตัวเองชัก แต่ก็จะมีอาการของลมชักอีกประเภทหนึ่งซึ่งไม่ได้มีอาการชักเกร็งแต่จะเป็นอาการเหม่อลอย เป็นการเหม่อนานประมาณ 30 วินาทีและมีอาการเหม่อลอยเป็นพักๆ บางครั้งพูดคุยอยู่ก็จะมีอาการหยุดคุยและนิ่งไปเลย ลมชักประเภทนี้จะหายไปเองเมื่ออายุมากขึ้นแต่ อาการลมชัก ที่ชักกระตุกไปทั้งตัวจะมีความอันตรายมากกว่า และต้องได้รับการรักษา เพราะเป็นปัญหาทางด้านระบบประสาทภาวะระบบประสาทติดเชื้อ ซึ่งมักจะพบในเด็กที่มีอายุ 1-10 ปีแรกหากเกิดอาการชักครั้งแรกโอกาสที่จะเกิดซ้ำอีกก็มีสูง

ควรทำอย่างไร เมื่อลูกมีอาการลมชัก

หากลูกมี อาการลมชัก  สิ่งแรกที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำคือให้ตั้งสติให้ดีก่อนห้ามตกใจหรือลนลานจนทำอะไรไม่ถูก สิ่งที่ควรทำคือตั้งสติและพร้อมที่จะช่วยเหลือลูกอยู่เสมอ พยายามให้ลูกอยู่ในพื้นที่โล่งที่อาการถ่ายเท คลายเสื้อผ้าที่รัดออกเพื่อให้ลูกได้รับอาการเย็นขึ้นหากลูกอยู่ในท่าที่นั่งหรือยืนพยายามจับลูกให้นอนราบไปกับพื้นพร้อมทั้งพยายามตะแคงศีรษะลูกให้หันไปข้างๆ เพื่อกันไม่ให้เด็กสำลัก หากพบว่าตัวลูกเกร็งงอ และตึง ไม่ต้องพยายามไปบีบนวด หรือพยายามฝืน และที่สำคัญห้ามนำสิ่งของอะไรใส่ปากลูกเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเกิดอาการสำลักหายใจไม่สะดวก หากพบว่าลูกมีอาการชักบ่อยๆ ติดๆ กันอย่านิ่งนอนใจควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

รักษาได้ด้วยวิธีไหน

หากพบว่าลูกมี อาการลมชัก ควรพาลูกเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ เพราะหากปล่อยไว้อาจจะมีผลต่อพัฒนาการเจริญเติบโตและสติปัญญาการเรียนรู้ของลูกได้และหากรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะหายจาก โรคลมชัก ได้โดยการรักษานั้นแพทย์ได้แบ่งออกเป็น 2 วิธีด้วยกันดังนี้

1.การรักษาขณะที่กำลังชัก

- เมื่อมี อาการลมชัก แพทย์จะแนะนำให้จับผู้ป่วยอยู่ในท่าที่เหมาะสมเพื่อทำการรักษา

- ดูแลในเรื่องของระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต

- ให้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยหยุดชักเกร็ง

- ให้น้ำเกลือเพื่อความสะดวกในการให้ยา

- เจาะเลือดไปตรวจดูทางห้องแล็ปเพื่อหาสาเหตุของ อาการลมชัก

Sponsored

2.การรักษาไม่ให้มีอาการชักซ้ำ

แพทย์จะทำการเลือกยาเพื่อให้เหมาะกับอาการชักของเด็ก รวมถึงชี้แจงให้คุณพ่อคุณแม่ของเด็กรู้ประโยชน์ของยาและอาการไม่พึงประสงค์ของยากันชัก เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ได้ช่วยตัดสินใจร่วมกันในการรักษา และเมื่อแพทย์สามารถควบคุมอาการชักของเด็กได้แล้ว แพทย์จะทำการให้ยารักษากับเด็กโดยให้รับประทานต่อเนื่องไม่ให้ขาดประมาณ 2-4 ปี และเมื่อได้รับยากันชักแล้วจะต้องเดินทางมารับการติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์นัด และถ้าไม่มีอาการชักในระหว่างที่ให้ยารักษาแพทย์จะทำการพิจารณาหยุดยากันชัก

ป้องกันได้อย่างไร

ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนและวิธีป้องกัน โรคลมชัก พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานและหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลานให้ดี หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการกระตุ้นให้ชักมากขึ้น และให้เด็กพักผ่อนให้เพียงพอไม่ควรให้นอนดึกมากเกินไป การขาดสารอาหาร ความเครียด อุบัติเหตุร้ายแรง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดลมชัก ทั้งนี้หากเด็กมีประวัติครอบครัวมีคนที่ป่วยเป็นลมชักมาก่อนเด็กก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นลมชักมากเพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองจึงต้องหมั่นสังเกตอาการของบุตรหลานหากพบว่ามีอาการจะต้องรีบพามาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตามอาการของโรคให้ถูกวิธี และหากได้รับการรักษาและรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์แนะนำโอกาสที่จะหายขาดจากลมชักก็มีมาก เพราะฉะนั้นหากรู้ว่าลูกมีอาการและรีบนำมารักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้นั่นเอง

อาการลมชัก หรือลมบ้าหมู สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกเพศทุกวัยโดยเฉพาะกับเด็กที่อยู่ในช่วงอายุ 1 – 10 ขวบและผู้สูงอายุ เนื่องจากลมชักคืออาการความผิดปกติของระบบประสาทโดยระบบประสาทเกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าในสมองซึ่งเริ่มจากจุดใดจุดหนึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการชักเกร็ง หากพบว่าลูกมีอาการชักเกร็งคุณพ่อคุณแม่ควรตั้งสติให้ดีและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นและรีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.6 คุณประโยชน์ของนมแพะ มาดูสิว่ามีอะไรบ้าง

2.นมแพะดีอย่างไร ทำไมจึงเป็นตัวช่วยเสริม ที่ดีต่อลูกรัก