สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาน้ำหนักตัวเกินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อยู่แล้ว ก็มักจะมีความกังวลในเรื่องของน้ำหนักตัวเป็นอย่างมาก หลายคนจึงพยายาม ลดน้ำหนักตอนท้อง แม้ว่าจะกำลังตั้งครรภ์อยู่ก็ตาม โดยทั้งนี้วงการแพทย์ก็ได้ออกมาเตือนว่า คุณแม่ท้องไม่ควรลดน้ำหนักเด็ดขาด นั่นก็เพราะจะทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ได้นั่นเอง นอกจากนี้ก็ยังส่งผลเสียอีกมากมายอีกด้วย เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณแม่จะอยากผอมแค่ไหน ก็ไม่ควรลดน้ำหนักขณะกำลังตั้งครรภ์เด็ดขาด
ผลเสียจากการ ลดน้ำหนักตอนท้อง
การลดน้ำหนักตอนท้อง ล้วนส่งผลเสียต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้อย่างมากมาย จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแพทย์ส่วนใหญ่ จึงแนะนำว่าไม่ควรลดน้ำหนักในขณะตั้งครรภ์นั่นเอง โดยผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นก็มีดังนี้
1.ชะลอพัฒนาการและการเติบโตของทารก
ขณะตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะมีความต้องการสารอาหารมากเป็นพิเศษ นั่นก็เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์นั่นเอง ดังนั้นหากคุณแม่พยายามลดน้ำหนักด้วยการอดอาหารในระหว่างนี้ ก็จะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารบางอย่างที่จำเป็นไป จึงทำให้ลูกมีพัฒนาการและการเติบโตที่ช้ากว่าปกติ ซึ่งในบางรายก็อาจเกิดมาตัวเล็ก หรือมีปัญหาได้อีกมากมายเลยทีเดียว
2.รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าได้ง่าย
เมื่อร่างกายขาดสารอาหารหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าง่ายอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกที่มีอาการแพ้ท้องด้วยแล้ว ก็จะยิ่งส่งผลให้อาการแพ้ท้องรุนแรงมากกว่าเดิม ซึ่งคุณแม่บางคนก็อาจต้องนอนให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาลกันเลยทีเดียว ดังนั้นมาทานอาหารให้ครบทุกมื้อ และเน้นอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเพิ่มพลังให้กับร่างกายของคุณแม่ไปจนตลอดการตั้งครรภ์กันดีกว่า
3.เสี่ยงลูกสมองพิการและคลอดก่อนกำหนด
เมื่อร่างกายของคุณแม่ขาดสารอาหารจำเป็น ลูกก็จะได้รับสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองลดน้อยลงไปด้วย ผลที่ตามมาจึงทำให้ลูกมีปัญหาทางสมอง สติปัญญาและอาจสมองพิการได้เลยทีเดียว นอกจากนี้ก็ยังเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดอีกด้วย ซึ่งก็อันตรายไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นอย่าลดน้ำหนักในขณะตั้งครรภ์เป็นอันขาด
การควบคุมน้ำหนักอย่างถูกวิธี สำหรับแม่ตั้งครรภ์
ถึงแม้ว่าแพทย์จะไม่สนับสนุนให้คุณแม่ลดน้ำหนักในขณะกำลังตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่ควรได้ เพราะในกรณีที่คุณแม่มีน้ำหนักในระหว่างท้องมากเกินไป ก็อาจตามมาด้วยผลเสียมากมายเช่นกัน โดยเฉพาะการเป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์นั่นเอง ดังนั้นจึงมีคำแนะนำดีๆ ให้คุณแม่สามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างเหมาะสม โดยไม่กระทบต่อลูกน้อยในครรภ์มาแนะนำกันดังนี้
1.ทานผักผลไม้เป็นหลัก
ผักผลไม้ อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และมีแคลอรีต่ำ ดังนั้นไม่ว่าจะทานมากเท่าไหร่ก็ไม่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นจนเกินเกณฑ์ที่กำหนดอย่างแน่นอน แถมยังมีประโยชน์ต่อลูกน้อยในครรภ์ทั้งด้านการพัฒนาสมองและการเจริญเติบโตอีกด้วย แต่ทั้งนี้ก็มีผักผลไม้บางชนิด ที่เป็นอันตรายต่อคุณแม่ท้องได้เหมือนกัน ซึ่งได้แก่ ผักผลไม้ที่มีกำมะถัน อาทิ ทุเรียนสับปะรด ผลไม้ที่มียาง อาทิ ลองกอง มังคุดและผลไม้รสหวานจัด อย่างเช่นลำไย องุ่นและมะม่วงสุก เป็นต้น เอาเป็นว่าเพื่อความปลอดภัย ควรศึกษาให้ดีก่อนทานจะดีที่สุด
2.เลี่ยงอาหารไขมันและน้ำตาลสูง
อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง ก็เป็นอีกสิ่งต้องห้ามสำหรับแม่ท้องเช่นกัน นั่นก็เพราะจะทำให้คุณแม่มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นขณะท้องมากกว่าที่กำหนดได้ และเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กับภาวะลูกอ้วนตั้งแต่แรกเกิดอีกด้วย ดังนั้นควรเลี่ยงอาหารเหล่านี้อย่างเด็ดขาด
3.ออกกำลังกายเบาๆ
การออกกำลังกายเบาๆ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ควบคุมน้ำหนักได้ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการบริหารร่างกายของคุณแม่ท้องให้มีความแข็งแรงมากขึ้น และคลอดลูกได้ง่ายกว่าเดิมอีกด้วย แต่ก็ต้องเลือกเฉพาะการออกกำลังกายแบบเบาๆ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์เท่านั้น
การลดน้ำหนักตอนท้อง เป็นสิ่งที่คุณแม่ไม่ควรทำเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นการอดอาหารหรือการกินยาลดน้ำหนักก็ตาม แต่ก็สามารถควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นมากเกินไปได้ ด้วยวิธีที่เรานำมาแนะนำข้างต้นนั่นเอง อย่างไรก็ตามอย่าลืมทานอาหารให้ครบ 5 หมู่และครบทั้ง 3 มื้อต่อวันด้วย
Photos from : rukyou.com
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม