พฤติกรรมเสี่ยง 3 สิ่ง … คุณแม่ครรภ์อ่อนมีโอกาสเสี่ยงแท้งลูกได้อยู่ตลอดเวลา ตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์โดยปกติ 40 สัปดาห์นั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับสุขภาพมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์มีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์พร้อมต่อการเจริญเติบโต และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตมาพร้อมกับร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อ่อน ๆ อยู่ในตอนนี้ อาจจะลืมหรือบางทีอาจจะไม่ได้ตั้งใจ ทำบางอย่างที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพทารกในครรภ์ และในที่สุดทำให้เกิดการสูญเสียที่ไม่น่าให้อภัย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสีย คุณแม่มือใหม่จะต้องระมัดระวังพฤติกรรมบางอย่างของตัวเองให้ดีที่สุดค่ะ ทั้งนี้สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่ทราบว่าพฤติกรรมใดบ้างที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ คุณแม่ลองอ่านรายละเอียดดังนี้นะคะ เพื่อปรับเปลี่ยนและหลีกเลี่ยง

พฤติกรรมเสี่ยงทำร้ายสมองลูกน้อย ที่คุณแม่ควรระวังมีดังนี้

พฤติกรรมที่ 1 : ร่างกายขาดสารอาหารสำคัญต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์

การขาดสารอาหารที่สำคัญต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์นั้น โอกาสที่ลูกจะออกมาแล้วมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กอื่น หรือมีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง สาเหตุหนึ่งเกิดจากตัวของคุณแม่เองที่ปล่อยปะละเลย ไม่ใส่ใจดูแลเรื่องของอาหารการกินระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหารสำคัญ คุณแม่ลองทบทวนดูสิค่ะว่า ร่างกายของคุณแม่ตอนนี้ได้รับสารอาหารเหล่านี้ครบถ้วนหรือไม่

สารอาหารที่สำคัญต่อสมองและพัฒนาการของทารก ได้แก่

  1. โปรตีน สารอาหารหลักที่ร่างกายของคุณแม่และทารกในครรภ์ต้องการอย่างมาก เพื่อนำมาเสริมสร้างเซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายให้สมบูรณ์ และช่วยเสริมสร้างส่วนที่ซึกหรอได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่คุณแม่ไม่ทานเนื้อสัตว์ หรือนม อาจจะทำให้ร่างกายในระหว่างตั้งครรภ์ขาดสารอาหารโปรตีนได้ ลูกที่เกิดมาอาจมีสภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีพัฒนาการช้า สมองเติบโตไม่ทัน ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้เหมือนกับเด็กทั่วไป
  2. โฟเลท มีส่วนช่วยในการแบ่งเซลล์ให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ และมีส่วนสำคัญในการจัดโครงสร้างของสมองทารกในครรภ์ ถ้าคุณแม่ขาดโฟเลทในระหว่างตั้งครรภ์ในช่วง 2 – 3 สัปดาห์ อาจจะให้สมองพิการได้ค่ะ เช่น เป็นโรคสมองเปิด หรือเกิดช่องโหว่ที่ปลายสมอง นั่นเพราะหลอดเลือดสมองสร้างยังไม่สมบูรณ์นั่นเองค่ะ เมื่อลูกคลอดออกมาจะไม่สามารถเดินได้ ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
  3. ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบหลักของการสร้างฮอร์โมนธัยรอยด์ในร่างกาย มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางสมองและการเจริญเติบโตของทารกตั้งแต่ในครรภ์ค่ะ ถ้าทารกในครรภ์ขาดไอโอดีนอย่างรุนแรง อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง ไอคิวธรรมชาติลดลง และคุณแม่เองก็จะมีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หน้ามืดเป็นลมง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอันตรายต่อชีวิตของคุณแม่และลูกในครรภ์

พฤติกรรมที่ 2 : สารพิษและมลภาวะต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายโดยไม่ทันระวัง

สารพิษและมลภาวะโดยรอบ ล้วนแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกในครรภ์โดยตรงค่ะ สารพิษต่าง ๆ ที่คุณแม่ควรระวังให้มากระหว่างตั้งครรภ์มีดังนี้ค่ะ

  1. สารตะกั่ว พบมากในสีทาบ้าน หรืออาจปนเปื้อนมากับอาหาร อากาศและน้ำ รวมถึงควันจากท่อไอเสียรถยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์สูดอากาศที่มีสารตะกั่วเข้าไป พิษจากสารตะกั่วจะเข้าไปทำลายตับ ไต หัวใจ สมองและระบบประสาท รวมถึงทางเดินอาหาร ซึ่งอาจทำให้ทารกในครรภ์คลอดออกมามีภาวะสมองพิการ ตาบอด หูหนวก และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในครรภ์ได้
  2. สารปรอท ที่พบในอากาศ น้ำและดิน ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาขยะ หรือในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ตามบ้านเรือน ปนเปื้อนในเครื่องสำอาง และอาหาร ซึ่งสารปรอทนี้เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการแต่กำเนิดได้ รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในครรภ์ได้อีกเช่นเดียวกันค่ะ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยง และระมัดระวังอย่างมาก เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับสารปรอทนี้เข้าไปได้ค่ะ
  3. สารหนูส่วนมากจะพบว่ามีการป้นเปื้อนในผัก ผลไม้ น้ำดื่ม อาหารทะเล และเครื่องสำอางค่ะ เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับสารหนูร่างกายถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดทันที ส่งผลให้ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโหลิตจาง ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง และมีผลต่อัตราการเต้นของหัวใจ การทำงานของระบบประสาท และเซลล์ผิวหนังเสื่อมสภาพ ซึ่งหากร่างกายของทารกในครรภ์ได้รับสารหนูในปริมาณมากอาจถึงขั้นเสียชีวิตในครรภ์ได้เช่นกันค่ะ

พฤติกรรมที่ 3 :  คุณแม่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ และสูบบุหรี่เป็นประจำ

คุณแม่บางท่านที่ก่อนตั้งครรภ์ ชอบการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์อยู่เป็นประจำ จนเป็นความเคยชิน เมื่อตั้งครรภ์ก็ยังติดพฤติกรรมดังกล่าวอยู่ แต่หากรู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์มากเพียงใด คุณแม่ที่ยังไม่ยอมเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ อาจจะทำให้ลูกเสี่ยงต่อภาวะอาการต่าง ๆ เหล่านี้ได้ค่ะ

Sponsored
  1. เมื่อคุณแม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ในระหว่างตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะเกิดความผิดปกติทางร่างกาย สมอง พฤติกรรมและการเรียนรู้ เพราะแอลกอฮอร์จะเข้าไปทำลายเซลล์เนื้อเยื่อต่าง ๆ ของทารก รวมถึงการเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทำให้การร่างกายเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ทำให้เกิดพิการตั้งแต่ในครรภ์ได้ค่ะ ถ้าคุณแม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ในปริมาณมากต่อเนื่อง อาจะทำให้เกิดการแท้งลูกได้ในที่สุดค่ะ ผลกระทบจาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าหลังคลอดลูกจะมีน้ำหนักตัวน้อย สมองมีขนาดเล็กกว่าปกติ รูปหน้าผิดปกติ และการเติบโตของแขนขาที่ผิดปกติได้นั่นเองค่ะ
  2. คุณแม่ที่ชอบสูบบุหรี่เป็นประจำ ยิ่งตั้งครรภ์ยิ่งสูบมาก สารที่ออกมาจากบุหรี่จะเข้าไปทำลายโครโมโซมของทารก ทำให้พัฒนาการของทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติ ลูกจะมีน้ำหนัก ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ กระบวนการทำงานของระบบประสาท ระบบการหายใจ และหลอดเลือดผิดปกติบกพร่อง แต่ถ้าได้รับสารพิษมากขึ้นจะทำให้ทารกเสียชีวิตหลังคลอดได้ค่ะ

จากข้อมูลข้างต้นคุณแม่คงจะเห็นแล้วว่า การที่คุณแม่ยังคงทำพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสมอาจจะส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ในระยะยาวได้ ดังนั้น เมื่อคุณแม่ทราบแล้วว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์อยู่ แนะนำให้หลีกเลี่ยงหรือหยุดพฤติกรรมทั้ง 3 นี้ทันที เพื่อลูกน้อยจะได้เกิดมาครบสมบูรณ์ มีพัฒนาการที่ดีสมวัย และใช้ชีวิตที่อยู่อย่างมีความสุขตลอดไปค่ะ ความใส่ใจของคุณแม่จะช่วยให้ลูกน้อยเติบโตมาอย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุดนั่นเองค่ะ

ขอบคุณรูปภาพจาก : theIndusparent

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ