คุณแม่เมื่อตั้งครรภ์ได้ 2 เดือนอาจจะอยากรู้ว่าลูกน้อยในครรภ์มีการพัฒนาไปในด้านใดบ้างแล้ว วันนี้เราจึงจะพาไปดูกันค่ะว่าพัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร พร้อมด้วยคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับอาหารที่ควรกิน รวมถึงสิ่งที่ควรทำ เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดีที่สุดดังนี้

พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน เป็นอย่างไร

เมื่อคุณแม่อายุครรภ์ได้ 2 เดือน คุณแม่หลายคนอาจจะกำลังแพ้ท้องเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกันลูกน้อยในครรภ์ก็มีการพัฒนาตัวเองมากขึ้นเช่นกัน เรามาดูกันว่าลูกน้อยจะมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง

1. ร่างกาย โดยเฉพาะส่วนหัวของลูกน้อยยังโตไม่มากนัก ช่วงลำตัวของลูกจะค่อยๆ ยืดยาวออกมา โดยมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ในส่วนของน้ำหนักตัวจะอยู่ที่ 3 กรัมโดยเฉลี่ย

2. แขนและขาพัฒนาได้ดี ในขณะเดียวกันการพัฒนาการในส่วนของแขน และขาก็เริ่มแยกให้เห็นนิ้วมือ ข้อมือ ข้อศอก และนิ้วเท้าเล็กจิ๋วได้แล้ว

3. พัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน โครงสร้างใบหน้าจะชัดขึ้น มองเห็นใบหน้า และดวงตาดำรางๆ เห็นจมูก ริมฝีปาก และใบหูของลูกด้วย

4. สำหรับในส่วนของผิวหนัง ได้พัฒนามากขึ้น เริ่มแบ่งเป็นสองชั้น และมีการสร้างต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน และจะเห็นว่าเริ่มมีขนงอกออกมาจากรูขุมขนแล้ว ซึ่งเป็นขนอ่อนๆ

5. สำหรับอวัยวะภายใน ช่วงพัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือนก็ได้พัฒนาจนครบถ้วนสมบูรณ์แล้วทุกส่วน รอแต่เวลาที่ให้มีการเจริญเติบโตตามอายุครรภ์จึงจะมีในส่วนของรายละเอียดอื่นๆ ตามมา

อาหารบำรุงครรภ์ที่แนะนำ

อาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงวัย 2 เดือน ควรกินอาหารประเภทใด จึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณแม่และพัฒนาการทารกในครรภ์มาดูกันค่ะ

1.ธาตุเหล็ก

ธาตุเหล็กมีความจำเป็นต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อใช้ในการสร้างเม็ดเลือดแดงของตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ โดยอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงส่วนใหญ่ จะอยู่ในประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อปลา ไข่แดง ผักใบเขียว ถั่วชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถหาได้จากผักพื้นบ้าน ใบกระเพรา ตำลึง ชะอม ผักขึ้นฉ่าย ยอดฟักทอง ยอดแค และผักไชยาหรือคะน้าเม็กซิโก ซึ่งสามารถนำมาปรุงสุกกินแทนผักคะน้าได้เป็นอย่างดี ปลอดภัยจากสารเคมีอีกด้วย

2.แคลเซียม

แคลเซียมจัดเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการสร้างร่างกายและพัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือนเป็นอย่างมาก หากคุณแม่กินแคลเซียมไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ เพราะร่างกายของลูกน้อยต้องการแคลเซียมมาสร้างกระดูกและฟัน โดยอาหารที่มีแคลเซียมหาได้จากแหล่งอาหารเหล่านี้ คือปลาข้าวสาร กะปิ กุ้งแห้ง ถั่วเมล็ดแห้ง คะน้า บล็อกโคลี่ กุยช่าย รวมถึงผักพื้นบ้านอย่าง ตำลึง และชะพลู

3.โฟเลต

โฟเลตมีความจำเป็นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในระยะนี้ โดยจะช่วยพัฒนาการทารกในครรภ์ให้ระบบสมองและประสาทของลูกน้อยทำงานได้อย่างเต็มที่ ป้องกันความเสี่ยงของการพิการแต่กำเนิด ช่วยให้เซลล์สื่อประสาทเชื่อมโยงต่อกันได้ดี ซึ่งคุณแม่ที่กินอาหารที่มีโฟเลตเพียงพอขณะตั้งครรภ์ จะทำให้เกิดมามีความสมบูรณ์และเฉลียวฉลาด โดยอาหารที่มีโฟเลตประกอบด้วย ผักโขม บร็อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ ส้ม  เมล็ดทานตะวัน รวมถึงธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ต งา และถั่วลิสง

คำแนะนำสำหรับคนท้อง 2 เดือน

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ครบ 2 เดือน อาจมีอาการแพ้ท้องได้ในช่วงนี้ ควรปฏิบัติตัวอย่างไรให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างมีความสุข ได้แก่

1.บรรเทาอาการแพ้ท้องด้วยอาหารคุณภาพ

อาจจะมีคุณแม่หลายคนที่แพ้ท้องกลืนน้ำลายไม่ได้ โดยให้คุณแม่หาขนมปังกรอบแบบเค็มมาไว้ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาให้กินขนมปังกรอบทันที แล้วนอนพักสักครู่ จะช่วยให้อาการแพ้ท้องในตอนเช้าทุเลาลง

Sponsored

2.หลีกเลี่ยงของทอดและผลไม้ดอง

ช่วงนี้คุณแม่จะรู้สึกคลื่นไส้อาเจียนมีอาการพะอืดพะอมได้ง่าย จึงควรกินอาหารที่ย่อยง่ายและกินมื้อเล็กๆ หลายมื้อ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง จนทำให้กระตุ้นให้เกิดการคลื่นไส้อาเจียนได้นั่นเอง นอกจากนี้ควรงดกินอาหารที่ผ่านการทอดหรือผัดด้วยน้ำมันมากๆ ตลอดจนครีม เนย หรือไขมันอื่นๆ เพราะกินแล้วนอกจากทำให้อ้วนง่ายแล้ว ยังทำให้ร่างกายเกิดความร้อนจำนวนมากสะสมในร่างกาย จนมีอาการแพ้ท้องเพิ่มมากขึ้น และควรงดผลไม้ที่ผ่านการหมักดองเพราะคุณค่าสารอาหารมีน้อย และเสี่ยงต่อการได้รับสารปนเปื้อนในอาหารอีกด้วย

3.ควรดื่มน้ำให้พอเพียง

การดื่มน้ำควรแบ่งดื่มเป็นระยะๆ และควรหลีกเลี่ยงการดื่มพร้อมกับอาหาร เพราะจะทำให้น้ำย่อยเจือจาง ส่งผลให้ท้องอืดมากขึ้น ซึ่งในแต่ละวันนั้นคุณแม่ควรดื่มน้ำให้ได้ 2 ลิตรขึ้นไป เพื่อพัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือนที่ดีนั่นเอง

4.บรรเทาอาการแพ้ท้องด้วยยา และวิตามินเสริม

คุณแม่ที่ได้รับยาที่มีธาตุเหล็กผสม เมื่อกินแล้ว ทำให้เกิดอาการปั่นป่วนในท้อง เนื่องจากเกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร หรือคุณแม่ที่เคยมีอาการแพ้ท้องรุนแรงมาก่อน ควรแจ้งให้คุณหมอทราบ เพื่อคุณหมอจะได้สั่งวิตามิน B ให้กลับไปกินแทน จะช่วยให้อาการแพ้ท้องดีขึ้น และนอกจากยาที่แพทย์สั่งแล้วคุณแม่ห้ามกินยาอื่นเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นอาหารเสริมที่เคยกินอยู่ก่อนตั้งครรภ์ ก็ควรงดเว้นไว้ก่อน เพราะหากกินต่อไปอาหารเสริมอาจส่งผลเสียต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ สำหรับคุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องมาก สามารถกินขิงอ่อนเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้ด้วย

คุณแม่ตั้งที่ครรภ์ในช่วงวัย 2 เดือน ไม่ต้องกังวลใจไปนะคะ เพราะว่าทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ หมายถึงพัฒนาการทารกในครรภ์ 2 เดือน ที่เป็นไปในทิศทางที่ดี ซึ่งการเจริญเติบโตของลูกน้อยจะเป็นไปได้ดีแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่คุณแม่กินในแต่ละวัน อากาศบริสุทธิ์ และจิตใจที่เบิกบานแจ่มใสของคุณแม่ ก็ล้วนแต่ส่งผลดีต่อลูกน้อยในครรภ์ทั้งสิ้น

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่ https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about growing up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.คุณแม่รู้ไหม! การตรวจการตั้งครรภ์ ทำได้ถึง 4 วิธี

2.8 ข้อสำคัญที่ต้องทำ เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ครั้งแรก