อาการซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติว่าบรรพบุรุษในครอบครัวเคยมีอาการซึมเศร้ามาก่อน เนื่องจากโรคนี้สามารถถ่ายทอดผ่านทางยีนส์มาตั้งแต่เกิดแล้ว หากมาเกิดกับคนที่มีปัจจัยด้านอื่นๆ สนับสนุน ก็จะทำให้มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้ง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มคุณแม่หลังการคลอดบุตร เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว รวมถึงการต้องปรับตัวเพื่อในการรับมือกับภาระที่ต้องเลี้ยงดูลูก จึงทำให้คุณแม่หลังคลอดมักเกิดอาการซึมเศร้าได้บ่อยกว่ากลุ่มอื่นๆ ส่วนอาการซึมเศร้าหลังคลอดจะเป็นอันตรายหรือไม่ และมีวิธีสังเกตอย่างไรว่าคนใกล้ชิดมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการซึมเศร้า เรามาดู 9 สัญญานนี้กันค่ะ
ซึมเศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร
อาการซึมเศร้าของแต่ละคนอาจจะมีปัจจัยที่ทำให้เกิดแตกต่างกันไปแต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีผลมาจากการทำงานของสมองที่ผิดปกติอาจเนื่องมาจากประเภทของสารสื่อประสาทในสมองที่มีความไม่สมดุลอาจจะมีมากไปหรือน้อยไปก็ได้โดยการเชื่อมต่อและการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทรวมถึงการทำงานของวงจรประสาทที่ส่งผลตอกทำให้เกิดการมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นรวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงทางด้านพันธุกรรมอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ตึงเครียดการที่ต้องมีการปรับตัวหรือจากความเจ็บป่วยเรื้อรังก็ล้วนแต่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ทั้งสิ้น
อันตราย จากภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
เมื่อคุณแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดอาจส่งผลกระทบต่อตัวเอง ลูกน้อยและคนรอบข้างดังนี้
1.ตัวคุณแม่ที่มีอาการซึมเศร้าจะมีความวิตกกังวลจนนอนน้อย กินน้อย จนร่างกายทรุดโทรมลงไปอย่างรวดเร็ว
2.มีอาการซึม ทำงานเชื่องช้า นั่งเหม่อลอย ไม่ค่อยมีสติ หากกำลังเลี้ยงลูกก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อลูกได้
3.มีความเครียดความวิตกกังวลกลัวจะเลี้ยงลูกได้ไม่ดี ในบางรายที่ไม่มีคนดูแลใกล้ชิดอาจจะทำร้ายตัวเอง และทำร้ายลูกได้
4.เมื่อมีอาการมากและไม่ได้รับการแก้ไขก็จะนำพาไปสู่การคิดฆ่าตัวตายได้
9 สัญญาณบ่งบอกคุณอาจซึมเศร้า
1.อาการของโรคซึมเศร้า ซึม หงุดหงิด ก้าวร้าว
2.ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
3.สมาธิเสียคือไม่ค่อยมีสมาธิเวลาทำสิ่งต่างๆ
4.รู้สึกอ่อนเพลีย
5.เชื่องช้าทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด
6.รับประทานอาหารมากขึ้น หรือรับประทานอาหารน้อยลง
7.นอนมากขึ้น หรือนอนน้อยลง
8.ตำหนิตัวเองอันนี้เป็นเรื่องสำคัญที่พบได้มากเลยคนเป็นโรคซึมเศร้า
9.เคยคิดฆ่าตัวตาย หากมีการพยายามฆ่าตัวตายก็ตั้งข้อสันนิษฐานได้ว่าคนนั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า
วิธีรับมือเมื่อมีอาการซึมเศร้าหลังคลอด
เมื่อคุณแม่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดย่อมส่งผลไปถึงพัฒนาการของลูก การเลี้ยงดูลูกที่ไม่ถูกต้องก็ย่อมเป็นผลเสียต่อลูกทั้งสิ้น ฉะนั้นการดูแลคุณแม่โดยคนในครอบครัวหรือสามีจะต้องมีการวางแผนเพื่อรับมือและป้องกันไม่ให้คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดดังนี้
1.วางแผนการมีบุตร
เพื่อได้รับคำปรึกษาจากคุณหมอถึงการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเป็นคุณแม่ จะช่วยลดความวิตกกังวลกับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งขณะตั้งครรภ์และหลังคลอด เมื่อคุณแม่มีปัญหาสามารถได้รับการแก้ไขหลังจากปรึกษาแพทย์เป็นประจำอยู่แล้วก็สามารถป้องกันอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้อย่างดีเลยทีเดียว
2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การที่คุณแม่ได้กินอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้ร่างกายได้ฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอจากการคลอดลูกให้กลับมาฟื้นตัวโดยเร็วอีกครั้งสมองยังได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า เนื่องจากความผันแปรของสารเคมีในสมองลงได้
3.ออกกำลังกายเบาๆ
ถึงแม้ว่าคุณแม่หลังคลอดยังไม่สามารถที่จะออกกำลังกายอย่างเต็มที่ได้ แต่การที่ได้ขยับตัวบ้าง หรือเดินเล่นช้าๆ ก็สามารถทำให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้
4.ต้องปล่อยวาง
คุณแม่หลังคลอดต้องรู้จักปล่อยวางกับสิ่งที่มองเห็นในบ้านซึ่งอาจจะมีความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย การวางสิ่งของที่วางไม่เป็นที่เป็นทาง ควรปล่อยวางและยอมให้คนอื่นทำงานแทนให้ ถึงแม้ว่าไม่ถูกใจแต่ต้องอดทน รอให้ผ่านพ้นช่วงหลังคลอดไปก่อนแล้วค่อยลุกขึ้นมาทำงานบ้านของตัวเอง
5.อย่าเก็บความอึดอัดใจไว้เพียงคนเดียว
หลังคลอดแล้วคุณแม่อาจจะมีความอึดอัดในสภาพร่างกายที่ค่อนข้างอวบขึ้น มือเท้าบวม หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงของสรีระร่างกาย รวมถึงความอึดอัดทางด้านจิตใจที่มักจะมีความกังวลในการเลี้ยงลู โดยเฉพาะคุณแม่ที่ต้องอยู่รวมกันกับครอบครัวใหญ่ อาจจะทำให้มีความเครียดความวิตกกังวล หรือความอึดอัดใจในการเลี้ยงลูกที่ไม่สามารถจะพูดออกมาได้ การที่คุณแม่ได้มีโอกาสเล่าความรู้สึกอึดอัดใจให้กับคนที่ไว้ใจได้รับฟัง ก็จะช่วยผ่อนคลายปัญหาความเครียดในใจ และเป็นทางออกที่ช่วยลดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ดี
อาการซึมเศร้าหลังคลอด ที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกน้อยในระยะ1-2 เดือนแรก มักจะหายไปได้เอง หากคุณแม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลอย่างเข้าอกเข้าใจ จากสามีหรือคนใกล้ชิด การนอนหลับอย่างเต็มอิ่มจะช่วยให้ร่างกายสดชื่น สมองสดใสขึ้น รวมถึงอาหารที่กินในแต่ละมื้อควรมีโปรตีนเพียงพอและเหมาะสมที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่ เมื่อสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตดีขึ้น จิตใจที่เคยห่อเหี่ยวจะสดชื่นขึ้น รวมถึงคำพูดที่แสดงออกถึงความรักและห่วงใยต่อคุณแม่ จะช่วยเยี่ยวยาให้สุขภาพคุณแม่กลับมาสดใสแข็งแรง มีกำลังในการเลี้ยงลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และห่างไกลจากโรคซึมเศร้าได้
= = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..