มาหาวิธีรับมือ ภาวะซึมเศร้าในแม่ท้อง หรือ โรคซึมเศร้าในคนท้อง ( Depression in Pregnancy ) ตามสถิติของ The American Congress of Obstetricians and Gynecologists ได้ระบุไว้ว่าคุณแม่ตั้งครรภ์  1 ใน 4  หรือ 14 – 23 % มีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าได้ขณะตั้งครรภ์

โดยมีสาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิด ภาวะซึมเศร้าในแม่ท้อง  ได้แก่

ความสัมพันธ์ระหว่างแม่ท้องกับคนในครอบครัว ความเครียดจากการทำงาน ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น โรคประจำตัว มีเลือดออก กลัวแท้ง เคยมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อนการตั้งครรภ์ ถูกทำร้ายมาหรือตั้งครรภ์แบบไม่พึงประสงค์

อาการแม่ท้องที่บ่งบอกว่าเสี่ยงซึมเศร้า

มีความกังวลมากกว่าปกติ ไม่มีสมาธิในกิจวัตรประจำวันที่ทำเป็นประจำ พฤติกรรมการนอนผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ หรือนอนมากจนเกินไป มีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ กินมากหรือน้อยจนเกินไป หรือถึงขั้นเบื่ออาหาร

เมื่อไหร่ที่แม่ท้องควรไปพบแพทย์

หากอาการซึมเศร้าไม่มาก คุณแม่จะเป็น ๆ หาย ๆ เองได้ ไม่ต้องทำการรักษา ทั้งนี้คนในครอบครัวต้องคอยดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด  แต่หากมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกินกว่า 2 สัปดาห์ ควรเข้ามาปรึกษาแพทย์  โดยสมาชิกภายในบ้านควรดูแลไม่ให้แม่ท้องรู้สึกเครียดหรือวิตกกังวล ดูแลเอาใจใส่แม่ท้องอย่างใกล้ชิด เข้าอกเข้าใจ พูดคุยกัน หากิจกรรมทำร่วมกัน

เคล็ดลับแม่ท้องห่างไกลภาวะซึมเศร้า

การออกกำลังกายเพราะการออกกำลังกาย จะทำให้แม่ท้องหลั่งสารเอ็นโดฟิน ที่กระตุ้นให้เรามี ความสุข และลดการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เราเกิดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ เลือกรับประทานอาหารที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้น เช่น ของหวาน หรืออาหารที่มีโปรตีนต่ำจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นแต่ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ และอาหารที่มี โอเมก้า 3 เพราะจะช่วยลดการซึมเศร้าแล้ว ยังส่งผลต่อการ กระตุ้นในการพัฒนาสมองของลูกได้ เช่นกัน

แม่ท้องมีภาวะซึมเศร้าส่งผลต่อลูกในครรภ์หรือไม่

เครียดหรือซึมเศร้า ทำให้ความสนใจต่อครรภ์ลดลง อาจทำให้แม่ท้องเบื่ออาหาร หรือทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรืออาจทำให้คลอดก่อนกำหนดได้ เพราะทำให้ลูกตัวเล็กกว่าปกติ พักผ่อนน้อยหรือมากจนเกินไปขาดการออกกำลังกาย ทำให้แม่ท้องร่างกายอ่อนแอ ลูกน้อยอาจกระทบหรือมีผลกับการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์

ทางที่ดีแม่ท้องควรคิดบวกมองโลกในแง่ดี ทำอะไรที่ทำให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลาย คุณพ่อเองก็ควรดูแลไม่ให้ภรรยาที่รู้สึกเครียดหรือวิตกกังวลให้ดี รวมถึงคนในครอบครัวก็ควรดูแลเอาใจใส่แม่ท้องอย่างใกล้ชิด เข้าอกเข้าใจ ตามใจบ้างเพื่อให้แม่ท้องอารมณ์ดี ตลอดจนหากิจกรรมทำร่วมกันก็จะทำให้ภาวะนี้ลดลงไปได้

Sponsored

ขอบคุณข้อมูล : รพ.เปาโล โชคชัย 4

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ทำความรู้จักกับสารอาหารในนมแม่ เช็คสิ มีอะไรบ้าง

2.7 วิธีดูแล ทำความสะอาดเต้านม พร้อมกระตุ้นน้ำนมแม่