เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ขึ้นไป (5 เดือน) ในช่วงนี้ท้องจะเริ่มใหญ่ และเริ่มมีน้ำหนักมากขึ้น ทำให้เป็น อันตรายขณะตั้งครรภ์ ได้ง่าย เพราะฉะนั้นคุณแม่จึงไม่ควรที่จะเดินหรือยืนนาน ๆ เพราะอาจส่งผลโดยตรงเกี่ยวกับสุขภาพขา ซึ่งก็อาจจะส่งผลเสียต่อในอนาคตได้ โดยเฉพาะในเรื่องของกระดูกที่ต้องแบกรับน้ำหนักเอาไว้นาน ๆ เพราะฉะนั้นหากคุณแม่คนไหนที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ แล้วยังต้องเดินหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ ต้องไม่พลาดการอ่านบทความนี้เลย

4 อันตรายขณะตั้งครรภ์ เมื่อคนท้องยืนหรือเดินนานๆ

สำหรับอันตรายที่คนท้องต้องระวัง หากเดินหรือยืนเป็นเวลานาน ก็มีดังนี้

1.เส้นเลือดขอด

ขนาดคนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ยังเจอปัญหาเส้นเลือดขอด และคนท้องที่ต้องแบกน้ำหนักเพิ่มอีกอย่างน้อย 10-15 กิโลกรัม จะไม่มีอาการของเส้นเลือดขอดได้อย่างไรถ้าหากนั่งหรือยืนนาน ๆ ในระยะแรก ๆ ของการเป็นเส้นเลือดขอด คุณแม่อาจจะรู้สึกเจ็บ ตึง ร่วมกับมีอาการคันที่ขา เนื่องจากมดลูกไปกดทับเส้นเลือดใหญ่ที่จะไหลเวียนมาลงที่ขา จึงทำให้เกิดอาการนี้ขึ้น คุณแม่ที่ชอบนั่งห้อยขาเองนาน ๆ ก็ต้องระวังเช่นกัน ถ้าหากเป็นเส้นเลือดขอดแล้วแต่ยังไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเดินหรือยืนนาน ๆ ได้ อาจส่งผลถึงขั้นมีอาการเจ็บฝ่าเท้าที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นได้อีกด้วย

2.ข้อเข่าเสื่อม

ด้วยสาเหตุเดียวกันที่ขาจะต้องมีการแบกรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมา 10-15 กิโลกรัม จึงอาจส่งผลกระทบต่อข้อต่อสำคัญนั่นก็คือเข่านั่นเอง แค่แบกรับน้ำหนักเพิ่มเป็นเวลา 8-9 เดือน ก็ไม่ดีสำหรับเข่าอยู่แล้ว การเดินหรือยืนนาน ๆ ก็ยิ่งทำให้เข่าต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้นไปอีก จึงอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือข้อเข่าเสื่อมก่อนถึงเวลาอันควร ยิ่งถ้ามีปัญหาเรื่องของแคลเซียมไม่เพียงพอ หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อยู่แล้ว อาจพบอาการที่รุนแรงยิ่งขึ้นจนอาจถึงขั้นต้องผ่าตัดรักษาเข่าได้ในอนาคต

3.เจ็บที่บริเวณขาหนีบ

Sponsored

เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น มดลูกก็จะมีการขยายตัวมากขึ้นกว่าเดิม จึงทำให้เส้นเอ็นที่ยึดมดลูกไว้จะต้องมีการยืดขยายตามออกไปด้วย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณแม่จะรู้สึกเจ็บที่ขาหนีบบริเวณท้องน้อยบ้างเป็นบางครั้ง แต่ถ้าหากอายุครรภ์เข้าสู่ช่วง 20 สัปดาห์ขึ้นไป มดลูกก็จะมีการขยายใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม ถ้าหากคุณแม่เดินไปเดินมาเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงต้องยืนแบกรับน้ำหนักตัวเองมากกว่าวันละ 2-3 ชั่วโมงขึ้นไป ก็จะยิ่งทำให้เกิดความเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น (ไม่ได้ทำให้เจ็บมาก แต่จะเจ็บแบบแปลบ ๆ ตลอดเวลาจึงอาจจะทำให้เกิดความหงุดหงิดหรือเกิดความเครียด)

4.เท้าบวมจากสาเหตุเลือดคั่ง

เมื่อมดลูกมีการขยายใหญ่ขึ้นจนไปกดทับเส้นเลือดดำที่อุ้งเชิงกราน จึงทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดที่มาหล่อเลี้ยงบริเวณขาทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดการคั่งของเลือดที่บริเวณขาและเท้า (ตามหลักการไหลเวียนของเลือด เลือดเสียจะไหลเวียนกลับไปที่หัวใจ เพื่อเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนเป็นเลือดดีมาหล่อเลี้ยงต่อไป เมื่อเลือดเสียสะสมอยู่นานจึงทำให้เกิดการคั่ง) ในรายที่ยืนและเดินมาก อาจทำให้เกิดอาการขาบวมที่เห็นได้ชัดและอาจทำให้เกิดการอักเสบได้ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังอาจพบอาการเท้าบวมเพราะเลือดคั่งได้จากการนั่งห้อยขา หรือการนอนที่ขาต่ำกว่าระดับศีรษะ

ทุกอาการอาจไม่ได้เป็นอันตรายร้ายแรงนัก (นอกจากเรื่องของเข่าเสื่อม) แต่ทั้งหมดก็ส่งผลกระทบต่อคุณแม่ได้ เมื่อเกิดการเจ็บปวดที่ขาที่ทำให้เดินได้ไม่ถนัด ก็จะส่งผลให้คุณแม่เกิดความเครียดและเกิดอารมณ์หงุดหงิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นในผู้หญิงที่กำลังมีการตั้งครรภ์อยู่ เพราะจะส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ ถ้าหากหลีกเลี่ยงการเดินหรือยืนไม่ได้จริง ๆ ก็ให้เปลี่ยนอิริยาบถ หรือนั่งพักทุก 30 นาที และควรเลือกใส่รองเท้าที่สวมใส่สบาย จะช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ลูกไม่กินข้าว เกิดจากอะไร และวิธีการรับมือ
2.เพราะอะไร ลูกมักอาเจียนหลังดื่มนม และเป็นอันตรายไหม