โรคซางในเด็ก คุณแม่คงเคยได้ยินคำว่า “โรคซาง” กันมาบ้างแล้ว แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่า การเป็นโรคซางในเด็กนั้นมีอาการอย่างไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร วันนี้เรามีสาระน่ารู้เกี่ยวกับ โรคซางในเด็กมาฝากค่ะ
โรคซาง แท้จริงแล้วคืออะไร
คำว่า “ซาง” หมายถึงโรคที่เกิดในเด็ก ไม่ว่าเด็กจะเป็นไข้ตัวร้อน ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือมีอาการท้องเสีย จะถูกเหม้ารวมว่าเด็กคนนี้เป็น “ซาง” แต่ความหมายที่แท้จริงของคำนี้ คือ อาการขาดสารอาหาร หรือพุงโรก้นปอด ที่เกิดจากพยาธิในลำไส้ สมัยก่อนตามตำราแพทย์แผนโบราณ ให้ความหมายของคำนี้ไว้ว่า เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะในเด็ก เด็กที่มีอาการผิดปกติ มีเม็ดขึ้นภายในช่องปาก ลิ้นเป็นฝ้า มีผลให้เด็กไม่ยอมกินนม ไม่ยอมกินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีเหงื่อออกมากบริเวณศีรษะ ซึ่งยาแผนโบราณที่ใช้รักษาโรคนี้ จะถูกเรียกว่า “ยาแก้ซาง” นั่นเอง
ความหมายของคำว่า “ซาง” ในปัจจุบัน
ในทางการแพทย์ปัจจุบัน มองว่าโรคซาง เป็นภาวะขาดสารอาหาร พบมากในเด็กที่มีฐานะยากจน ผู้ปกครองขาดความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูลูกอย่างถูกต้อง ทำให้เด็กขาดโปรตีน และพลังงาน จนทำให้มีอาการเบื่ออาหาร ไม่กินนม ไม่กินข้าว รูปร่างผอม กล้ามเนื้อลีบ ไขมันน้อยกว่าปกติ รวมถึง พุงโรก้นปอด เนื่องจากพยาธิในลำไส้ดูดซึมสารอาหารไปหมด แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าจะพบอาการเหล่านี้กับลูกน้อยของคุณนะคะ เพราะในปัจจุบันเด็กขาดสารอาหาร หรือเรียกว่าเป็น “โรคซาง” นั้น พบไม่บ่อยนัก เนื่องจากคุณพ่อ คุณแม่ยุคใหม่มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องสุขภาพและโภชนาการของลูกน้อยมากขึ้น
ลักษณะของอาการโดยทั่วไป
- คุณแม่จะสังเกตได้จากการทานอาหารของลูกลดลง มีอาการเบื่ออาหาร การดูดซึม หรือระบบย่อยอาหารบกพร่อง
- เวลานอน ลูกจะนอนหลับไม่สนิท มีอาการนอนผวาหลับ ๆ ตื่น ๆ สะดุ้งตกใจง่าย อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย เอาแต่ใจ (ผลจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ)
- ตัวผอมเหลือง กล้ามเนื้อลีบ แขนขาไม่มีแรง ตัวร้อนรุม ๆ อยู่ตลอดเวลาเหมือนมีไข้ มือเท้าเย็นทั้งที่อากาศร้อน เหงื่อออกมาก ถึงจะนอนเวลากลางคืนหัวก็เปียกและมีกลิ่นเหม็นคาว
- มีผดผื่นขึ้นตามตัว พอผดยุบก็ท้องเสีย มีขี้ตาเหนียว ๆ ตรงหัวตาเวลาตื่นนอน มีละอองซาง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง ลิ้นเป็นฝ้า มีเม็ดซางขึ้นในปาก (เหมือนตุ่มร้อนใน) กระหายน้ำ
- ท้องเสีย อุจจาระเหม็นคาวจัด ท้องเสียบ่อย ๆ อุจจาระกระปิดประปอย หรือมีมูกปน มีมูกตลอดเวลา เป็นหวัดบ่อย ๆ เริ่มหายใจไม่สะดวก ขอบตาช้ำ ๆ มักนอนสะดุ้ง
- สำหรับเด็กบางคนที่อาการรุนแรง อาจจะมีพฤติกรรมทานเยอะ ไม่อ้วน หน้าตาเหมือนอดหลับอดนอน แขนขาลีบมีแต่หัว พุงโลก้นป่อง ฯลฯ
ทั้งนี้สำหรับเด็กที่มีเป็นซาง ส่วนมากจะพบอาการของโรคอื่นด้วย เช่น โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจและผิวหนัง โรคหอบหืด ขาดสารอาหาร โรคพยาธิ พัฒนาการทางร่างกายและสมองไม่สมวัย ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด และใส่ใจในทุกรายละเอียด
สาเหตุของโรงซางที่พบมากในเด็กเล็ก
- คุณพ่อ คุณแม่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารการกิน ในช่วง 6 เดือนแรก เด็กได้รับน้ำนมแม่ไม่เพียงพอ
- ให้นมผสมที่ไม่ถูกต้อง อย่างเช่น วิธีการผสม ปริมาณนมที่ใช้ และชนิดของนมผสมที่อาจไม่เหมาะสมและถูกต้อง
- ขาดความเอาใจใส่ ให้ลูกกินแต่อาหารที่ไม่มีประโยชน์ ทำให้อิ่มจนไม่ต้องการกินอาหารมื้อหลัก
- เด็กมีอาการเจ็บป่วย จนเบื่ออาหาร ทำให้การดูดซึม และการย่อยอาหารบกพร่อง ทำให้เด็กได้รับอาหารน้อยลง
ทำให้โรคซาง เป็นเฉพาะในเด็กเล็ก เพราะเด็กจะกินยาก ชอบกินของที่ไม่มีประโยชน์ ถึงจะอิ่มท้องแต่ร่างกายก็ขาดสารอาหารอยู่ดี สำหรับคุณแม่มือใหม่ ที่กำลังเป็นกังวลว่า ลูกน้อยของคุณ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซางหรือไม่ วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับวิธีการดูแลและป้องกันมาฝากกันค่ะ
การดูแลและป้องกันลูกน้อยเป็นซาง
- คุณแม่มือใหม่ต้องให้ลูกน้อยดูดนมแม่ ไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพราะนมแม่ เป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด และเป็นแหล่งภูมิคุ้มกันชั้นดีอีกด้วย
- ฝึกนิสัยการกินที่ดีให้ลูกน้อย โดยการฝึกให้ลูกรู้จักทานอาหารให้เป็นเวลา นั่งทานเรียบร้อยไม่กินไปเล่นไป ไม่ให้ลูกทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ก่อนรับประทานอาหารมือหลัก ซึ่งส่งผลให้ลูกน้อยอิ่มก่อน และร่างกายไม่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
- ให้ลูกรับประทานอาหารเสริมตามช่วงวัย การเริ่มอาหารเสริมนั้น คุณแม่ควรให้ลูกน้อยลองชิมอาหารหลังจาก 6 เดือนขึ้นไป โดยเริ่มทีละน้อย จากอาหารเหลว แล้วค่อยเพิ่มความหยาบของอาหาร และควรให้ลูกรับประทานอาหารอย่างหลากหลายด้วยเพื่อร่างกายจะได้รับสารอาหารครบถ้วน หากลูกไม่ยอมกินก็ไม่ควรบังคับ เพราะจะทำให้ลูกรู้สึกไม่ดีกับการกิน
- ถ่ายพยาธิ ในกรณีนี้คุณแม่ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน เพื่อฟังคำแนะนำ และวิธีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
ผลกระทบจากโรคซาง
ร่างกายของเด็กจะผอมแห้ง ไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อลีบ ทำให้ส่งผลเสียต่อระบบขับถ่าย ระบบการหายใจ และมีพัฒนาการช้า นั่นเพราะ เด็กขาดสารอาหารจำเป็นต่อระบบการทำงานของร่างกาย
สำหรับคุณแม่มือใหม่ หากดูแลและใส่ใจลูกน้อย ด้วยความรักแล้วล่ะก็ ไม่ว่าจะเป็นโรคอะไรที่ร้ายแรง ก็ไม่สามารถเข้ามาทำอันตรายลูกน้อยของคุณได้ ทั้งนี้คุณแม่ควรเป็นผู้ปกป้องสุขภาพของลูกน้อยให้มีความแข็งแรง รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตขึ้นมาโดยปราศจากโรคภัยไข้เจ็บค่ะ
สุดท้ายนี้ เราก็หวังเพียงว่าข้อมูลที่เรานำเสนอไปนั้น จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย แล้วพบกันใหม่กับครั้งต่อไป ขอบคุณที่ติดตามสนับสนุนเราค่ะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ดัด ยืด ทำสีผมระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่
2.ท้องแล้วก็สวยได้....วิธี สวยแบบปลอดภัย สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์