ไขที่เกิดขึ้นบนศีรษะทารก มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ สีขาว ซึ่งบางทีก็ขึ้นที่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้วย ทำให้คุณแม่เป็นกังวลใจแม้ว่าไขนี้จะหลุดลอกไปแล้วก็ยังกลับมาเป็นใหม่ได้อีก ดังนั้นมาทำความรู้จักกันว่า ไขที่ศีรษะทารกนั้นเกิดขึ้นจากอะไร และจะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง

ไขที่ศีรษะ คืออะไร

ไขที่ศีรษะ หรือ cradle cap มักปรากฏบนศีรษะของทารกตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึง 6 เดือน บางครั้งก็มีสีขาว หรือขาวอมเหลือง และอาจขึ้นที่บริเวณอื่นๆ ได้ด้วย เช่น หน้าผาก ท้ายทอย หู ข้างแก้ม เป็นต้น โดยสาเหตุนั้นเกิดได้จากอะไรบ้าง มาดูกัน

ไขที่ศีรษะทารก เกิดจากอะไร

สาเหตุที่ทำให้เกิดไขที่ศีรษะทารก มีดังต่อไปนี้

1.ต่อมไขมันอักเสบ

เมื่อต่อมไขมันถูกกระตุ้นด้วยฮอร์โมนในระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ต่อมไขมันทำงานผิดปกติ ผลิตไขมันออกมามาก และเกิดการอักเสบขึ้น ทำให้ผิวหนังส่วนที่มีไขมันมาก เช่น หนังศีรษะ ไรผม หลังหู คิ้ว ร่องข้างจมูก ปรากฏเป็นผื่นแดง หรือเป็นขุยสีขาวๆ นอกจากนี้อาจพบได้ตามซอกพับต่างๆ เช่นขาหนีบ คอ รักแร้ โดยเป็นโรคที่พบได้บ่อยในทารกอายุ 2-10 สัปดาห์ แต่เมื่อเด็กโตขึ้น ต่อมไขมันก็จะค่อยๆ ฝ่อลง และอาการจะค่อยๆ หายไปเมื่อเด็กมีอายุ 3-6 เดือน

2.เชื้อรา

เชื้อราบนหนังศีรษะจะมีลักษณะเป็นแผ่นขุยสีขาวๆ และทำให้เกิดอาการคัน โดยสาเหตุมักเกิดจากความสกปรก และการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว หวี หมวก เป็นต้น ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา จะทำให้ติดเชื้อมากขึ้นตรงบริเวณที่เป็น เช่น เกิดอาการบวมแดง มีตุ่มหนอง ผมร่วง ดังนั้นแพทย์จะทำการรักษาโดยการขูดเอาแผ่นหรือสะเก็ดบริเวณหนังศีรษะไปตรวจหาเชื้อ

3.หนังศีรษะแห้ง

Sponsored

อาการหนังศีรษะแห้ง ก็คล้ายๆ ผิวแห้งทั่วไป ซึ่งเมื่อหนังศีรษะแห้งจนเกินไปก็จะทำให้เกิดสะเก็ดหรือแผ่นสีขาวๆ หลุดลอกออกจากหนังศีรษะได้ แต่อาการที่เกิดขึ้นนี้ก็ไม่ได้ทำอันตรายใดๆ กับทารก แค่ทำให้ดูไม่สวยงาม โดยสาเหตุที่ทำให้หนังศีรษะแห้งนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การแพ้แชมพูสระผม แพ้นมวัว สระผมบ่อยเกินไปจนทำให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น

วิธีแก้ไขและป้องกันการเกิดไขที่ศีรษะทารก

การแก้ไขป้องกันไม่ให้เกิดไขที่ศีรษะ จากสาเหตุต่างๆ นั้นทำได้ดังนี้

  1. ในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นเชื้อราบนศีรษะ ควรต้องรีบทำการรักษาโดยการไปพบแพทย์ก่อน ซึ่งการรักษาก็อาจมีให้ยากิน ยาฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เป็นเชื้อรา รวมทั้งอาจต้องโกนผม เพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด
  2. การป้องกันเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นเชื้อราบนศีรษะอีก ต้องหมั่นรักษาความสะอาด โดยสระผมให้ลูกเป็นประจำ และต้องเช็ดผมให้แห้งทุกครั้งก่อนนอน นอกจากนี้ควรต้องแยกข้าวของเครื่องใช้ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว หวี หมวก หมอน
  3. เพื่อกำจัดสะเก็ดผิวหนังที่แห้ง ให้ใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันมะพร้าว ชะโลมหนังศีรษะไว้ 3-4 ชั่วโมง เพื่อให้ซึมลงรากผม หลังจากนั้นค่อยสระผมให้ลูกเบาๆ ด้วยแชมพูเด็กอ่อนๆ หรือใช้แปรงขนนุ่มๆแปรงผม ไม่ควรเกาหนังศีรษะ แค่นี้สะเก็ดก็จะหลุดออกมา
  4. ขุยและสะเก็ดนี้อาจกลับมาเป็นได้อีก จึงจำเป็นต้องหมั่นทำซ้ำๆทุกครั้งที่สระผมลูก แต่ถ้ายังเป็นๆหายๆ อาจต้องสังเกตแชมพูที่ใช้ว่าแพ้แชมพูหรือไม่ หรืออาจเกิดจากการแพ้นมวัวเป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องไปปรึกษาแพทย์
  5. น้ำที่ใช้ในการสระผมให้ทารกที่มีไขบนหนังศีรษะนั้น ควรเป็นน้ำที่อุณหภูมิปกติ เพราะน้ำที่อุ่นเกินไป จะทำให้ผิวหนังที่ศีรษะแห้ง และกระตุ้นทำให้เกิดขุยและตกสะเก็ดได้อีก
  6. ในกรณีที่ผิวหนังมีอาการอักเสบแดง แพทย์จะจ่ายยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์มาทาบริเวณที่เป็นร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้อาการดีขึ้น แต่ไม่ควรซื้อยามาทาเอง เพราะการใช้ยาสเตียรอยด์มากเกินไป เป็นอันตรายต่อทารก
  7. ต้องหมั่นดูแลความสะอาดร่างกายทารก เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น เพราะโรคผิวหนังติดเชื้อทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่นควรดูแลบริเวณซอกพับต่างๆของลูกไม่ให้เกิดความอับชื้น
  8. คุณแม่หรือผู้ที่ดูแลทารก ควรตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่มากับเล็บ และก่อนที่จะมาจับตัวลูก หรือข้าวของเครื่องใช้ของทารก ควรต้องล้างมือก่อนทุกครั้ง
  9. ต้องระวังการมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน โดยเฉพาะถ้าสัตว์เลี้ยงขนร่วง เพราะมีโอกาสที่คุณแม่ไปสัมผัสสัตว์แล้วมาจับตัว หรือข้าวของๆ ลูก ซึ่งถือเป็นการแพร่เชื้อโรคโดยอย่างหนึ่ง โดยไม่รู้ตัว จึงต้องล้างมือบ่อยๆ
  10. ในกรณีที่สงสัยว่าลูกมีผิวหนังแห้ง เนื่องจากการแพ้อาหารบางชนิด คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อปรึกษา และทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป

ไขบนหนังศีรษะของทารกนั้น ถ้าคุณแม่รู้จักดูแลตั้งแต่แรกที่เกิดอาการ ก็จะช่วยให้อาการนั้นไม่ลุกลามและกลับมาหายได้เร็วขึ้น ซึ่งถ้าหากคุณแม่ปล่อยไว้ ไม่รีบให้การักษา จะยิ่งทำให้เป็นมากขึ้น อาจทำให้เป็นโรคแทรกซ้อน จนรักษาได้ยาก หรือเกิดบาดแผลตามมา นอกจากนี้ถ้าไม่แน่ใจเรื่องการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะการใช้ยาที่อาจมีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อทารก

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ