โรคติดต่อสู่ลูกน้อย โรคติดต่อทางพันธุกรรมที่ติดต่อไปสู่ทารกในครรภ์ เป็นโรคที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด เพราะโรคเหล่านี้อาจทำให้ทารกคลอดออกมาผิดปกติหรือเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ได้ ซึ่งในอดีตนั้นยังไม่มีวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ แต่ในปัจจุบัน คุณแม่สามารถเตรียมพร้อมเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคติดต่อได้ไม่ยาก ด้วยการตรวจก่อนตั้งครรภ์หรือตรวจก่อนแต่งนั่นเอง
โรคติดต่อสู่ลูกน้อย ป้องกันได้แค่ตรวจก่อนตั้งครรภ์
การติดต่อของโรคทางพันธุกรรม เกิดขึ้นได้อย่างไร
โรคติดต่อทางพันธุกรรม เป็นโรคที่เกิดจากการผิดปกติของยีนส์จากพ่อและแม่ โดยจะถ่ายทอดผ่านทางโครโมโซมไปสู่ทารกในครรภ์ ซึ่งอาจจะเป็นโครโมโซมเพศหรือโครโมโซร่างกายก็ได้ ตัวอย่างโรคทางพันธุกรรมที่สามารถติดต่อไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย โรคคนเผือก โรคท้าวแสนปม โรคลูคีเมียและโรคดาวน์ซินโดรม เป็นต้น และที่สำคัญเมื่อเป็นแล้วก็ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้อีกด้วย ดังนั้นการป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจก่อนตั้งครรภ์จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
ตรวจก่อนตั้งครรภ์ ป้องกันโรคติดต่อไปสู่ลูกได้อย่างไร
ในปัจจุบันการป้องกันโรคติดต่อไปสู่ทารกสามารถทำได้ด้วยการตรวจก่อนตั้งครรภ์หรือตรวจก่อนแต่ง เพื่อทราบความผิดปกติของพ่อและแม่ ซึ่งจะทำให้เตรียมพร้อมรับมือและวางแผนการมีบุตรได้ง่ายขึ้น โดยการตรวจก่อนตั้งครรภ์นั้น แพทย์จะตรวจทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เพื่อดูความเสี่ยง โดยมีรายการตรวจหลักๆ ดังนี้
- ตรวจดูความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพราะโรคเลือดเป็นโรคที่สามารถติดต่อไปสู่ทารกในครรภ์ได้มากที่สุด เช่น โรคลูคีเมีย โรคธาลัสซีเมีย และโรคเอดส์ เป็นต้น
- ตรวจความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ โครโมโซมในร่างกายของคู่สามีภรรยา เพราะโรคติดต่อทางพันธุกรรมบางโรค จะต้องอาศัยยีนส์ผิดปกติทั้งของพ่อและแม่ จึงจะทำให้ทารกแสดงอาการป่วยออกมา ซึ่งหากมียีนส์ผิดปกติเพียงคนใดคนหนึ่ง ก็จะทำให้ทารกมีโอกาสที่จะเป็นพาหะเท่านั้น คือมียีนส์ผิดปกติแฝงมาได้ แต่ไม่แสดงอาการว่าเป็นโรคและไม่เป็นอันตราย
สอบถามประวัติครอบครัว ถือมีความสำคัญมาก เพราะโรคติดต่อทางพันธุกรรมมักจะติดต่อกันมาเป็นทอดๆ จากรุ่นสู่รุ่น ขึ้นอยู่กับว่าจะแสดงอาการของโรคออกมาหรือเป็นเพียงพาหะที่มียีนส์แฝงเท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้ว หากพบว่าคนในครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคที่ติดต่อทางกรรมพันธุ์มาก่อน ว่าที่คุณแม่เองก็มีโอกาสที่จะเป็นและหากตั้งครรภ์ ทารกก็เสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อดังกล่าวได้เหมือนกัน
หลังตรวจ หากพบความผิดปกติ จะมีลูกได้ไหม
หลังการตรวจก่อนตั้งครรภ์ หากพบความผิดปกติจะมีลูกได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่า
1.โรคหรือความผิดปกติที่พบมีความรุนแรงมากแค่ไหน
กรณีนี้หากตรวจพบโรคหรือความผิดปกติที่มีความร้ายแรง และมีโอกาสติดต่อไปสู่ทารกสูงมาก และเสี่ยงต่อการแท้งหรือทารกเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แพทย์จึงมักจะไม่แนะนำให้มีลูกแต่อย่างใด นอกจากว่าโรคดังกล่าวจะมีวัคซีนหรือยาที่จะช่วยป้องกันในขณะตั้งครรภ์ได้
2.ตรวจพบจากทั้งคู่สามีภรรยา หรือตรวจพบแค่คนเดียว
เพราะโรคบางโรคจะแสดงอาการป่วยออกมาก็ต่อเมื่อได้รับยีนส์ที่ผิดปกติทั้งจากพ่อและแม่ ดังนั้นหากพบว่าความผิดปกติดังกล่าวเกิดกับคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ลูกที่เกิดมาจะมีโอกาสเป็นพาหะแต่ไม่เป็นโรค กรณีนี้แพทย์จะอนุญาตให้มีลูกได้ แต่หากพบว่าทั้งสองคนมียีนส์ผิดปกติทั้งคู่ โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมก็จะสูงถึง 80% เลยทีเดียว ซึ่งกรณีนี้แพทย์จะไม่แนะนำให้มีลูก
3.โรคติดต่อที่ไม่ต้องอาศัยยีนส์จากทั้งพ่อและแม่
เป็นโรคที่จะติดต่อไปสู่ลูกได้ เพียงแค่พ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งมีอาการป่วยเท่านั้น เช่น โรคเบาหวาน โรคเอดส์ ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาจากระดับความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคเช่นกัน ซึ่งหากมีวิธีที่สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงลงได้ ก็สามารถมีลูกได้ตามปกติ แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
โรคติดต่อสู่ลูกน้อยในครรภ์ เป็นโรคร้ายที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด ดังนั้นหากต้องการมีลูก ควรตรวจก่อนตั้งครรภ์ เพื่อเตรียมพร้อมและวางแผนการมีลูกให้ดี จะได้ไม่มีปัญหาลูกเกิดมาผิดปกติหรือเป็นโรคร้ายตั้งแต่กำเนิดนั่นเอง
ขอบคุณที่มา : bangkokhealth
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..