ลูกเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด ทุกครั้งที่มีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่คุณพ่อและคุณแม่มักจะอธิษฐานเป็นอันดับแรก ก็คือการขอให้ลูกออกมาปกติครบ 32 ประการ ไม่ว่าจะเกิดเป็นเพศอะไร ก็พร้อมที่จะรักและดูแลทั้งสิ้น แต่เมื่อลูกน้อยถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว กลับพบว่าลูกเป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิด ก็ทำเอาคุณพ่อคุณแม่หลายคนร้องไห้จนไม่มีน้ำตากันเลยทีเดียว ทุกข์ใจที่ลูกป่วยตั้งแต่กำเนิดแล้ว ยังต้องทุกข์ใจในเรื่องของการดูแลลูกที่ไม่แน่ใจว่าจะดีพอหรือไม่อีกด้วย ซึ่งอันที่จริงแล้ว คนทั่วไปยังไม่ค่อยมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคหัวใจมากนัก เพราะฉะนั้นเราจึงได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับโรคหัวใจแต่กำเนิดในเด็ก และวิธีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

ทำไม ลูกเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด ?

โดยทั่วไปแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ทารกในครรภ์เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดได้ เว้นแต่จะมีความผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการตั้งครรภ์ไปแล้ว เช่น การได้รับเชื้อไวรัสบางอย่างที่ส่งผลกระทบต่อเด็กโดยตรง หรือการที่คุณแม่ใช้ยาบางชนิดในช่วงไตรมาสแรกโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็จะทำให้โครงสร้างหัวใจของเด็กมีความผิดปกติ จนส่งผลกระทบให้เป็นโรคหัวใจตั้งแต่กำเนิดได้

โรคหัวใจตั้งแต่กำเนิดในเด็ก สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท

โรคหัวใจตั้งแต่กำเนิดในเด็ก สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทมาก แต่ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงการเป็นโรคหัวใจชนิดที่มีอาการ และชนิดที่ไม่มีอาการเป็นหลัก เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ทำความเข้าใจกับโรคได้มากยิ่งขึ้น และจะได้ดูแลรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป

เด็กที่เป็นโรคหัวใจแต่ไม่มีอาการ

ส่วนมากเด็กที่จัดอยู่ในประเภทนี้ จะไม่มีอาการรุนแรงมากนัก อาจไม่ถึงขั้นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนเด็กปกติทั่วไป แต่สิ่งที่ต้องเน้นมาก คือการดูแลช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อจากช่องปากที่อาจนำไปสู่หัวใจ นอกจากนี้ หากจะต้องทำการผ่าตัดใด ๆ ทั้งสิ้น ก็จะต้องมีการให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ด้านโรคหัวใจอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการแสดงออกมาก็ตาม เพื่อป้องกันในกรณีที่มีอาการแทรกซ้อน หรืออาการรุนแรงขึ้นแบบไม่รู้ตัว

และอีกอาการหนึ่งที่ต้องรู้ สำหรับเด็กที่ไม่มีอาการ คือกรณีติดเชื้อแบคทีเรียชนิดเบต้า-สเตร็ปโตคอคคัส กลุ่มเอ ที่ลำคอ อาจส่งผลให้เด็กเกิดโรคไข้รูห์มาติค ที่ทำให้เกิดการปวดตามข้อและกระดูก จนส่งผลให้เกิดการอักเสบของหัวใจได้

เด็กที่เป็นโรคหัวใจแล้วแสดงอาการ

เด็กในประเภทนี้ ค่อนข้างจะมีอาการของโรคที่ค่อนข้างรุนแรง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือแบบอาการหัวใจวาย และอาการเขียว ซึ่งทั้ง 2 อาการนี้ มีโอกาสสูงที่จะต้องทำการผ่าตัดรักษาหัวใจ และจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ในส่วนของผู้ปกครอง จะต้องดูแลมากเป็นพิเศษ ไม่ควรให้เด็กอยู่ในที่แออัด และไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคหวัดได้ง่าย และยังต้องระมัดระวังในเรื่องของการให้ยา เพราะเด็กจะต้องทานยาหลายชนิดเพื่อควบคุมอาการให้เป็นปกติ หากประมาท หรือไม่ใส่ใจเท่าที่ควร อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตเด็กได้

Sponsored

ถึงแม้ว่าโรคหัวใจแต่กำเนิดในเด็กจะดูมีความน่ากลัว แต่ในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีทางการแพทย์มีความก้าวหน้าขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นเด็กอายุเท่าไร ก็สามารถผ่าตัดรักษาหัวใจได้ทั้งนั้น แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลของผู้ปกครองให้เด็กมีความแข็งแรงและมีความพร้อมที่จะเข้ารับการผ่าตัดด้วย ยิ่งถ้าผู้ปกครองมีความเข้าใจมากเท่าไร ก็จะยิ่งช่วยให้ลูกน้อยมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ