เมื่อลูกมีอาการโคลิค … อาการโคลิค หรือที่เรียกกันว่า โรคเด็กร้อง 3 เดือนนั้น เป็นอาการที่ถือได้ว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กทารก จึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวแต่อย่างใด เพราะอาการที่ลูกเป็นโคลิคเป็นอาการที่สามารถหายไปได้เองภายในระยะเวลา 3 – 4 เดือน

แต่อย่างไรก็ดีอาการที่ลูกเป็นโคลิคนี้ก็เป็นอาการที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่ต้องเหน็ดเหนื่อยอยู่ไม่น้อยที่จะรับมือกับการที่ลูกเป็นโคลิค เราจึงมีวิธีดูแลเด็กที่เป็นโคลิคมาแนะนำกัน เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้นำไปปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือลูกน้อยจากอาการโคลิค

โคลิค คืออะไร?

โคลิคเป็นลักษณะอาการที่เกิดขึ้นในเด็กวัยทารก อายุประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยทารกจะมีอาการปรากฏให้เห็น คือ ส่งเสียงร้องไห้อย่างปราศจากสาเหตุ และไม่สามารถที่จะหยุดร้องไห้ได้แม้ว่าจะกล่อมอย่างไรก็ตาม พบได้ในทารกทั้งเพศชายและ เพศหญิง ซึ่งปกติแล้วทารกจะส่งเสียงร้องไห้ออกมา เมื่อรู้สึกหิว หรือรู้สึกเปียกชื้น แต่สำหรับเด็กโคลิคจะร้องหนักกว่าเด็กปกติธรรมดาทั่ว ๆ ไป และมักจะเป็นช่วงเวลาเดียวกันเกือบทุกครั้ง โดยเสียงร้องของเด็กจะแหลมดัง และจะส่งเสียงร้องอยู่เป็นเวลานาน ตกประมาณ 3 ชั่วโมง ใน 1 วัน และมากกว่า 3 วันใน 1 สัปดาห์ ติดต่อกัน 3 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยหรือมากกว่านั้น เมื่อทารกอายุได้ 3 – 4 เดือนอาการจะลดน้อยลง

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ลูกมีอาการโคลิค

อาการโคลิคเป็นอาการที่ยังไม่ทราบสาเหตุและปัจจัยในการเกิดแน่นอน แต่เป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้นได้จากหลากหลายเหตุปัจจัยร่วมกันคือ

  1. เด็กอาจจะมีปัญหาทางด้านพื้นฐานอารมณ์ ซึ่งจะทำให้พ่อแม่ที่มีลูกเป็นโคลิคเลี้ยงได้ค่อนข้างยาก
  2. ในระหว่างที่เด็กกำลังดูดนมเด็กอาจกลืนอากาศจนทำให้เกิดอาการไม่สบายตัวและร้องงอแงได้
  3. เด็กได้เรอน้อยเกินไป จนส่งผลให้เด็กมีอาการแน่นอึดอัดท้อง และร้องไม่หยุด
  4. เด็กนอนในท่าที่ไม่เหมาะสม ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว
  5. ลูกเป็นโคลิคอาจเกิดได้จากภาวะ/โรคกรดไหลย้อนในเด็ก เป็นผลให้เด็กร้องงอแงนานขึ้น
  6. การให้เด็กกินอาหารจำพวกแป้งมากจนเกินพอดี อาจส่งผลให้แป้งถูกย่อยไม่หมด ทำให้แป้งที่เหลือถูกย่อนโดยแบคทีเรียในลำไส้ ส่งผมให้ลำไส้เล็กมีแก๊สมากขึ้น ทำให้เด็กมีอาการแน่นท้อง
  7. ลูกเป็นโคลิคอาจเกิดจาก อาการแพ้อาหารบางอย่างได้ ดังนั้นก่อนให้ลูกกินอะไรควรสังเกตให้ดีว่าลูกอาจจะแพ้หรือไม่
  8. การที่พ่อแม่มีปัญหาทางอารมณ์ก็อาจส่งผลให้ลูกเป็นโคลิคได้ เพราะเด็กสามารถรับรู้อารมณ์ของพ่อแม่ได้นั่นเอง

อาการที่บอกว่าลูกเป็นโคลิค

ลูกเป็นโคลิคจะมีลักษณะอาการที่แสดงออกให้เห็นได้อย่างชัดเจน คือจะมีอาการร้องไห้จนหน้าตาแดงกร่ำ งอขา งอตัว กำมือแน่น ร้องเสียงแหลม  และร้องนานกว่าปกติ โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นในช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน

การดูแลและการรักษาเมื่อลูกเป็นโคลิค

การพยายามที่จะทำให้เด็กหยุดร้องเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก แต่อย่างไรก็ดีหากเด็กร้องควรทำตามแนะนำดังต่อไปนี้

Sponsored
  1. ดูว่าสาเหตุที่ทำให้เด็กร้องเป็นเพราะเด็กหิวนมใช่หรือไม่ ถ้าใช่ก็ควรให้ลูกดูดนมจนอิ่มแล้วเขาจะหยุดร้องไปเอง
  2. หากมีสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นเร้าเด็ก เช่น เสียงดัง หรือ แสงรบกวน ก็ให้พาเด็กออกไปเสียจากบริเวณนั้น หรือ หาวิธีลดสิ่งแวดล้อมที่เป็นตัวกระตุ้นเด็กให้น้อยลง
  3. อุ้มเด็กขึ้นพาดบ่า จะทำให้เด็กรู้สึกดีขึ้น และยังช่วยขับลมในท้องเด็กออกมาอีกด้วย
  4. พยายามนวดตัวหรือเขย่าตัวเด็กไปมาเบา ๆ ลูบหลังให้เด็กด้วย โดยวิธีนี้จะทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นและลดอาการเจ็บปวดที่เป็นสาเหตุของการร้องได้ดี
  5. ให้เด็กได้ฟังเพลง เสียงเพลงเสียงดนตรีเบา ๆ จะช่วยให้เขาผ่อนคลายได้ในระดับหนึ่ง

แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดอาการโคลิก หรือไม่แน่ว่าที่ลูกร้องไห้นั้นเป็นเพราะลูกเป็นโคลิคหรือเปล่า แต่คุณแม่ก็ควรที่จะทำให้ลูกรู้สึกสบายมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องมีความอดทนเป็นอย่างสูงในเวลาที่ลูกน้อยส่งเสียงร้องไห้ลั่น อย่างไรก็ดีอาการโคลิคไม่ใช่อาการที่จะส่งผลต่อเด็กในระยะยาวและจะหายไปได้เอง คุณแม่จึงไม่ควรที่จะเป็นกังวลจน   เกินไปนัก

อ้างอิง : haamor.com  ,  hifamilyclub

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในเด็ก ร้ายแรงมากแค่ไหน

2.8 วิธีการดูแลลูกน้อย เมื่อมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด