คงเป็นเรื่องปกติ เมื่อเห็นลูกงอแงร้องไห้ แล้วมีน้ำตาไหลออกมา แต่ในทางกลับกัน ถ้าอยู่ดีๆ แล้วลูกน้ำตาไหลมีน้ำตาเอ่อล้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้น ให้ตั้งข้อสันนิษฐานว่า ลูกอาจมีอาการอาจท่อน้ำตาอุดตัน ดังนั้นเราจะมาหาสาเหตุที่ทำให้เกิดท่อน้ำตาอุดตันกันว่าเกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง รวมทั้งจะมีวิธีการรักษาอาการดังกล่าวได้อย่างไร
ลูกน้ำตาไหล อาจเกิดจากท่อน้ำตาอุดตัน
สาเหตุที่ทำให้ท่อน้ำตาอุดตันนั้น เกิดจาการมีเยื่อบางๆ มาปิดกั้นที่รูระบายน้ำตาที่เปิดสู่โพรงจมูก โดยเมื่อน้ำตาไม่สามารถระบายออกได้ จึงเอ่อล้นเข้าไปในตา และในที่สุดก็ไหลเอ่อออกมาจากดวงตาของลูก ซึ่งตามปกติแล้วเนื้อเยื่อนี้จะสามารถหายไปเองได้ เมื่อทารกมีอายุประมาณ 2-3 เดือน แต่ถ้าไม่สลายไปเอง ก็จะทำให้เกิดปัญหาท่อน้ำตาอุดตันขึ้น นอกจากนี้ลูกน้ำตาไหลยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียขณะที่ทำคลอด ทำให้มีขึ้ตาไปอุดตัน และเกิดการอักเสบขึ้นที่เยื่อบุตาได้
ท่อน้ำตาอุดตัน อันตรายไหม
เมื่อมีอาการท่อน้ำตาอุดตันที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง จะทำให้ลูกน้ำตาไหลคลอเบ้าอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งอาจมีน้ำตาไหลโดยไม่รู้ตัว และบางครั้งอาจมีขี้ตาแฉะๆ ร่วมด้วย ซึ่งถ้าปล่อยไว้หลายวัน เมื่อการติดเชื้อเกิดขึ้น จะทำให้ขี้ตาเปลี่ยนเป็นเป็นสีเขียวๆ และมีปริมาณมากขึ้น โดยสังเกตเห็นได้ชัดในขณะตื่นนอน จะพบว่าหนังตาบนและหนังตาล่างติดกันจากขี้ตาได้ ซึ่งอาการของของท่อน้ำตาอุดตันนั้น อาจส่งผล ทำให้เด็กเกิดความรำคาญเนื่องจากมีน้ำตาไหลอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ถ้าปล่อยให้มีการติดเชื้อมากๆ อาจลุกลามจนเกิดการอักเสบที่ถุงน้ำตา โดยจะมีลักษณะคล้ายเป็นฝีหนองที่หัวตา และจะส่งผลให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณดังกล่าว จนเมื่อฝีแตก ทำให้มีน้ำตาและหนองไหลออกมาด้วย
วิธีการดูแลรักษา
อาการที่พบว่าลูกน้ำตาไหล ขี้ตาแฉะอาจมีสาเหตุเกิดจากโรคอื่นๆ ด้วย เช่น ขนตาเก กระจกตาอักเสบ เยื่อบุตาขาวอักเสบ มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา ต้อหินในทารก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพาลูกไปพบจักษุแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด และเมื่อพบว่าเป็นท่อน้ำตาอุดตัน แพทย์จะทำการรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. นวดตา
ลูกน้ําตาไหลข้างเดียว เบื้องต้นของการรักษาท่อน้ำตาอุดตัน แพทย์จะให้คุณแม่นวดตาลูกบริเวณถุงน้ำตาบ่อยๆ ซึ่งในกรณีที่มีการติดเชื้อแพทย์จะให้การรักษาด้วยการให้หยอดตาด้วยยาหยอดปฏิชีวนะร่วมด้วย โดยก่อนนวดนั้น คุณแม่ต้องตัดเล็บให้สั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เล็บไปข่วนตาของลูก และควรล้างมือให้สะอาดก่อนทุกครั้ง ส่วนวิธีการนวดนั้น ให้ใช้นิ้วชี้กดเข้าบริเวณหัวตา โดยให้นิ้วแนบอยู่ระหว่างหัวตากับสันจมูก ลงน้ำหนักเบาๆ นิ้วเบา นวดวนเป็นวงกลม การนวดนี้เพื่อช่วยดันให้น้ำไหลลงไปที่ปลายท่อ และเมื่อเกิดแรงดันมากพอ จะส่งผลให้เนื้อเยื่อบางๆ หรือพังพืดที่บริเวณปลายท่อน้ำตาหลุดออกไป ซึ่งแพทย์แนะนำว่า คุณแม่สามารถนวดตาให้ลูกได้บ่อยๆ วันละหลายๆ ครั้ง เช่นทำวันละ10ชุดขึ้นไป แต่ละชุดให้ทำ30-40รอบ ก็จะช่วยให้อาการท่อน้ำตาอุดตันหายได้
2. แยงท่อน้ำตา
ลูกน้ำตาไหลในกรณีที่ไม่สามารถรักษาท่อน้ำอุดตันได้ด้วยการนวดตา แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาด้วยวิธีการแยงท่อน้ำตา ซึ่งฟังดูเหมือนจะอันตราย แต่จริงๆ แล้ว เป็นการรักษาที่เกิดขึ้นบริเวณเปลือกตา เท่านั้น โดยแพทย์จะแยงท่อน้ำตาด้วยแท่งโลหะ เป็นการแยงไปตามแนวท่อน้ำตา เพื่อให้ทะลุพังพืดที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดการอุดตัน ซึ่งก่อนที่แพทย์จะทำการรักษา แพทย์จะให้เด็กดมยาสลบเสียก่อน เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขณะแยงท่อน้ำตาด้วย และการรักษาด้วยวิธีแยงท่อน้ำตานี้ก็ให้ผลลัพธ์ที่ดี แต่เหมาะกับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 15 เดือน เพราะกระดูกบริเวณโพรงจมูกยังไม่แข็งตัวมาก ซึ่งทำให้สามารถแยงทะลุกระดูกได้ และในกรณีที่เด็กกลับมาเป็นซ้ำอีก แพทย์จะยังคงใช้วิธีการแยงท่อน้ำตาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้แพทย์จะใส่ท่อซิลิโคนคาเอาไว้ในท่อน้ำตาด้วย โดยท่อซิลิโคนนี้จะหลุดออกไปได้เองภายใน 3-6 เดือนหลังการใส่ท่อ
3. ผ่าตัด
เมื่อทำการรักษาทุกวิถีทางแล้ว เด็กยังกลับมามีอาการท่อน้ำตาอุดตันอีกเรื่อยๆ หรือในเด็กที่มีอายุ 3-4 ปีขึ้นไป ทำให้ไม่สามารถแยงท่อน้ำตาได้ แพทย์จะเลือกรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด การผ่าตัดนี้จะใช้กล้องขนาดเล็ก ส่องเข้าไปในช่องจมูก เพื่อทำทางระบายน้ำตาขึ้นมาใหม่ ซึ่งการผ่าตัดส่องกล้องนี้เป็นวิธีผ่าตัดแบบใหม่ ไม่ทำให้มีแผลเป็น คนไข้จึงฟื้นตัวได้ไวกว่า ซึ่งเมื่อเทียบกับการผ่าตัดด้วยวิธีการกรีดตาจากภายนอก ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบเดิม อาจพบอาการแทรกซ้อนได้มากกว่าด้วย
ลูกน้ำตาไหล ท่อน้ำตาอุดตันนั้นสามารถพบได้ในเด็กวัยตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป ดังนั้นการดูแลและเอาใจใส่ลูกอย่างใกล้ชิด จะทำให้คุณแม่พบสิ่งผิดปกติได้อย่างรวดเร็ว แล้วเมื่อได้เข้ารับการรักษา อาการท่อน้ำตาอุดตันก็จะสามารถหายขาดได้ ดังนั้นไม่ควรปล่อยไว้ จนเกิดการติดเชื้อ เพราะจะยิ่งทำให้อาการรุนแรงขึ้น เพราะย่อมทำให้เกิดอันตรายแก่ดวงตาของลูกน้อยได้
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่