อาการไอ มักจะมาพร้อมกับอาการหวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล และเมื่ออาการหวัดหายไป แต่ยังมีอาการไออยู่ และยังไอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มากกว่า 8 สัปดาห์ จะถือว่าเป็นอาการไอเรื้อรัง โดยผู้ป่วยที่มีอาการไอแบบเรื้อรังมักจะมีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ โรคปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ โรคหืด กรดไหลย้อน แพ้อากาศ เป็นต้น อาการไอเรื้อรังไม่ใช่เรื่องเล็ก ไม่ควรปล่อยไว้ เพราะจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรงขึ้นได้ เพราะฉะนั้น จึงควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาอย่างถูกวิธี โดยเมื่อโรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุได้รับการรักษา อาการไอเรื้อรัง ก็จะหายไปและกลับมาเป็นปกติได้
อาการไอเรื้อรัง เกิดจากอะไร?
อาการไอเรื้อรัง เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่สร้างความกังวลให้กับผู้ป่วยไม่น้อย เพราะไอเรื้อรังเป็นอาการไอที่ยาวนาน รักษาอย่างไรก็ไม่หาย หากไม่ได้รับการรักษาจากสาเหตุของโรคอย่างแท้จริง โดยสาเหตุของการไอเรื้อรังนั้นมักจะมาจากปัญหาทางสุขภาพ และการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ซึ่งมีมากกว่าหนึ่งปัจจัยร่วมกัน และสาเหตุที่พบบ่อยในผู้ป่วยก็จะมีดังนี้
- ผู้ป่วยมีอาการของโรค หอบหืด
- มีอาการของโรคกรดไหลย้อน
- โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่กล่องเสียง และลำคอ
- มีเสมหะ คัดจมูก น้ำมูกไหลลงคอ
- หลอดลมอักเสบ ไอแห้งคันคอ
- มะเร็งปอด
- โรคหลอดลมพอง (Bronchiectasis)
- โรคซิสติกไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกได้ โรคดังกล่าวจะทำให้ปอด ระบบทางเดินอาหารและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเกิดความเสียหาย
- การติดเชื้อเช่น ปอดบวม ปอดอักเสบเฉียบพลัน
- การใช้ยารักษาโรคบางชนิดอย่างเช่นโรคโลหิตจาง
- การสูบบุหรี่จัดเป็นเวลายาวนาน
วิธีการรักษาเมื่อไอเรื้อรัง
การรักษา อาการไอเรื้อรัง แพทย์จะทำการรักษาตามสาเหตุของโรคที่ผู้ป่วยเป็น เพราะเมื่อสาเหตุของโรคหาย อาการไอเรื้อรังก็จะหายไปเป็นปกติ การรักษาจึงต้องรักษาสาเหตุของโรคดังนี้
1.หากสาเหตุ มาจากโรคกรดไหลย้อน แพทย์ก็จะรักษาโดยการแนะนำให้ใช้หมอนเสริม เพื่อให้ศีรษะอยู่ในท่าที่เหมาะสมขณะที่นอนหลับ รวมถึงให้หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อนเช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ ไวน์แดง ช็อคโกแลต อาหารเปรี้ยว อาหารรสจัด อาหารที่มีไขมันสูงเป็นต้น และอาจรักษาโดยการใช้ยารักษาร่วมด้วยเช่น ยาแรนิทิดีน (Ranitidine) ยาอีโซเมปราโซล (Esomeprazole) ยาโอเมพราโซล (Omeprazole) ยาไซเมทิดีน (Cimetidine) และยา ยาฟาโมทิดีน (Famotidine) รวมทั้งให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่น งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และไม่รับประทานอาหารมื้อละปริมาณมากๆ หลังจากรับประทานอาหารไม่ควรนอนทันที ควรรออย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง
2.หากมีสาเหตุ อาการไอเรื้อรัง มาจากโรคหืด แพทย์จะทำการรักษาโดยการใช้ยาเช่น การพ่นยาขยายหลอดลม หรือใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบของหลอดลม และลดการหายใจหอบ
3.หากมีสาเหตุมาจากเสมหะไหลลงคอ สาเหตุของ อาการไอเรื้อรัง แพทย์จะรักษาโดยการใช้ยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเช่น ยาต้านฮีสทามีน ยาละลายเสมหะ หรือแพทย์อาจจะใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาอาการไซนัสอักเสบร่วมด้วย นอกจากนี้อาจจะใช้ยาพ่นเช่น ยาไอปราโทรเปียม (Ipratropium) เพื่อลดอาการน้ำมูกไหล อาการจาม และน้ำมูกไหลลงคอ รวมถึงการใช้ยาฟลูติคาโซน (Fluticasone) ก็สามารถลดเสมหะไหลลงคอได้เช่นกัน
4.หากมีสาเหตุ อาการไอเรื้อรัง มาจากปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือหลอดลมอักเสบ แพทย์จะทำการรักษาโดยการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
5.หากมีสาเหตุของการ ไอแห้งคันคอ มาจากการใช้ยารักษาโรคโลหิตสูงยากลุ่ม (ACE Inhibitor) แพทย์จะทำการรักษา โดยให้ยาชนิดอื่นแทน
6.หากการรักษายังไม่ได้ผล และอาการไอเรื้อรัง ยังมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แพทย์อาจจะให้ยาระงับการไออย่างเช่นยา ยาโคเดอีน (Codeine) ในการรักษา
การป้องกันอาการไอเรื้อรัง
อาการไอเรื้อรัง สามารถป้องกันได้ เพียงแต่ต้องปรับพฤติกรรม และลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคไอเรื้อรัง โดยการป้องกันโรคดังกล่าวนี้ สามารถทำได้ดังนี้
1.ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
2.หลีกเลี่ยง หรือเลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิด อาการไอเรื้อรัง และยังเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งปอดด้วย
3.หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ไอแห้งคันคอ โรคหลอดลมอักเสบ หรือโรคปอดบวม เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ
4.หลีกเลี่ยงการสูดดมฝุ่นควัน มลพิษทางอากาศ รวมถึงควันบุหรี่ เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ ที่เป็นสาเหตุของโรคไอเรื้อรัง
5.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์กากใยไฟเบอร์สูงอย่างเช่น ผักและผลไม้ เพราะมีงานวิจัยพบว่า การที่ร่างกายได้รับไฟเบอร์ และฟลาโวนอยด์ที่พบในผักและผลไม้ จะมีส่วนช่วยป้องกันอาการไอเรื้อรังได้
อาการไอเรื้อรัง ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะอาการไอดังกล่าวมักจะมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคปอดอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ โรคกรดไหลย้อน รวมถึงโรคหืด หากรักษาสาเหตุของโรคให้หายดี อาการไอเรื้อรังก็จะหายไป เพราะฉะนั้นหากมีอาการไอเรื้อรังไม่ควรมองข้าม ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาตามอาการอย่างถูกต้อง
= = = = = = = = = = = =