ลูกชอบเล่นน้ำลาย คุณแม่หลายท่านอาจจะเกิดความกังวลใจได้ว่าลูกผิดปกติหรือไม่ เด็กเล่นน้ำลายเป็นพฤติกรรมที่ปกติทั่วไปที่มักจะแสดงออกเมื่อกำลังหัดพูดหรือต้องการที่จะสื่อสารหรือว่าลิ้นของลูกมีฝ้านมที่เกิดจากการทานนมและคุณแม่ทำความสะอาดให้ลูกไม่ดีพอจึงทำให้เกิดการระคายตรงที่ลิ้น อย่างไรก็ตาม เด็กเล่นน้ำลาย ไม่ผิดปกติแต่อย่างใด เป็นพฤติกรรมที่สามารถกระตุ้นพัฒนาการของลูกได้ด้วยเช่นกัน
ทำความเข้าใจกับการที่ เด็กเล่นน้ำลาย
ลูกชอบเล่นน้ำลายทำไงดี คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะกังวลใจได้ เด็กเล่นน้ำลาย ไม่ผิดปกติแต่อย่างใด การเล่นน้ำลายของทารกเกิดขึ้นได้จากช่วงที่ลูกกำลังหัดพูดและต้องการสื่อสาร ช่วงที่ทารกเรียนรู้ที่จะออกเสียงด้วยการใช้ปากอันเป็นรากฐานสำคัญของการหัดพูด ในบางครั้งลูกอาจจะเล่นน้ำลายเสียงดังออกมาเพื่อเป็นการสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดู หากเห็นลูกทำพฤติกรรมแบบนี้คุณพ่อคุณแม่ควรสื่อสารกับลูก โดยการพูดคุยตอบโต้เพื่อเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของลูกและยังช่วยส่งเสริมสายใยรักและความผูกพันจากพ่อแม่สู่ลูกน้อยได้ด้วย
ทารกจะมีพฤติกรรม ชอบเล่นน้ำลายเมื่อไหร่
เด็กเล่นน้ำลาย เป็นอาการปกติที่พบได้ทั่วไปของเด็กทารกวัย 4 เดือนขึ้นไปและจะพบมากในช่วงวัย 6 – 8 เดือน เนื่องจากว่าวัยนี้ฟันลูกกำลังจะขึ้นหากลูกเริ่มมีพฤติกรรมเล่นน้ำลายหรือน้ำลายไหลคุณแม่ไม่ต้องกังวลใจเพราะนั่นอาจจะเป็นช่วงที่ฟันของลูกใกล้ที่จะขึ้นหรือลูกเพียงแค่ต้องการสื่อสารพูดคุยกับคุณแม่ ทารกเล่นน้ำลาย คุณแม่ควรเช็ดทำความสะอาดให้ลูกบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดผดผื่นหรือกากน้ำลายตามบริเวณรอบๆ ปากและแก้มของลูกน้อยเพื่อไม่ให้เกิดผื่นได้
การเล่นน้ำลาย กับการกระตุ้นพัฒนาการ
ลูกน้อยเมื่อถึงช่วงวัยหนึ่งก็จะมีพฤติกรรมแปลกๆ ออกมาอยู่เรื่อย ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าพัฒนาการของลูกในแต่ละช่วงวัยนั้นจะไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับการเล่นน้ำลายเป็นแค่เพียงช่วงวัยๆ หนึ่งของลูกเท่านั้น แต่การเล่นน้ำลายยังเป็นการช่วยกระตุ้นพัฒนาการด้านการสื่อสารให้ลูกได้อีกด้วย เมื่อเห็นลูกเล่นน้ำลายคุณแม่สามารถช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้กับลูกได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- การเป่าปากเล่นน้ำลายคือจุดเริ่มต้นที่สำคัญของพัฒนาการด้านการสื่อสารของลูกน้อย น้ำลายเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของปากที่เกิดขึ้นและเมื่อลูกน้อยเรียนรู้ที่จะควบคุมเสียงและเรียนรู้ที่จะทำเสียงที่แตกต่างกันได้อีก เมื่อ เด็กเล่นน้ำลาย อีกไม่นานลูกก็จะหัดพูดได้แล้ว
- คุณแม่พยายามเลียนเสียงเจ้าตัวน้อยจากนั้นก็คอยสังเกตดูว่าลูกมีพฤติกรรมตอบสนองอย่างไร วิธีนี้เป็นวิธีช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้กับลูกให้ลูกรู้จักสื่อสารกับผู้คนรอบข้างได้
- นอกจากการใช้เสียงสื่อสารกับลูกน้อยคุณแม่ควรใช้การสื่อสารด้วยแววตาและอารมณ์ให้มากขึ้น จะทำให้ลูกเห็นว่าการเป่าปากเล่นน้ำลายนี้เป็นเรื่องที่สนุกมากเลย
- คุณแม่สามารถชักชวนพี่ๆ มาร่วมเล่นกับน้องตัวเล็กได้อีกด้วยเพื่อเป็นการสร้างเสียงหัวเราะให้กับลูก กิจกรรมนี้จะยิ่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องได้เป็นอย่างดีทีเดียว
ลูกเล่นน้ำลายแบบไหน อาจไม่ปกติ
เด็กเล่นน้ำลาย ถือเป็นอาการปกติของเด็กทั่วไปในวัยที่กำลังต้องการพูดคุยหรือสื่อสาร แต่การเล่นน้ำลายของลูกก็อาจจะมีความผิดปกติซ่อนอยู่ด้วยเช่นกัน อย่างเช่น สาเหตุดังต่อไปนี้
- ทารกเล่นน้ำลาย อาจจะเกิดจากความผิดปกตของช่องปาก เช่น ลิ้นมีฝ้าน้ำนม ลิ้นมีแผล ซึ่งอาการนี้มักพบจากการติดเชื้อ เช่น โรคมือ เท้า ปาก โรคปากเปื่อยหรือมีแผลในช่องปาก
- เด็กเล่นน้ำลาย เกิดจากความผิดปกติของการสบฟันที่ไม่สามารถปิดปากได้สนิท (หากกรณีนี้ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา)
- ลูกน้ำลายไหลผิดปกติอาจจะเกิดจากการติดจุกหลอกมากจนเกินไป เพราะถ้าติดจุกหลอกเป็นเวลานานอาจจะทำให้การหุบปากของลูกไม่สนิทและมีช่องโหว่ให้น้ำลายไหลออกมา
- เด็กเล่นน้ำลาย น้ำลายไหลอาจจะเกิดจากโรคภูมิแพ้บางชนิด เพราะเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้จะมีปัญหาจมูกบวมหรือโพรงจมูกตีบแคบจึงทำให้การหายใจไม่ค่อยสะดวกทำให้เด็กจำเป็นจะต้องอ้าปากเพื่อทำการหายใจตลอดเวลา ทำให้เกิดมีน้ำลายไหล หากพบกรณีอย่างนี้คุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้
- ลูกน้ำลายไหลอาจจะเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทที่ควบคุมการขบเคี้ยวจึงทำให้ลูกเกิดอาการน้ำลายไหลออกมาคล้ายกับว่า ทารกเล่นน้ำลาย ซึ่งกรณีนี้เป็นความผิดขั้นรุนแรงและเด็กก็มักจะมีอาการป่วยร่วมด้วย เช่นโรค สมองอักเสบ โรคสมองพิการ หรือโรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งคุณแม่ไม่ต้องตกใจอาการนี้พบได้น้อยมากและลูกก็อาจจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย
เด็กเล่นน้ำลาย ถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปของเด็กที่กำลังเรียนรู้ที่จะสื่อสาร แต่การเล่นน้ำลายและน้ำลายไหลก็อาจจะมีโรคอื่นซ่อนอยู่ได้ ดังเช่น ที่เราได้กล่าวมาในข้างต้น เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกถ้าเล่นน้ำลายและมีอาการน้ำลายไหลร่วมอาจจะเป็นอาการเล่นน้ำลายไม่ปกติ ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม
= = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่