โดยปกติการเลี้ยงเด็กช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือนคุณหมอจะแนะนำว่าไม่ควรให้ลูกดื่มน้ำ เนื่องจากวัยนี้เด็กดื่มนมแม่หรือนมผงชงผสมน้ำ ซึ่งนมทั้งสองอย่างนี้มีน้ำเพียงพอที่จะให้ร่างกายเด็กได้นำใช้ในแต่ละวันอยู่แล้ว เพราะเด็กยังไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวจนทำให้ร่างกายเสียเหงื่อและต้องการน้ำมากขึ้นเหมือนกับเด็กวัยอื่น แต่ทั้งนี้เมื่อลูกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่จำเป็นต้องให้ลูกดื่มน้ำด้วย ซึ่งจะต้องดื่มปริมาณเท่าไหร่ต่อวัน เราก็มีข้อมูลมาบอกกันแล้ว
ควรให้ลูกดื่มน้ำกี่ออนซ์ต่อวัน
- ในเด็กเล็กที่มีอายุ 5-6 เดือน หากมีการดื่มนมผงเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่มีอยู่ในน้ำนมได้เต็มที่เพียงพอที่ร่างกายจะนำไปสร้างเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะ เซลล์สมองและระบบประสาท สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายเพื่อความสมบรูณ์แข็งแรงของลูก หากต้องการป้อนน้ำให้เพื่อจะได้ช่วยล้างคราบฝ้าขาวบนลิ้น ก็สามารถให้ลูกดื่มได้ โดยให้ครั้งละไม่เกิน 1 ออนซ์ และในหนึ่งวันไม่ควรเกิน 3 ออนซ์ ส่วนเด็กที่ดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียว สามารถให้ลูกดื่มนมแม่แทนน้ำได้โดยไม่ต้องให้น้ำช่วยเสริมแต่อย่างใด เนื่องจากในน้ำนมแม่มีจุลินทรีย์ตามธรรมชาติที่คอยขจัดไม่ให้มีการเกิดฝ้าขาวในปากของลูกอยู่แล้ว แต่หากเด็กบางรายเกิดมีฝ้าขาวที่ลิ้นคุณแม่สามารถใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่น พันนิ้วและนำไปเช็ดที่ลิ้นลูกๆ ก็จะช่วยขจัดฝ้าขาวได้ ไม่ต้องดื่มน้ำช่วยล้างแต่อย่างใด
- เด็กวัย 7-12 เดือน เด็กวัยนี้หากทดลองกินอาหารเสริมแล้วไม่มีอาการแพ้เกิดขึ้นสามารถนำอาหารเสริมมาป้อนให้กินได้ โดยหลังจากป้อนอาหารเสริมแล้ว ตักน้ำป้อนให้ลูกได้เพื่อให้หายฝืดคอครั้งละ1-2 ช้อนชา หลังจากช่วงเวลาอาหารหากลูกมีอาการหิวกระหายน้ำก็สามารถให้ลูกดื่มได้โดยครั้งละไม่เกิน 3 ออนซ์
ลูกกินน้ำมากไปเป็นอันตรายไหม
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ป้อนน้ำให้ลูกมากเกินไป จะส่งผลเสียจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกดังนี้
- เด็กกระเพาะอาหารของลูกยังเล็กมาก การให้ลูกดื่มน้ำตามหลังจากดื่มนมมาแล้วซึ่งจะเกินปริมาณความจุของกระเพาะ ทำให้กระเพาะมีการยืดขยายจนเกิดภาวะกระเพาะคราก ซึ่งนอกจากจะทำให้ลูกมีอาการปวดท้องจากการที่กระเพาะขยายตัวแล้ว ยังทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือมีอาการอื่นๆ ตามมาได้โดยเฉพาะการป้อนนมหรือน้ำมากจนเกินไปนานๆ ก็จะทำให้เด็กมีกระเพาะใหญ่ การกินอาหารก็จะต้องกินครั้งละมากๆ เพื่อให้เต็มกระเพาะจึงทำให้เด็กกลายเป็นโรคเด็กอ้วนได้
- เด็กที่ดื่มน้ำมากเกินไป จะทำให้เด็กอิ่มเร็ว กินอาหารหรือนมได้น้อย จนทำให้น้ำหนักตัวไม่ขึ้นตามเกณท์แล้ว อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ คือเด็กอาจมีภาวะเกลือแร่ในร่างกายเกิดความไม่สมดุลจนส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ อาจทำให้เกิดน้ำเป็นพิษ ซึ่งส่งผลเสียต่อการทำงานของไตที่ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ประกอบกับในวัยเด็กไตของลูกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เด็กปัสสาวะบ่อย จนทำให้น้ำหนักตัวน้อย หรือน้ำหนักลดลงในเด็กบางรายก็อาจจะมีความเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคเบาจืด เนื่องจากไตทำงานผิดปกติ
คำแนะนำการให้ลูกดื่มน้ำ
- เด็กในช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน ยังไม่ต้องให้น้ำเนื่องจากในนมมีน้ำมากพออยู่แล้ว ทั้งนมแม่และนมชง ส่วนเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปป้อนเมื่อถึงวัยต้องป้อนอาหารเสริมก็ควรให้น้ำเล็กน้อย เพื่อให้เกิดความคล่องคอขณะกลืนอาหาร ซึ่งเด็กวัยนี้ก็ยังคงมีการดื่มนม เมื่อดื่มนมในสัดส่วนที่เหมาะสมกับวัยก็จะทำให้ได้รับน้ำเพียงพออยู่แล้ว โดยสามารถวัดปริมาณของได้จากน้ำนมที่เด็กกินในแต่ละวัน หากเด็ก 6 เดือนกินนมครั้งละ 180 ซีซีต่อ 1 มื้อ วันละ 5 มื้อเท่ากับ 900 ซีซีต่อวัน ซึ่งจัดว่าจะทำให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ แต่หากอากาศร้อน ลูกมีเหงื่อมาก หรือลูกมีอาการเป็นไข้ ก็สามารถป้อนน้ำให้ลูกได้อีก ครั้งละ ไม่เกิน 140 ซีซี
- น้ำที่ป้อนให้เด็กต้องเป็นน้ำต้มสุก ที่ปล่อยทิ้งไว้จนเย็นแล้ว ไม่ควรนำน้ำร้อนใส่ขวดแล้วผสมน้ำ เพราะจะทำให้ทดสอบได้ยากว่าน้ำเย็นสนิทหรือไม่ หากน้ำยังอุ่นจนเกินไปอาจทำให้ลวกปาก ลิ้น หรือลำคอเด็กจนพองได้
- ภาชนะที่ใส่น้ำให้ลูกดื่ม ต้องล้างทำความสะอาดใหม่ทุกครั้งที่จะใส่น้ำให้ลูกดื่ม เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนจากน้ำลายของลูกที่ผสมกับน้ำเก่าที่ดื่มไปแล้ว จนทำให้มีโอกาสที่เชื้อโรคขยายเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนทำให้ลูกเจ็บป่วยได้
- ในการเตรียมน้ำให้ลูกดื่มควรงดการผสมกลูโคส เกลือแร่ น้ำหวาน หรือน้ำผึ้งให้ลูก เนื่องจากเมื่อเด็กได้ชิมรสหวานแล้วจะชอบจนติดใจในรสหวาน ทำให้ดื่มนมได้น้อยลง หรือไม่ยอมดื่มนม อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้เด็กมีภาวะเบาหวานในเด็กได้
- ไม่ควรนำยาน้ำแก้ท้องอืดผสมในขวดน้ำให้เด็กกิน นอกจากจะทำให้ตัวยาเจือจางจนด้อยประสิทธิภาพแล้ว ยังจะทำให้น้ำมีรสชาติที่เปลี่ยนไป จนทำให้เด็กบางรายไม่ชอบการดื่มน้ำ อาจทำให้มีผลเมื่อเด็กโตขึ้นได้
การให้เด็กดื่มน้ำในเด็กเล็ก จัดว่าเป็นสิ่งที่ควรห้ามเป็นอย่างมาก เพราะน้ำอาจทำให้เด็กได้รับอันตรายได้ แต่สำหรับเด็กโตน้ำก็ยังมีความสำคัญโดยเฉพาะเด็กวัยที่เข้าโรงเรียนแล้ว หลังจากมีการวิ่งเล่นจนเสียเหงื่อการดื่มน้ำที่ถูกสัดส่วนอย่างเหมาะสมกับวัยก็จะช่วยให้สุขภาพเด็กแข็งแรงได้
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.เชื้อไวรัส hMPV คืออะไร ทำไมลูกน้อยจึงป่วยบ่อย
2.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในเด็กเล็ก วิธีสังเกตและการดูแลเมื่อลูกน้อยป่วย