สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ และคาดว่าจะคลอดลูกที่นั่นเลย ก็คงจะมีคำถามกันใช่ไหมว่าการแจ้งเกิด ต้องแจ้งภายในกี่วัน มีเอกสารอะไรที่ต้องใช้บ้าง และมีขั้นตอนในการแจ้งเกิดอย่างไร ซึ่งวันนี้เราก็มีข้อมูลดีๆ มาฝากคุณแม่กันแล้ว ไปดูกันเลยค่ะ

การแจ้งเกิด ต้องแจ้งภายในกี่วัน

การแจ้งเกิดในกรณีที่มีเด็กเกิดในต่างประเทศ บิดามารดาของเด็กต้องไปแจ้งเกิดต่อสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงศุลไทยในประเทศที่อาศัยอยู่ ซึ่งการแจ้งเกิด ต้องแจ้งภายในกี่วัน ตามกฎหมายไม่ได้มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนเอาไว้ สามารถไปแจ้งเมื่อพร้อมได้เลย โดยหากมารดาของเด็กที่เกิด อาศัยอยู่ในประเทศที่ห่างไกลจากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทย ก็สามารถไปแจ้งเกิดได้เมื่อเวลาเหมาะสม โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด ส่วนบิดามารดาเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่มีสถานเอกอัครทูตหรือสถานกงศุลไทยตั้งอยู่ก็ไม่ต้องแจ้งก็ได้ เมื่อกลับมาไทยก็ค่อยมาแจ้งนั่นเอง

เอกสารที่ต้องใช้

เมื่อรู้กันแล้วว่าการแจ้งเกิด ต้องแจ้งภายในกี่วัน ทีนี้ก็มาเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้งเกิดในต่างประเทศกันเลย โดยมีดังนี้

1. หนังสือรับรองที่ประเทศนั้นๆ ออกให้ ส่วนใหญ่มาจากโรงพยาบาลที่เด็กเกิด ซึ่งอาจจะแปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วก็ได้

2. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดามารดา

3. บัตรประชาชนของผู้แจ้ง

วิธีการแจ้งเกิด

การแจ้งเกิดในต่างประเทศ ผู้ทำหน้าที่แจ้งเกิดจะเป็นบิดา มารดา หรือเพื่อนบ้านที่ได้รับการรู้เห็นว่ามีการเกิดของเด็กเกิดขึ้นจริงก็ได้ โดยเมื่อรู้ว่าแจ้งเกิดภายในกี่วันแล้ว ก็มีขั้นตอนการแจ้งดังนี้

1. ไปติดต่อสถานทูตไทยหรือสถานกงศุลประจำประเทศนั้นๆ เมื่อสถานทูตรับการแจ้งเกิดแล้วจะได้รับสูติบัตรของเด็กเป็นหลักฐานประจำตัวเด็ก ซึ่งต้องดูว่าการแจ้งเกิด ต้องแจ้งภายในกี่วัน และไปแจ้งภายในกำหนด

2. หากประเทศไหนไม่มีสถานทูตหรือสถานกงศุลของไทยตั้งอยู่ บิดามารดาของเด็ก สามารถแจ้งหน่วยงานของประเทศนั้นๆ ที่รับผิดชอบให้ออกหนังสือรับรองการเกิดให้เด็กแทนได้ ส่วนใหญ่จะเป็นโรงพยาบาลที่เด็กคลอดเป็นผู้ออกเอกสารรับรองการเกิดให้เด็ก

3. การแจ้งเกิดผู้มีหน้าที่ไปแจ้งเกิดต้องยื่นคำร้องขอแจ้งเกิดด้วยตัวเอง ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงศุลไทยที่ประจำอยู่ประเทศที่เด็กเกิด บางประเทศอาจต้องทำการนัดหมายล่วงหน้า

เรื่องน่ารู้ กับการแจ้งเกิดในต่างประเทศ

การแจ้งเกิดในต่างประเทศเมื่อดำเนินการตามขั้นตอน และได้สูติบัตรประจำตัวเด็กมาแล้ว ก็มีเรื่องอื่นๆ ที่คุณแม่ต้องรู้และเข้าใจดังนี้

1. เมื่อนำเด็กเข้ามาในประเทศไทยแล้ว บิดามารดาของเด็ก สามารถนำหลักฐานที่ได้มาจากต่างประเทศไปขอเพิ่มชื่อเข้าไปในทะเบียนราษฎร์ ในภูมิลำเนาของบิดามารดาได้เลย

2. ในกรณีที่มารดาของเด็กเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายแล้วคลอดบุตร สามารถไปแจ้งเกิดเพื่อขอรับสูติบัตรของเด็กได้ที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศนั้นๆ

3. การแจ้งเกิด ต้องแจ้งภายในกี่วัน ไม่มีข้อกำหนดแน่ชัด ดังนั้นเด็กที่เกิดในประเทศที่ไม่มีที่ตั้งของสถานเอกอัครราชทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยประจำอยู่ เมื่อกลับประเทศไทย สามารถนำหนังสือที่ได้รับการรับรองการเกิด มาแปลเป็นภาษาไทยแล้วนำไปยื่นที่กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อรับรองคำแปล แล้วจึงนำหลักฐานการเกิดของเด็กที่ผ่านการรับรองการแปลแล้วไปยื่นกับนายทะเบียนประจำอำเภอที่จะนำเด็กเข้าไปเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านของบิดามารดา

4. บิดาหรือมารดาควรมาจดทะเบียนการเกิดเพื่อขอสูติบัตร และหนังสือเดินทางไทยกับทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศนั้น หากบิดามารดาจัดการติดต่อสถานทูตตั้งแต่ประเทศที่เด็กเกิด เพื่อขอรับสูติบัตรและและหนังสือเดินทาง จะสะดวกกว่าการมาแจ้งเกิดในเมืองไทย

5. หากมีมารดาหรือบิดาเป็นคนไทย เด็กจะได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมาย ยกเว้นเด็กที่เกิดจากมารดาเป็นต่างชาติถึงมีบิดาเป็นคนไทยจะไม่ได้ถือสัญชาติไทย แต่ถือสัญชาติตามมารดา

Sponsored

6. เมื่อทำการแจ้งเกิดแล้ว ควรยื่นเอกสารเพื่อทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ให้เด็กไปคราวเดียวกัน และเพื่อความสะดวกเมื่อได้รับสูติบัตรแล้วควรแจ้งชื่อเข้าทะเบียนบ้านทันที และจะได้ทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ด้วยเลย

7. กรณีสูติบัตรฉบับที่ออกให้บิดามารดาสูญหาย สถานเอกอัครราชทูตไม่สามารถออกใหม่ให้ได้เนื่องจากเป็นเอกสารสำคัญออกให้ได้เพียงครั้งเดียว

8. การดำเนินการขอจดทะเบียนสูติบัตรไทยที่ออกโดยสถานเอกอัครราชทูตไทย จะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อบิดามารดาได้นำชื่อเด็กมาเข้าในทะเบียนบ้านในไทยเรียบร้อยแล้ว เพื่อจะได้มีเลขประจำตัว13 หลักและทำบัตรประชาชนเด็กเมื่ออายุครบ 7 ขวบ

9. เด็กที่ได้รับ 2 สัญชาติสามารถใช้ได้ทั้ง 2 สัญชาติไปจนอายุครบ 20 ปี เมื่อถึงวัยที่จะเลือกสัญชาติก็แล้วแต่เด็กจะตัดสินใจว่าจะถือสัญชาติไหน ส่วนเด็กชายจำเป็นต้องเลือกเพียงหนึ่งเดียวเพราะเกี่ยวข้องกับการเป็นทหารเกณฑ์ด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลบางส่วนที่นำมาให้คุณผู้อ่านได้ศึกษาเป็นแนวทาง โดยเฉพาะการแจ้งเกิด ต้องแจ้งภายในกี่วัน ส่วนข้อมูลอย่างละเอียดของแต่ละประเทศอาจจะต้องเข้าไปศึกษา ซึ่งอาจมีข้อปลีกย่อยที่แตกต่างกันบ้าง แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีอะไรที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้จากสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศที่คุณอาศัยอยู่ได้

อ้างอิง thaiembassy.at/th/

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่ https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about growing up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ลูกน้อยเตรียมบิน กับการขึ้นเครื่องบินครั้งแรก...คุณแม่ต้องเตรียมอะไรบ้าง

2.6 สัปดาห์แรกหลังคลอด คุณแม่ห้ามทำอะไรบ้าง