วัยอนุบาล เด็กเล็ก ที่มีพัฒนาการด้านสังคมที่ดี จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การเข้าสังคมของเด็กเล็กจึงเป็นก้าวแรกที่สำคัญที่ลูกน้อยจะต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจในกฎระเบียบ ข้อควรปฏิบัติ และข้อห้ามในการปฏิบัติ คุณแม่ควรเป็นผู้ส่งเสริมพัฒนาความสามารถในการแสดงพฤติกรรมให้เกิดความสอดคล้องกับแบบแผนที่สังคมยอมรับ เพื่อให้ลูกน้อยสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข
วัยอนุบาล กับพัฒนาการด้านสังคม
เด็กอยายุ 3 – 6 ปี เป็นช่วยวัยที่สนใจเรื่องของการเรียนรู้ทางสังคมภายนอกบ้านมากขึ้น เรียนรุ้เกี่ยวกับการสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นเพื่อให้อยู่รอดได้ด้วยตัวเอง พัฒนาการด้านสังคมของเด็กวัยนี้ จึงเป็นพื้นฐานการสร้างบุคลิกภาพที่เหมาะสมต่อไปในอนาคต
ความสำคัญของพัฒนาการทางสังคมของเด็กวัยอนุบาล
เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัยเข้าเรียน เด็กวัยนี้จะมีการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนที่สำคัญ และจำเป็นสำหรับเขา และจะทำให้เด็กเรียนรู้แนวทางการปฏิบัติตัวในสังคมที่ถูกต้อง นั่นก็คือ การปรับตัวให้บุคคลอื่น ๆ ยอมรับ เพื่อให้ลูกสามารถอยู่กับผู้อื่นได้ การเรียนรู้นี้ถือเป็นกระบวนการปรับตัวทางสังคม ที่เด็กเล็กจำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะร่วมมือกับผู้อื่นในลักษณะกลุ่ม รู้จักการเป็นสมาชิกของกลุ่ม รู้จักการปฏิเสธ การรับ การสื่อสาร หรือการใช้ภาษา
โดยส่วนมากแล้วเด็กวัยนี้จะเรียนรู้ผ่านการเล่น ดังนั้น คุณแม่สามารถเสริมสร้างพัฒนาการด้านสังคมให้ลูกน้อยได้ โดยการเล่นหรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับผู้อื่น จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ที่จะลดตัวเองจากการเป็นศูนย์กลาง ไปสู่การปฏิบัติที่ยอมรับคนอื่นมากขึ้น แต่การมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นยังอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ นะคะ คุณแม่จึงจะเห็นว่าพฤติกรรมของลูกมีการแสดงอารมณ์ดี สลับกับอารมณ์ไม่ดีอยู่เช่นนั้น ในการฝึกอบรมลูกรัก คุณแม่จะต้องสอนด้วยความเข้าใจ ด้วยการเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถแนะนำสั่งสอนให้ลูกเข้าใจด้วยความอ่อนโยน ให้ลูกรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของสังคม การจัดกิจกรรมกลุ่ม การชวนเล่นแบบมีข้อตกลง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาการด้านสังคมให้เด็กไปสู่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ พัฒนาการทางสังคมของเด็กวัย 3 – 6 ปี เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพ
กิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของเด็กวัยอนุบาล
1.ฝึกหัดให้ลูกสามารถควบคุมใจตัวเองได้
คุณแม่คงรู้ว่า คนเราจะได้ทุกอย่างที่ต้องการนั้นเป็นไปไม่ได้ ลูกก็เช่นเดียวกัน จะต้องเป็นไปตามขั้นตอนทางสังคม เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ เพราะสังคมมีกฎระเบียบเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตาม เด็กเป็นสมาชิกหนึ่งในสังคม จะต้องมีการเรียนรุ้ที่จะควบคุมความต้องการของตนเอง เช่น ในช่วงที่แม่ทำอาหาร ลูกขอร้องแม่ให้มาเล่านิทาน คุณแม่ควรบอกกับเขาว่า คอยก่อนแม่กำลังทำกับข้าวอยู่ ให้เสร็จก่อนแล้วจะไปเล่าให้ฟัง เมื่อถึงเวลาที่ตกลงกันก็ควรเล่านิทานให้ลูกฟัง เด็กจะเริ่มเรียนรู้ว่า อะไรคืองานมีความสำคัญ และอะไรที่สามารถทำภายหลังได้ ถ้าลูกสามารถรอคอยได้ จะเป็นพื้นฐานเรื่องของความอดทน และการรู้จักเกรงใจผู้อื่นได้เวลาต่อมา
2.ฝึกให้ลูกรู้จักตัวเอง
คุณแม่ควรให้ลูกมีส่วนร่วมกับการทำงานบ้าน เช่น ชวนลุกทำสมุดประวัติตนเอง มีภาพถ่ายของตัวลูกตั้งแต่วัยทารกจนถึงปัจจุบัน ภาพคุณพ่อ คุณแม่ ภาพรวมคนในครอบครัว ให้ลูกได้จัดภาพลงสมุดภาพ แล้วบอกชื่อเล่น ชื่อจริงและนามสกุล ชื่อพ่อ แม่ และบุคคลในภาพ เพื่อให้ภาพสื่อถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวของเด็ก คุณแม่ต้องทำต่อไปเรื่อย ๆ กิจกรรมนี้จะช่วยให้ลูกรู้จักตนเองและความสัมพันธ์ในครอบครัว และเรียนรู้ว่าคนเราต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ไม่มีใครที่จะอยู่ได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องพึงพาอาศัยซึ่งกันและกันถึงจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข
3.ฝึกให้ลูกรู้จักเชื่อฟัง
คุณแม่จะต้องเป็นผู้ที่ลูกเชื่อฟังมากที่สุด เพราะเด็กวัย 3 ขวบ จะมีความเข้าใจในภาษา เมื่อคุณแม่ชี้แนะเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ กติการ และมารยาททางสังคม เพื่อให้เด็กปฏิบัติตัวได้อย่างเป็นระบบ เด็กจะเชื่อฟังผู้ใหญ่เมื่อเขาได้รับการปฏิบัติตามข้อตกลงจริง เด็กจะเกิดความศรัทธา ในขณะเดียวกันผู้ใหญ่ควรให้การเสริมแรง เช่น ยอมรับการปฏิบัติของเด็ก ชมเชยด้วยคำพูด ยิ้ม โอบกอด เมื่อลูกทำตัวดี และเชื่อฟัง
4.ฝึกให้ลูกอยู่ร่วมกับผู้อื่น
การเรียนรรู้ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นของเด็กวัยอนุบาลนั้น ถือเป็นการพัฒนาความต้องการที่จะมีสังคมที่นอกเหนือจากพ่อแม่ การอยู่กับคนอื่นเป็นสิ่งที่ลูกจะต้องเรียนรู้ เพราะอย่างที่บอกว่าคนเราไม่สามารถดำเนินชีวิตเพียงลำพังได้ ดังนั้น ลูกจะต้องสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ และคุณแม่จะต้องส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมด้วยความรัก เช่น การรับประทานอาหารร่วมกัน การสอนให้ลูกรู้จักหยิบของส่งให้คุณแม่ หรือการฝึกให้ลูกรู้จักการเลี้ยงน้อง สิ่งเหล่านี้จะเสริมสร้างพัฒนาการทางสังคมให้ลูกได้รู้จักว่า การอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้น เขาทำกันอย่างไร
5.ฝึกจริยธรรม
ทางด้าน จริยธรรมนั้น ในเบื้องต้นสำหรับเด็ก ถือเป็นการสร้างเสริมทัศนคติต่อคุณธรรม เพื่อให้มีความพร้อมทางด้านจริยธรรมในขั้นสูงต่อไป โดยเริ่มสอนให้เด็กรู้จักกรรมดี – ชั่ว สามารถรู้ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว และรู้ว่าความสุขที่แท้จริง คือความสงบสุ ไม่ดีเกินไป หรือเสียใจมากเกินไป การส่งเสริมให้ลูกรู้จักการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อต่อกัน และการให้ลูกได้เรียนรู้จากตัวแบบทางอ้อม เช่น จากตัวละครนิทาน การแสดงละคร การเล่นบทบาทสมมติ เป็นต้น
การเสริมสร้างพัฒนาการด้านสังคมที่ดี ให้ลูกรู้จักการเข้าสังคมอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขาได้ในอนาคต พัฒนาการทางสังคมที่ดีของลูกน้อยคุณแม่สามารถสร้างได้โดยการเป็นแบบอย่างที่ดีเท่านี้ก็สามารถส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมของลูกได้ง่าย ๆ แล้วค่ะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..