ใครว่าประกันสุขภาพจะต้องทำเฉพาะผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุเท่านั้น ประกันสุขภาพเด็กก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะเด็ก ๆ เป็นวัยที่มักจะเจ็บป่วย และเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย การทำประกันสุขภาพจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่อุ่นใจ เมื่อลูกเจ็บป่วยไข้ ก็จะได้รับการรักษาโดยด่วน ไม่ต้องมาห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษา แถมประกันสุขภาพบางตัวยังไม่ต้องมาสำรองจ่ายอีกด้วย สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมองหาประกันสุขภาพเด็ก แต่ยังไม่รู้จะเลือกซื้อประกันแบบไหนให้กับลูก บทความนี้เรามีวิธีเลือก ประกันเด็ก มาฝาก เพราะประกันสุขภาพสำคัญมากสำหรับเด็ก ๆ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องใส่ใจ และเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก

ประกันเด็ก สำคัญต่อลูกรักอย่างไร

วัยเด็กเป็นวัยที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายค่อนข้างต่ำ ทำให้มีโอกาสเกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ และเมื่อลูกป่วย พ่อแม่ผู้ปกครองก็จำเป็นจะต้องพาไปรักษา และก็มีค่าใช้จ่ายจำนวนไม่น้อย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของครอบครัว เพราะเหตุนี้ ประกันเด็ก จึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะมาแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายในการรักษาได้เป็นอย่างดี เพราะ ประกันชีวิต ของเด็กจะครอบคลุมทั้งค่ารักษา และค่ายา เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการวางแผนป้องกันความเสี่ยงทางการเงินของครอบครัว และเพื่อความสบายใจของพ่อแม่ผู้ปกครอง การทำประกันสุขภาพเด็กจึงมีความสำคัญมาก และควรทำอย่างยิ่งนั่นเอง

หลักการเลือกประกันที่ดีที่สุดให้กับลูก

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่อยากทำ ประกันเด็ก ให้กับลูก แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อประกันอย่างไร วันนี้เรามี หลักการเลือกซื้อประกันสุขภาพสำหรับเด็กมาฝาก หากอ่านโดยละเอียดถี่ถ้วนแล้ว จะทำให้ตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น และได้ประกันที่ดีที่สุดสำหรับลูกแน่นอน

ประเมินความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดกับลูก

ก่อนที่จะเลือกซื้อประกัน คุณพ่อคุณแม่ควรประเมินความเสี่ยงของโลกที่อาจเกิดขึ้นกับลูก เพราะเด็กแต่ละคนนั้นจะมีความเสี่ยงของโลกที่แตกต่างกันออกไปเช่น บางคนมีโรคประจำตัว บางคน อาจอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเป็นต้น

เลือกบริษัทประกันที่มีแผนเหมาะกับลูกมากที่สุด

ควรพิจารณาเลือกบริษัท ประกันชีวิตที่มีแผนเหมาะกับลูก รวมถึงการชำระค่าประกันไม่หนักสำหรับคุณพ่อคุณแม่มากเกินไปในแต่ละปี

ศึกษารายละเอียดและทำสัญญากรมธรรม์

ควรอ่านรายละเอียด และสัญญาของกรมธรรม์ ซึ่งประกันของแต่ละบริษัทนั้นจะมีกรมธรรม์ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสุขภาพ ประวัติการรักษา เช่น บางกรณีมีหมายเหตุไม่คุ้มครองโรคที่เคยรักษามาก่อนหน้านี้เป็นต้น ก่อนทำประกันจึงต้องอ่านอย่างละเอียด

ประเมินงบที่พร้อมจ่าย

ก่อนตัดสินใจว่าจะซื้อ ประกันเด็ก คุณพ่อคุณแม่ลองนำข้อมูลต่าง ๆ ที่วางแผนเอาไว้ทั้งเรื่องสุขภาพของลูก ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และงบประมาณที่ต้องจ่ายในแต่ละปีมาเทียบกับแผนประกันอย่างเหมาะสม โดยให้ดูทั้งเรื่องความคุ้มครอง วงเงิน รวมถึง ความรับผิดชอบส่วนแรก ในบางเงื่อนไข

ตรวจสอบเงื่อนไขต่าง ๆ และข้อยกเว้นในการเคลมประกัน

เพราะแผนประกันสุขภาพเด็กของแต่ละบริษัทนั้นจะแตกต่างกันออกไป จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอ่านรายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ทุกครั้ง โดยให้ดูว่าแต่ละกรมธรรม์มีความคุ้มครองเรื่องใดบ้าง ให้วงเงินเท่าไหร่ และมีเงื่อนไขพิเศษอื่นใดหรือไม่ เมื่อดูรายละเอียดถี่ถ้วนแล้วจะได้ไม่มาถกเถียงกันภายหลัง หรือจะได้ไม่รู้สึกว่าเบี้ยประกันที่จ่ายไม่คุ้มค่า

แนะนำประกันเด็ก บริษัทไหนดีในปี 2023

เมื่อได้ศึกษาเกี่ยวกับรายละเอียดการเลือกซื้อ ประกันเด็ก แล้ว คราวนี้เรามาดูกันว่า ประกันสุขภาพเด็กในปี 2023 มีประกันบริษัทไหนที่น่าสนใจกันบ้าง แต่ก่อนที่จะไปเลือกซื้อเรามาอ่านรายละเอียดของประกันแต่ละตัวก่อนดีกว่าว่าตัวไหนตอบโจทย์ และเหมาะสำหรับลูกของคุณพ่อคุณแม่บ้าง

1.ประกันสุขภาพเด็ก AIA H&S Extra

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมองหาประกันสุขภาพให้กับลูก ประกัน AIA ก็เป็นตัวเลือกที่ดี และตอบโจทย์ เพราะประกันตัวนี้สามารถซื้อได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน ไปจนถึง 99 ปี จ่ายผลประโยชน์ค่ารักษาผู้ป่วยนอกตามจริงสูงสุดถึง 9,000 บาท แต่หากไม่มีการเคลมประกัน ก็จะได้รับผลประโยชน์คืนเงินพิเศษสูงถึง 4,500 บาท เมื่อเจ็บป่วยจะครอบคลุมทั้งค่าห้อง ค่าอาหาร ค่ายา ค่ารักษา ผ่าตัดน้อยใหญ่ ช่วยแบ่งเบาภาระคุณพ่อคุณแม่ในวันที่ลูกน้อยต้องเจ็บป่วย ได้เป็นอย่างดี

2.ประกันสุขภาพเด็ก AXA Insurance iChild Healthy Protection

ประกันสุขภาพจากแบรนด์ AXA ถือเป็นแบบประกันที่ตอบโจทย์คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะมีเบี้ยประกันค่อนข้างสูง แต่ก็ครอบคลุมการรักษา มอบทุนแบบเหมาจ่ายให้สูงสุดถึง 6 ล้านบาท ดูแลผลประโยชน์ในการรักษาในห้องเดี่ยวไม่เกิน 5,200 บาทต่อวัน แถมยังมีค่าชดเชยรายวันสูงถึง 1,000 บาท รวมถึงวงเงินค่ารักษาพยาบาลในฐานะผู้ป่วยนอกปีละไม่เกิน 35,000 บาทต่อปี ตอบโจทย์การรักษาได้เป็นอย่างดี

3.ประกันสุขภาพเด็ก FWD Delight Care

ประกันเด็ก จาก FWD Delight Careเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะให้ความคุ้มครองแบบเหมาจ่ายสูงสุดถึง 1,250,000 บาท / ปี สมัครได้ทันทีเมื่อลูกอายุครบ 1 เดือน 1 วัน แถมยังดูแลกันไปจนถึงอายุ 80 ปี เข้ารักษาทันทีในโรงพยาบาลในเครือไม่ต้องสำรองจ่าย

Sponsored

4.ประกันสุขภาพเด็ก เมืองไทยประกันชีวิต โครงการ ดี คิดส์ พลัส (D Kids Plus)

ประกันสุขภาพเด็กจาก เมืองไทยประกันชีวิต โครงการ ดี คิดส์ พลัส (D Kids Plus)เป็นประกันสุขภาพที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้ลูกตั้งแต่อายุ 30 วัน ไปจนถึง 10 ขวบ คุ้มครองไปจนถึงอายุ 99 ปี เหมาจ่ายในวงเงินเดียวสูงสุดถึง 5 ล้านบาทต่อการรักษา 1 ครั้ง  สามารถปรับเงื่อนไขใหม่ให้ตรงใจได้เมื่อลูกโต ตอบโจทย์มากหากต้องการทำ ประกันชีวิต ให้กับลูก

5.ประกันสุขภาพเด็ก Allianz Ayudhya Max Care

อลิอันซ์ อยุธยา ประกันเด็ก  ที่สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 15 วัน ให้ความคุ้มครองจากอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วยสูงสุด 5 ล้านบาท / ปี ไม่จำกัดจำนวนครั้ง รวมถึงการรักษาค่าพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายสูงจ่ายชดเชยให้สูงสุด 80% ของค่าใช้จ่ายส่วนเกิน ประกัน อลิอันซ์ อยุธยา ถือเป็นอีกหนึ่งประกันชีวิตเด็กที่น่าสนใจมากสำหรับลูก

และนี่คือ ประกันสุขภาพเด็ก ที่น่าสนใจในปี 2023 ที่เราได้รวบรวมมาฝาก ประกันเด็ก  ถือว่ามีความสำคัญมากคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพให้กับลูก ก็อย่าลืมพิจารณาอ่านดูรายละเอียดของกรมธรรม์ให้ดี เลือกที่เหมาะสมกับลูก และเบี้ยประกันที่สามารถจ่ายได้ในแต่ละปี จะได้ไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวนั่นเอง

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่ https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

youtube:KonThong Channel คนท้อง
IG :Team_konthong
Tiktok :Teamkonthonth

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ทำไมต้อง เร่งคลอด มาทำความเข้าใจกับสาเหตุและการเร่งคลอด

2.วิธีเร่งคลอด ความแตกต่างระหว่างเร่งโดยหมอกับเร่งด้วยธรรมชาติ