เมื่อไม่นานมากนี้ เราคงเคยได้ยินข่าวการระบาดของเชื้อ ไวรัสซิก้า ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอย่างหนักในเขต  ลาตินอเมริกา ซึ่งองค์การอนามัยโลกถึงขั้นประกาศให้เป็นสถานการณ์ฉุกเฉิน และรีบดำเนินการจัดการอย่างเร่งด่วน ปัจจุบันนี้ ไวรัสซิก้าก็ยังมีการระบาดอย่างเนื่อง ๆ และพบได้ทั่วโลกไม่เว้น แม้แต่ในประเทศไทย แต่หลังจากการระบาดแล้ว ก็พบว่านอกจากเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต ไวรัสซิก้ายังเกี่ยวข้องกับการแพร่เชื้อจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ และเกี่ยวข้องกับภาวะการมีศีรษะเล็กแต่กำเนิดอีกด้วย

ไวรัสซิก้าคืออะไร ?

อธิบายกันก่อนว่า ไวรัสซิก้า เกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Flavivirus ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับไวรัสไข้เหลือง และไวรัสเดงกี่  รวมทั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบด้วย เกริ่นนำมาขนาดนี้เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็น่าจะพอเดาได้ว่า ไวรัสซิก้าเกิดจากการแพร่เชื้อโดยยุงลายเป็นพาหะ จึงทำให้เกิดการแพร่เชื้อไปได้ทั่วโลกในระยะเวลาไม่นาน

อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสซิก้า

เมื่อได้รับเชื้อไวรัสซิก้าแล้ว จะมีระยะฟักตัวอยู่ที่ 3-7 วัน ในบางคนอาจจะนานถึง 12 วันโดยจะเริ่มมีอาการไข้สูง มีผื่นคันตามร่างกาย รู้สึกปวดตามกระดูกและกล้ามเนื้อ ตาแดง ท้องเสีย คล้ายกับอาการของโรคไข้เลือดออก แต่ยังไม่ถึงแก่ชีวิต หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการจะหายได้เองภายหลังการรักษา 2-7 วัน แต่ถ้าปล่อยไว้ หรือเพิกเฉยด้วยการซื้อยามาทานเอง ก็อาจจะแสดงอาการรุนแรงถึงขั้นการทำงานของสมองมีความผิดปกติ หรือมีการติดเชื้อที่สมองได้ และถ้าหากผู้ได้รับเชื้อ เป็นผู้หญิงที่กำลังมีการตั้งครรภ์อยู่ ก็จะส่งผลถึงระบบพันธุกรรมในทารกที่กำลังจะเกิดมา นั่นก็คืออาจจะทำให้ทารกมีภาวะพิการทางสมอง หรือมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด

ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด จากเชื้อไวรัสซิก้า เป็นอย่างไร ?

การที่ทารกจะมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด ส่วนมากมักจะเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางครั้งที่เกิดจากการที่แม่ได้รับสารกัมมันตภาพรังสี หรือติดเชื้อต่าง ๆ ซึ่งเด็กที่คลอดออกมาจะมีรอบศีรษะเล็กว่าปกติ ซึ่งแพทย์จะทำการวัดอย่างน้อย 2 ครั้ง คือเมื่อแรกเกิด และภายหลังจากคลอดแล้ว 24 ชั่วโมง จึงจะสามารถยืนยันได้ว่า เด็กมีภาวะนี้จริงหรือไม่ ส่วนผลที่จะตามมาภายหลังจากการวินิจฉัยว่าเด็กมีภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิด คือการมีพัฒนาการที่ล่าช้ากว่าปกติ ความผิดปกติเกี่ยวกับการดูด หรือกลืนอาหาร บางรายอาจมีผลถึงแก่ชีวิตได้ในเวลาต่อมา

การรักษา และการป้องกันไวรัสซิก้า

ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือการรักษาโดยเฉพาะสำหรับไวรัสซิก้าแต่อย่างใด ทำได้เพียงแค่รักษาตามอาการเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการดังที่กล่าวมา ก็ควรแจ้งแพทย์เพื่อให้มีการตรวจสอบสารพันธุกรรมหรือเจาะเลือดเพื่อทำการตรวจหาเชื้อเป็นพิเศษ เนื่องจากไวรัสซิก้ามีลักษณะที่คล้ายกับโรคไข้เลือดออกมาก ซึ่งอาจเป็นเหตุให้มีการวินิจฉัยอาการที่ผิดพลาดได้ ในขั้นตอนการรักษานั้นแพทย์จะเน้นในเรื่องของการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น เพราะยาบางชนิด เช่น แอสไพริน หรือยาต้านการอักเสบ อาจทำให้อวัยวะภายในเลือดออกจนเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น และต้องระวังโรคแทรกซ้อนที่อาจจะตามมา

ส่วนการป้องกันการได้รับเชื้อไวรัสซิก้า โดยเฉพาะหญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ มีดังต่อไปนี้

  • ควรสวมใส่เสื้อแขนยาว และขายาวทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัด
  • สามารถใช้โลชั่นทากันยุง หรือจุดยากันยุงไว้ ในสถานที่ ๆ ยุงชุกชุม หากต้องอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ๆ
  • หากอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ควรมีการกลางมุ้งนอนทุกคืน
  • ควรทำลายแหล่งน้ำขัง หรือน้ำนิ่งเน่าเสีย ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  • เมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูง ท้องร่วง มีผื่นคัน ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • หากกำลังจะเดินทางไปต่างประเทศ ควรตรวจสอบก่อนเสมอว่า ขณะนั้นประเทศที่กำลังจะเดินทางไป มีการระบาดของไวรัสซิก้าอยู่หรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสในการได้รับเชื้อมากยิ่งขึ้น
  • คู่สามีภรรยา ทีคาดว่าจะมีการติดเชื้อไวรัสซิก้า ควรชะลอการมีบุตรออกไปก่อน

แนวโน้มการระบาดของไวรัสซิก้าในประเทศไทย

เมื่อปี 2559 ในประเทศไทยมีการตรวจพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสซิก้า จำนวน 7 คน แต่สามารถควบคุมได้ และยังไม่พบการระบาดเพิ่มเติม แต่เนื่องด้วยประเทศไทย มีภูมิอากาศที่ค่อนข้างร้อนชื้น ทำให้ยุงลายสามารถแพร่พันธุ์ได้มาก จึงมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อนี้โดยง่าย ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขจึงประกาศว่า หากมีผู้ติดเชื้อไวรัสซิก้า จะต้องแจ้งความทันทีเพื่อทำการกักตัวไว้ดูอาการ และควบคุมการแพร่ระบาดต่อไป

Sponsored

จะเห็นได้ว่าไวรัสซิก้ามีความน่ากลัวไม่น้อย โดยเฉพาะแม่และทารกในครรภ์ ดังนั้นจึงต้องร่วมมือร่วมใจกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป และป้องกันการถูกยุงกัดเพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อไวรัสซิก้านั่นเอง

ขอขอบคุณที่มา : honestdocs  ,  pidst

ขอบคุณรูปภาพ : sciencemag

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.7 อาหารแก้แพ้ท้อง สยบอาการคลื่นไส้ อาเจียนอย่างได้ผล

2.แพ้ท้องระดับไหน เช็คสิ อาการแพ้ท้องของคุณ รุนแรงหรือไม่