อาการ ลูกท้องอืด สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน ซึ่งอาการท้องอืดเป็นอาการที่ไม่รุนแรงแต่จะทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว ดังนั้นพ่อแม่จึงควรสังเกตุอาการลูกน้อยเป็นประจำ และควรเรียนรู้วิธีบรรเทาอาการในเบื้องต้นไว้ด้วย แต่จะดีกว่าไหมหากทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ ลูกมีอาการท้องอืด เพื่อจะได้ทำการรักษาและป้องกันได้อย่างถูกวิธีนั่นเอง
สาเหตุที่ทำให้ ลูกท้องอืด
อาการท้องอืดที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยนั้น มีสาเหตุมาจากในกระเพาะมีแก๊สมากจนเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจาก ปัจจัยที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ดังต่อไปนี้
1.ดื่มนมที่มีฟองอากาศมากจนเกินไป โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดกับเด็กที่ดื่มนมผง เพราะในขณะชงนมจะมีการเขย่าจนทำให้เกิดฟองอากาศเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดอาการท้องอืดเลยทีเดียว ดังนั้นก่อนให้ลูกดื่มควรพักไว้ก่อนสัก 5 นาทีเพื่อให้ฟองอากาศแตกตัวหมดก่อน
2.ร้องไห้เป็นเวลานานๆ เมื่อลูกน้อยร้องไห้นานเกินไป จะเกิดการกลืนอากาศเข้าไปในท้องมากด้วย เป็นผลให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้องตามมานั่นเอง
3.ดื่มนมเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการดื่มนมจากเต้า หรือดื่มนมจากขวด ทำให้ในขณะที่ลูกกลืนนม มีการกลืนอากาศเข้าไปด้วยเช่นกัน จึงทำให้ท้องอืดได้ในที่สุด
อาการแบบไหนที่ควรพบแพทย์ด่วน
อาการท้องอืดในลูกน้อย มักเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และไม่มีอาการรุนแรงสามารถรักษาได้ แต่ในบางรายเด็กบางคนที่มีอาการท้องอืดบ่อยๆ เนื่องจากเกิดการสะสมของแก๊สในกระเพาะเป็นจำนวนมาก ก็อาจถึงขั้นอันตรายได้เช่นกัน ดังนั้นจึงต้องสังเกตอาการของลูกให้ดี ซึ่งอาการท้องอืดของลูกน้อยที่ต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน ก็มีดังนี้
- อาเจียน เพราะการอาเจียนบ่อยอาจทำให้ลูกขาดน้ำได้
- อุจจาระเป็นเลือดหรือมีมูกเลือดปนออกมา
- ถ่ายไม่ออก มีอาการท้องผูกอย่างรุนแรง
- ร้องไห้ไม่หยุดเป็นเวลานานไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง บ่งบอกถึงความไม่สบายตัวอย่างหนัก
- มีไข้สูง โดยเฉพาะในทารกที่มีอายุต่ำกว่า 3 เดือน ไม่ควรชะล่าใจเด็ดขาด
ป้องกันลูกน้อยท้องอืดได้อย่างไร
วิธีป้องกันไม่ให้ลูกน้อย มีอาการท้องอืดทำได้ง่ายๆ คือหลีกเลี่ยงการกินอาหาร ที่อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร และพยายามไม่ให้ลูกกลืนอากาศเข้าไปจำนวนมากๆ ซึ่งเราก็มีคำแนะนำในการป้องกันลูกน้อยท้องอืดมาบอกกันดังนี้
1.ให้ลูกน้อยกินนมแค่พอดีไม่อิ่มจนเกินไป เพราะการกินนมมากเกิน จะทำให้ลูกแน่นท้องและท้องอืดในที่สุด
2.ในขณะที่ลูกน้อยกำลังกินนม คุณแม่ควรจัดท่าลูกน้อยให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม โดยการยกศีรษะให้สูงกว่าลำตัวเล็กน้อย จะช่วยป้องกันอาการท้องอืดได้เป็นอย่างดี
3.หากลูกน้อยกินนมจากขวด ควรยกขวดนมให้สูง เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศไหลผ่านช่องว่างที่บริเวณจุกนม หากเป็นไปได้ ควรเลือกใช้ขวดนมที่มีการออกแบบพิเศษ เพื่อให้ลูกน้อยกลืนอากาศเข้าไปได้น้อยที่สุด
4.เมื่อลูกน้อยหย่านมแล้ว พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง ไม่ให้ลูกน้อยรับประทานอาหารที่จะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เช่น ข้าวโอ๊ต กะหล่ำปลี ถั่วต่างๆ ส่วนคุณแม่ที่กำลังให้นมบุตรอยู่ ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารเหล่านี้ด้วย เพราะจะทำให้แก๊สผ่านออกมาทางน้ำนมไปสู่ลูกได้เช่นกัน
เพราะฉะนั้นแล้ว พ่อแม่จึงควรสังเกตุความผิดปกติของลูกบ่อยๆ หากลูกมีอาการผิดปกติควรรีบพาพบแพทย์ทันทีเพราะอาจเป็นสัญญาณบอกว่าระบบย่อยอาหารของลูกน้อย อาจกำลังมีปัญหาอยู่ก็ได้ ดังนั้นแล้วพ่อแม่อย่าละเลยในอาการเล็กๆน้อยๆของลูกเป็นอันขาด นั่นก็เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกนั่นเอง
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.เสื้อผ้าเด็กแรกเกิด ควรเลือกแบบสายผูก หรือแบบกระดุมดีกว่ากัน