อาการตกขาวในคุณแม่ตั้งครรภ์อ่อนๆ มักจะเกิดขึ้นได้ โดยจะมีลักษณะของตกขาวที่มีตั้งแต่สีขาวขุ่น สีเหลือง สีชมพู สีน้ำตาลและในบางครั้งอาจจะมีสีน้ำตาลเข้ม ซึ่งคุณแม่ที่มีอาการตกขาวสีน้ำตาลนั้น จะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ วันนี้เราจะมาตอบคำถามให้คุณแม่ได้หายสงสัยกันค่ะ

ตกขาวสีน้ำตาล เกิดจากอะไร

อาการตกขาวระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งมีตกขาวสีขาวปนน้ำตาล จะเกิดขึ้นได้ในระยะตั้งครรภ์แรกๆ ช่วง 1-3 เดือน เนื่องจากเยื่อบุผนังมดลูกลอกตัวจนทำให้มีตกขาวสีน้ำตาลปนเลือดออกมา ในบางรายอาจจะเกิดจากเลือดเก่าที่แห้งแล้วเกาะอยู่ตามผนังช่องคลอด ซึ่งการที่มีเลือดออกแบบนี้แสดงให้เห็นว่าในช่องคลอดมีเลือดออกมาค้างอยู่ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติ ตามธรรมชาติในช่วงไตรมาสแรกคุณแม่ไม่ควรจะมีเลือดออกมา หากอาการแบบนี้จะทำให้มีโอกาสแท้งลูกได้สูง

ตั้งครรภ์อ่อนๆ มีตกขาวสีน้ำตาลอันตรายมั้ย

การที่คุณแม่มีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาจมีโอกาสทำให้เสี่ยงต่อการแท้งบุตรได้สูงหากเลือดที่ออกมาเป็นเลือดสด หรือเลือดใหม่ แต่ถ้าพบว่าเลือดที่ออกมานั้นเป็นสีน้ำตาลอาจจะเป็นไปได้ว่าเลือดเก่าที่เคยออกมาแล้วค้างอยู่ตามผนังทำคลอด เมื่อมีตกขาวออกมาจึงทำให้เลือดที่ค้างไหลออกมาได้ จึงทำให้มีตกขาวเป็นสีน้ำตาลทซึ่งจัดว่าเป็นเรื่องผิดปกติสำหรับคนตั้งครรภ์ช่วง 3 เดือนแรกซึ่งไม่ควรมีเลือดออกมา เพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้แท้งลูกได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีความเสี่ยงต่อการแท้งอยู่แล้ว หรือในรายที่มีการกระทบกระเทือนต่อการตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินหกล้มก้นกระแทก ก็ล้วนแต่ที่จะส่งเสริมให้เกิดความผิดปกติ และทำให้มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ หรือมีตกขาวสีน้ำตาลได้ ส่วนการจะดูว่ามีอันตรายหรือไม่ต้องดูจากสีของเลือดที่ออกมา หากเป็นเลือดสีแดงสดต้องควรรีบไปพบแพทย์ทันที ส่วนคุณแม่ที่มีเลือดปนตกขาวออกมาสีน้ำตาลอาจจะเป็นเลือดค้างที่ค่อยๆ ไหลออกมามีผลมาจากการบีบรัดตัวของมดลูก หรือปัญหารกเกาะต่ำ หรือจากการมีเพศสัมพันธ์ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดออกมาได้เช่นกัน

แบบไหนที่เสี่ยง ภาวะแท้งคุกคาม

ภาวะแท้งคุกคามจึงมักจะเกิดได้ในขณะตั้งครรภ์อ่อนในช่วงอายุครรภ์ก่อน 20 สัปดาห์ โดยจะมีอาการเตือนว่าเสี่ยงต่อภาวะแท้งในนั้นคุณแม่จะมีเลือดออกจากมดลูกทั้งที่ปากมดลูกยังปิดอยู่ โดยปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด

1.อายุคุณแม่ตั้งครรภ์มากกว่า 40 ปี

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก จะมีความเสี่ยงต่อการแท้งคุกคามได้สูง จึงต้องระมัดระวังมากกว่าคุณแม่ที่มีอายุน้อยกว่า

2.มีประวัติเคยแท้งเองมาก่อน

คุณแม่ที่มีเคยมีประวัติมาก่อนจะพบว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะแท้งครั้งต่อไปได้

3.สูบบุหรี่ดื่มสุราหรือใช้สารเสพติด

คุณแม่ที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือใช้สารเสพติดมีความเสี่ยงต่อการแท้งได้สูง

4.ใช้ยาบางชนิดการใช้ยาในกลุ่ม nsaid

ซึ่งเป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งสาร prostaglandin  ทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ และเกิดภาวะแท้งได้

5.ความพิการของทารกแต่กำเนิด

อาจจะเกิดจากโครโมโซมตนเอง หรือปัจจัยภายนอก เช่น ได้รับสารเคมี ยา หรือเกิดจากการที่คุณแม่ติดเชื้อ จึงทำให้ทารกพิการ

6.ท้องลม

เป็นความผิดปกติของการตั้งครรภ์ จนทำให้แท้งลูก มักจะเกิดในช่วงเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ และพบว่าตั้งครรภ์จะเกิดในในโพรงมดลูกแต่ไม่มีตัวทารกอยู่ในถุง

7.ความผิดปกติของมดลูก

Sponsored

แม่มีมดลูกเป็นปกติแต่กำเนิด หรืออาจจะมีเนื้องอกหรือพังผืดในมดลูก เป็นสาเหตุทำให้การบีบรัดตัวของมดลูกผิดปกติ

8.ความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีผลต่อการฝังตัว

ในคุณแม่ที่ขาดฮอร์โมนอาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่หนาพอที่จะได้รับการฝังตัวของตัวอ่อน จึงทำให้เกิดภาวะแท้งคุกคามได้

9.คุณแม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง

อาการป่วยของคุณแม่ที่มีโรคประจำตัวและไม่สามารถควบคุมอาการได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน  โรคเอสแอลอี และโรคอ้วน

วิธีป้องกันภาวะแท้งคุกคาม

ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการแท้งได้ แต่คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงภาวะแท้งคุกคามได้ โดยการเข้าพบแพทย์ทันทีเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ เพื่อจะได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องไปปฏิบัติโดยมีวิธีดังนี้

1.หลีกเลี่ยงจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สารเสพติด และสัมผัสสารเคมีที่เป็นอันตราย

2.หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจจะกระทบต่อทารกในครรภ์และสุขภาพของคุณแม่

3.ควรได้รับวิตามินที่จำเป็นต่อการตั้งครรภ์ เช่น กรดโฟลิกตั้งแต่เนิ่นๆ และกินอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การตั้งครรภ์อ่อนๆ ตามที่แพทย์สั่ง

4.หากป่วยติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส ควรรีบรักษาให้หาย

5.คุณแม่ตั้งครรภ์ควรออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอตามแพทย์แนะนำ

คุณแม่ที่มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ สามารถปรึกษาแพทย์ที่ทำการฝากครรภ์ได้ทุกเรื่อง เพื่อจะได้คลายข้อกังวลเกี่ยวกับอาการผิดปกติ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดระยะเวลาของการตั้งครรภ์ ทั้งนี้การที่คุณแม่ได้ศึกษาข้อมูลจากบทความนี้ก็พอจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนเองให้ลดความเสี่ยงในความผิดปกติของการตั้งครรภ์ลงได้

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตั้งครรภ์น้ำหนักลด ในช่วงไตรมาสแรก ผิดปกติหรือไม่

2.รีวิว 7 แอพคนท้อง ที่คุณแม่ควรมี เพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพ