ธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่หลายคนคงจะเคยได้ยินและอาจจะรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์และเริ่มมีการฝากครรภ์ คุณหมอมักจะมีการตรวจหา พาหะธาลัสซีเมีย เนื่องจากเป็นโรคที่ค่อนข้างเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ เพราะหากคุณแม่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น ลูกเกิดมาเป็นพาหะหรือบางรายก็เป็นโรคธาลัสซีเมียโดยตรง จึงจำเป็นต้องตรวจโรคทั้งพ่อและแม่ ทีนี้เรามาดูกันว่าลูกจะมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ด้วยหรือไม่หากพ่อหรือแม่เป็นโรค
พาหะธาลัสซีเมีย คืออะไร
พาหะธาลัสซีเมีย เป็นโรคเลือดที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติในการผลิตฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง ฉะนั้นเมื่อเม็ดเลือดแดงขาดฮีโมโกลบินจึงทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดโรค ธาลัสซีเมียหรือในบางรายที่ไม่รุนแรงก็อาจจะเป็นเพียง พาหะธาลัสซีเมียซึ่งคนที่ป่วยเป็นโรคนี้โดยส่วนใหญ่มีสุขภาพร่างกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรงเหมือนคนทั่วไป หรือร่างกายมีความอ่อนแอบ่อย ๆ นั่นเอง
แม่เป็นพาหะ ลูกเสี่ยงเป็นด้วยไหม
ในกรณีที่แม่ได้มีการตรวจพบเป็น พาหะธาลัสซีเมีย ลูกที่อยู่ในครรภ์จะมีความเสี่ยงเป็นด้วยหรือไม่นั้น ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนเลยว่า ต้องดูจากองค์ประกอบหลาย ๆ ปัจจัย เกี่ยวกับพันธุกรรมของพ่อและแม่ เช่น พ่อและแม่ทั้งสองคนเป็น พาหะธาลัสซีเมีย หรือคนใดคนหนึ่งเป็นโรคนี้โดยตรงอยู่แล้ว ความเป็นไปได้หรือโอกาสที่ลูกในครรภ์จะได้รับพันธุกรรมและโรคมีดังนี้
- โอกาสที่จะเป็นโรคธาลัสซีเมียอยู่ที่ 25%
- โอกาสที่ทารกไม่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรค และไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอยู่ที่ 25%
- โอกาสที่ทารกจะได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรม พาหะธาลัสซีเมีย แต่ไม่เป็นโรคอยู่ที่ 50%
แต่อย่างไรก็ตามนี่อาจจะเป็นการวินิจฉัยความเสี่ยงของการเกิดโรคโดยคร่าว ๆ เพราะหากตรวจพบพาหะของโรคจริง ๆ อาจจะต้องวินิจฉัยจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างร่วมด้วย เพื่อความแม่นยำในการตรวจโรค
ตรวจหาโรคนี้ได้อย่างไร
พาหะธาลัสซีเมียสามารถตรวจหาโรคได้ 2 แบบด้วยกัน โดยเริ่มแรกแพทย์จะสอบถามถึงโรคประจำตัวก่อน หากมีประวัติของโรคก็จะมีการตรวจด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1.ตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน
สำหรับการตรวจชนิดของฮีโมโกลบินนั้นจะเป็นการเช็คความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดงว่ามีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด โดยการดูจากระดับของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และมีฮีโมโกลบินชนิดใดบ้างที่หายไป เนื่องจากฮีโมโกลบินสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิดหลัก ๆ ก็คือ อัลฟา และเบต้า ซึ่งโรคธาลัสซีเมียก็สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดด้วยเช่นกันตามชนิดของฮีโมโกลบินที่ร่างกายผลิตไม่ได้
2.ตรวจดีเอ็นเอ
การตรวจดีเอ็นเอ เป็นการตรวจหา พาหะธาลัสซีเมีย ที่มีความเฉพาะเจาะจง ซึ่งใช้เวลาในการตรวจที่นานกว่า และมีผลที่แม่นยำกว่า เนื่องจากการตรวจดีเอ็นเอเป็นการตรวจทางพันธุกรรมโดยตรง ทำให้สามารถตรวจได้อย่างละเอียดกว่าแต่ก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายในการตรวจที่แพงกว่าด้วยเช่นกัน สำหรับใครที่กังวลหรือมีอาการที่เด่นชัดว่ามีความเสี่ยงสูงก็อาจจะเลือกตรวจด้วยวิธีนี้
ป้องกันลูกเป็นธาลัสซีเมียได้หรือไม่
พาหะธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยมีความรุนแรงอยู่ที่ 3 ระดับด้วยกัน คือ
- กลุ่มที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อยที่สุด
- กลุ่มที่แสดงอาการปานกลาง
- กลุ่มที่มีอาการรุนแรง กลุ่มนี้จะมีการแสดงอาการตั้งแต่เด็ก
หากถามว่าเราสามารถป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคนี้ได้หรือไม่ ป้องกันได้โดยการวางแผนการตั้งครรภ์ก่อน โดยกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายการป้องกันความพิการตั้งแต่กำเนิด โดยการให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีการตรวจคัดกรองโรคก่อนเพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้ลูกเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง โดยคุณแม่ที่พบว่าเป็นพาหะระหว่างตั้งครรภ์จะได้รับสารโฟเลต 6 สัปดาห์ ก่อนการตั้งครรภ์ พร้อมกับมีการทำแผนการดูแลรักษาหากมีความเสี่ยงพิการตั้งแต่กำเนิด แต่ในกรณีที่แม่เป็นพาหะและไม่ได้มีอาการที่รุนแรงและพ่อไม่ได้เป็นพาหระหรือไม่ได้เป็นโรคลูกก็อาจจะไม่มีความเสี่ยง ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยการทานยาตามที่หมอแนะนำ แต่ในกรณีที่พ่อและแม่ทั้งสองคนตรวจพบโรคชนิดรุนแรงหากยังไม่มีการตั้งครรภ์ก็อาจจะหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะตาม ซึ่งความเสี่ยงที่พูดถึงก็คือทารกเมื่อคลอดออกมาอาจจะถึงขั้นพิการหรือมีโอกาสเสียชีวิตได้นั่นเอง หรือนอกจากนี้ก็อาจจะมีความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์สูงมากเช่น ครรภ์เป็นพิษ ทารกมีภาวะซีด หรือหากคลอดออกมาแล้วในช่วงแรกอาจจะดูปกติแต่เมื่อผ่านไปปีกว่า ๆ เด็กอาจมีรูปร่างผิดรูปได้เช่น จมูกบาน ท้องโต ตับม้ามโตผิดปกติ และติดเชื้อง่าย
ก็ได้รู้กันไปแล้วว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และลูกจะมีความเสี่ยงหรือไม่ ดังนั้นการตรวจหาโรคจึงยังคงมีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพ่อแม่ที่กำลังมีการวางแผนการตั้งครรภ์ เพื่อที่คุณหมอจะได้ประเมินความเสี่ยง และจะได้สามารถป้องกันการความเสี่ยงต่อลูกในครรภ์ได้อย่างท่วงทันอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามหากพ่อหรือแม่มีการตรวจพบโรคก็ไม่ควรกังวลจนเกินไป เพราะสามารถรักษาและดูแล
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..