การอาบน้ำให้ทารกแรกเกิดมีความจำเป็นต้องอาบทุกวันหรือไม่ โดยปกติแล้วเมื่ออยู่โรงพยาบาลจะมีพยาบาลมาอาบน้ำให้ลูกในช่วง 2-3 วันแรก ครั้นเมื่อออกจากโรงพยาบาลกลับมาบ้าน คุณแม่จำเป็นต้องอาบน้ำให้ลูกเอง หากเป็นคุณแม่มือใหม่ก็อาจจะเป็นเรื่องยากอยู่บ้าง จนบางครั้งมีคุณแม่บางคน ไม่อยากอาบน้ำให้ลูก เนื่องจากการอุ้มยังไม่ถนัด กลัวว่าจะทำให้ลูกตกน้ำ และเกิดเป็นข้อสงสัยขึ้นมาว่า จำเป็นต้องอาบน้ําทารกแรกเกิดทุกวันหรือไม่? วันนี้เราจึงมีคำตอบมาฝากกันแล้ว

อาบน้ําทารกแรกเกิด ต้องอาบทุกวันไหม

แท้จริงแล้วการอาบน้ำให้ทารกแรกเกิด ไม่จำเป็นต้องอาบให้ลูกทุกวัน โดยเฉพาะในช่วงอากาศเย็นคุณแม่สามารถทำความสะอาดให้ลูก โดยการเช็ดตัวทำความสะอาดใบหน้า ดวงตา รวมถึงบริเวณที่อับชื้น แทนการอาบน้ำก็ได้ หากจำเป็นต้องอาบน้ำก็ควรอาบให้ลูก 1 ถึง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือหากอากาศร้อนอบอ้าว ก็อาจเพิ่มขึ้นเป็น 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ก็ได้ ซึ่งการอาบน้ำบ่อยครั้งเกินไปอาจทำให้ผิวของลูกน้อยมีอาการผิวแห้ง ผิวแตก จนทำให้ผิวหนังอักเสบได้ง่ายเช่นกัน

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนอาบน้ำลูก

ก่อนอาบน้ําทารกแรกเกิดทุกครั้ง คุณแม่ต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ซึ่งมีดังนี้

1. อ่างอาบน้ำขนาดพอเหมาะกับตัวเด็กไม่ใหญ่จนเกินไป

2. อ่างอาบน้ำใบเล็กสำหรับสระผม

3. แผ่นยางปูกันลื่น หรือที่รองอาบน้ำเด็ก

4. ผ้าขนหนูสำหรับเช็ดตัว

5. ผ้าขนหนูผืนเล็กสำหรับเช็ดผม

6. สำลีสำหรับทำความสะอาดดวงตา

7. สบู่ก้อน หรือสบู่เหลวก็ได้

8. แชมพูสระผมสำหรับเด็ก

9. ฟองน้ำสำหรับอาบน้ำ

Sponsored

10. เสื้อผ้าและผ้าอ้อมที่จะสวมให้ลูกหลังอาบน้ำเสร็จ

11. เทอร์โมมิเตอร์ไว้สำหรับวัดอุณหภูมิของน้ำ

12. เบบี้ออยกรณีเด็กผิวแห้งมาก ให้หยดใส่ในน้ำให้ลูก

13. อุปกรณ์อื่นๆ เช่น หมวกอาบน้ำทารก

ขั้นตอนการ อาบน้ําทารกแรกเกิด

เมื่อถึงเวลาอาบน้ำให้ลูก สิ่งสำคัญที่สุดคือตัวคุณแม่ต้องสะอาด โดยการล้างมือฟอกสบู่ มาจนถึงบริเวณข้อศอกและซับให้แห้งทุกครั้ง คุณแม่ต้องตัดเล็บให้สั้น และตะไบเพื่อลบความคมก่อนที่จะอุ้มลูกมาอาบน้ำ เพราะหากเล็บมือของคุณแม่มีความคม อาจจะขีดข่วนถูกผิวอันบอบบางของลูกน้อยให้เป็นแผลได้ หลังจากนั้นลงมืออาบน้ําทารกแรกเกิดตามขั้นตอนดังนี้

  1. ผสมน้ำอุ่นไว้ในอ่างอาบน้ำให้ลูก ซึ่งคุณแม่จะต้องทดสอบอุณหภูมิของน้ำโดยการเอาหลังมือ หรือข้อศอกสัมผัสดูให้อุ่นขนาดกำลังดี แต่หากคุณแม่ไม่มั่นใจการทดสอบอุณหภูมิน้ำด้วยตัวเอง ก็ให้ใช้เทอร์โมมิเตอร์มาวัดเพื่อจะได้มั่นใจว่าน้ำมีอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการอาบน้ำให้ลูก โดยอุณหภูมิจะต้องอยู่ในระดับประมาณ 36-37 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นความอุ่นกำลังดี
  2. วิธีอาบน้ําทารก ให้ห่อตัวลูกด้วยผ้าขนหนู โดยเก็บแขนให้แนบลำตัวทั้งสองข้าง หลังจากนั้นอุ้มลูกแบบหนีบด้วยแขนข้างซ้าย
  3. หลังจากนั้นก็เริ่มเช็ดใบหน้าให้ลูก โดยใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่อุ่นดีแล้วแล้วเช็ดบริเวณหัวตา ไปยังหางตาโดยใช้สำลีเช็ดก้อนละ 1 ข้าง ใช้แล้วทิ้ง รวมถึงการเช็ดใบหูทีละข้างด้วย หลังจากเช็ดเสร็จแล้วต้องทิ้งสำลีทันทีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
  4. ใช้ฟองน้ำหรือผ้าขนหนูนุ่มๆ ชุบน้ำอุ่นที่เตรียมไว้บีบหมาด แล้วมาเช็ดให้ทั่วใบหน้า รวมถึงมุมปาก จมูก ซอกหู และซอกหูด้วย เมื่ออาบน้ำทั่วตัวแล้วใช้สบู่มาฟอกถูตัวให้ลูกให้ทั่วตั้งแต่ซอกคอ ข้อพับ รักแร้ ขาหนีบและง่ามมือ ง่ามเท้าทั้งสองข้าง รวมถึงบริเวณก้นและด้านหลังด้วย แล้วล้างฟองออกให้หมด หลังจากนั้นนำลูกมาห่อผ้าเช็ดตัวเพื่อให้ลูกไม่หนาวจนเกินไป
  5. การสระผมให้ทารกสามารถทำได้โดยการอุ้มลูกมาหนีบไว้ข้างลำตัว โดยใช้มือซ้ายหนีบลำตัว หลังจากนั้นใช้นิ้วมือแม่มือและนิ้วนางของมือซ้ายช่วยกดใบหู ให้ปิดรูหูเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหู แล้วจึงใช้มือข้างขวากวักน้ำมาใส่ผมให้เปียก แล้วหยดแชมพูสำหรับทารกถูให้ทั่วศีรษะจนเกิดฟอง ใช้นิ้วคลึงเบาๆ จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดโดยการใช้ฟองน้ำชุบน้ำและมาบีบรดไปที่ศีรษะของลูกน้อยจนหมดฟองแชมพู แล้วจึงเอาผ้าขนหนูนุ่มๆ มาเช็ดผมให้ลูก ทั้งนี้ควรสระผมก่อนที่จะอาบน้ำ เพื่อช่วยให้ลูกไม่หนาวจนเกินไป
  6. หากศีรษะของลูกมีคราบไขมันเกาะ ให้ใช้น้ำมันมะกอกทาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีก็จะทำให้คราบไขมันจุดด่างบนศีรษะเด็กอ่อนตัวลงได้ หลังจากนั้นจึงเช็ดออก
  7. เมื่ออาบน้ําทารกแรกเกิดเสร็จแล้วให้เช็ดตัวให้แห้งและทำความสะอาดบริเวณสะดือด้วยการใช้ก้านสำลี เช็ดจากโคนสะดือขึ้นไปหาส่วนปลาย ขณะเช็ดให้จับปลายสะดือดึงขึ้นมาเล็กน้อย จะทำให้มองเห็นโคนสะดือได้ชัดเจน คุณแม่จะได้สำรวจด้วยว่าสะดือของลูกมีการอักเสบ หรือมีเลือดซึมหรือไม่ เมื่อเช็ดทำความสะอาดแล้วก็ปล่อยให้แห้ง ซึ่งสะดือของลูกจะหลุดได้ภายใน 7-14 วันหากไม่มีการอักเสบเพิ่ม

ส่วนบริเวณอื่นๆ ของลูกเช็ดให้แห้ง ไม่ควรทาแป้ง บริเวณสะดือ หากจำเป็นจะต้องทา ให้ใช้แป้งสำหรับเด็กโดยเทใส่ฝ่ามือแล้วลูบเบาๆ ที่ตัวลูกเพื่อป้องกันฝุ่นของแป้งฝุ่นฟุ้งเป็นละอองจนเข้าจมูกและปอดได้นั่นเอง เห็นไหมว่าการอาบน้ําทารกแรกเกิดนั้นไม่ยากเลย

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ลูกตายคาท้อง เพราะพยาบาลไม่ใส่ใจ แม่สลด!! ร้องขอความเป็นธรรม

2.เตือนภัย!! ลูกเกือบตาย เพราะอันตรายใกล้ตัวที่คุณแม่ไม่ทันคาดคิด