น้ำหนักตัวเป็นค่าๆ หนึ่งที่ บ่งบอกการเจริญเติบโตของลูกน้อย เพื่อให้รู้ว่าลูกน้อยเจริญเติบโตสมวัยหรือไม่ ดังนั้นเมื่อน้ำหนักลูกน้อยหรือต่ำกว่าเกณฑ์ อาจทำให้พ่อแม่รู้สึกกังวล เพราะน้ำหนักนั้นไม่เพียงแต่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก แต่ยังบ่งบอกโอกาสเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดโรคได้อีกด้วย

น้ำหนักลูกน้อย นี่คือสาเหตุ

พ่อแม่ควรหมั่นตรวจสอบให้น้ำหนักของเด็ก อยู่ในเกณฑ์มาตราฐานอยู่เสมอ โดยเด็กแรกเกิดนั้นจะมีน้ำหนักประมาณ 3 กิโลกรัม ส่วนเด็กอายุ1ปีขี้นไปจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 3 เท่าจากน้ำหนักแรกเกิดหรือประมาณ 9 กิโลกรัม สำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 4 เท่าจากน้ำหนักแรกเกิดหรือประมาณ 12 กิโลกรัม และเมื่อเด็กมีอายุ 2-5 ปีขึ้นไปจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 2.5 กิโลกรัมต่อปี โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำหนักลูกน้อย มักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

1.พันธุกรรม

เด็กที่มีพ่อแม่ตัวเล็ก ย่อมทำให้โอกาสที่ลูกจะมีน้ำหนักน้อย หรือตัวเล็กเหมือนกับพ่อแม่ และพ่อแม่ที่ตัวใหญ่ ลูกก็มักจะตัวโตตามด้วยเช่นกัน

2.ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

เด็กหลายคนกินอาหารน้อย หรือเลือกกินเฉพาะอาหารที่ตนเองชอบ ทำให้ขาดสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโต ดังนั้นจำเป็นที่พ่อแม่ต้องเลือกอาหารให้เหมาะสมตามแต่ละวัยของเด็ก โดยเฉพาะเมื่อเด็กเริ่มกินอาหารเสริมได้ ควรให้เด็กได้ลองกินอาหารที่หลากหลาย ไม่ควรตามใจโดยเด็กกินแต่ขนม หรือนม เพราะจะส่งผลเมื่อเด็กโตขึ้นก็จะเลือกกิน และน้ำหนักลูกน้อยกว่าเกณฑ์ได้

3.พักผ่อนไม่เพียงพอ

การนอนน้อยของเด็กส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเด็ก ทำให้เด็กมีน้ำหนักน้อยได้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอยังส่งผลต่อความสูงของเด็กในระยะยาว ทำให้เด็กคนนั้นไม่ค่อยสูงอีกด้วย

4.ความเจ็บป่วย

โรคบางโรค ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูก เช่นโรคที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิด อย่างโรคหัวใจ หรือปัญหาความพิการตั้งแต่กำเนิด ก็ส่งผลให้น้ำหนักลูกน้อยและเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กปกติทั่วไป

ทำอย่างไรเมื่อน้ำหนักลูกน้อย

เมื่อเด็กมีน้ำหนักน้อย มีวิธีช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ลูกน้อยดังต่อไปนี้

1. ปรับพฤติกรรมการกินอาหารของเด็ก

ลูกที่อยู่ในวัยทารก คุณแม่ควรให้ลูกได้กินนมอย่างเพียงพอ ซึ่งดูได้จากปัสสาวะในแต่ละวัน ถ้าลูกปัสสาวะ 6ครั้งในแต่ละวัน ถือว่าลูกได้รับนมเพียงพอ สำหรับเด็กที่เริ่มกินข้าวได้ คุณแม่สามารถให้ลูกกินได้บ่อยๆ โดยแบ่งอาหารเป็นมื้อย่อยๆ เพื่อช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ลูก และที่สำคัญเด็กที่อายุตั้งแต่1ปีขึ้นไป ให้จัดนมเป็นเพียงอาหารเสริม เพราะถ้าลูกกินนมมากเกินไปก็จะกินข้าวได้น้อย ส่วนเด็กโต คุณแม่อาจเน้นอาหารที่ให้พลังงาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มน้ำหนักลูกได้ดี เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ชีส เนย น้ำมัน เป็นต้น

2. พาไปออกกำลังกาย

เด็กในวัยกำลังเติบโตควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 60 นาที โดยเมื่อเด็กได้ใช้พลังงานเยอะๆ ก็จะหิว จึงอยากอาหารและทำให้กินอาหารได้มากขึ้น สำหรับกิจกรรมที่แนะนำคือ กิจกรรมกลางแจ้ง เช่น วิ่งเล่นในสนามหญ้า การเล่นเครื่องเล่นในสนาม ขี่จักรยาน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้เด็กรู้สึกสนุก และไม่เบื่อเลย

3. ให้นอนหลับอย่างเพียงพอ

การนอนถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่ จึงควรให้เด็กเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ ไม่นอนหลัง 3 ทุ่ม  สำหรับเด็กในวัยเรียนควรนอนพักผ่อนอย่างน้อยวันละ 8-10 ชั่วโมง โดยโกรทฮอร์โมนนั้นจะหลั่งได้ดีในช่วงเวลา 22.00-02.00น. ดังนั้นถ้าคุณแม่อยากให้ลูกน้อยเติบโตสมวัย ก็ไม่ควรให้ลูกนอนดึก

Sponsored

4. พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีในการกินอาหารที่มีประโยชน์ และไม่เลือกกิน แต่ควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ นอกจากนี้ควรออกกำลังกายเป็นประจำ และเข้านอนให้เป็นเวลา ซึ่งเด็กๆ นั้นยังอยู่ในช่วงที่ชอบลอกเลียนแบบพฤติกรรมของผู้อื่นอยู่ โดยเฉพาะบุคคลใกล้ชิดอย่างพ่อแม่ ดังนั้นการเป็นตัวเแบบที่ดีของพ่อแม่ก็จะช่วยให้ลูกสามารถเติบโตได้อย่างสมวัย

5. รักษาอาการผิดปกติ

เด็กบางคนเกิดมาพร้อมโรคประจำตัว ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการการเติบโต ทำให้มีร่างกายเล็ก หรือน้ำหนักลูกน้อยกว่าเกณฑ์ปกติ เช่นเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กพวกนี้แม้ว่าจะเกิดมา มีตัวเล็กกว่าเด็กทั่วไป แต่ถ้าได้รับการดูแลจากแพทย์ และพ่อแม่อย่างใกล้ชิดก็สามารถมีน้ำหนักตัว และเติบโตทันเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน นอกจากนี้การเจ็บป่วยจากโรคอื่นๆ เช่นการติดเชื้อที่หู ปากอักเสบจากเชื้อรา โรคกรดไหลย้อน ทางเดินปัสสาวะอักเสบ โลหิตจาง ปัญหาสุขภาพเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการกินของลูก ทำให้ลูกกินได้น้อย ดังนั้นจำเป็นที่ต้องพาเด็กเข้ารับการรักษาก่อน และเมื่ออาการของเด็กหายดี ก็จะช่วยให้เด็กกลับมากินอาหารได้ดีขึ้น และน้ำหนักตัวก็จะเพิ่มขึ้นเอง

6. ติดตามความเจริญเติบโต

ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัย 12 ปี แพทย์จะแนะนำให้พาเด็กเข้ารับวัคซีนต่างๆ ซึ่งนอกจากวัคซีนที่เด็กจะได้รับแล้ว แพทย์จะได้ติดตามผลการเจริญเติบโตของลูกอย่างต่อเนื่องอีกด้วย โดยถ้าพบความผิดปกติ แพทย์จะให้คำแนะนำที่จำเป็นเพื่อให้เด็กเจริญเติบโตได้เต็มที่ ดังนั้นพ่อแม่จึงควรให้ความสำคัญในการพาลูกไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อพบว่าทารกน้ำหนักน้อยหรือต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ พ่อแม่ควรหาทางแก้ไข เช่นรักษาอาการเจ็บป่วย หรือพาลูกออกกำลังกายมากขึ้น หรือวิธีอื่นๆ ข้างต้น ซึ่งถ้าเด็กไม่มีความผิดปกติใดๆ ที่ทำให้ไม่สามารถรักษาได้ ในไม่ช้าลูกก็จะกลับมามีน้ำหนักตามเกณฑ์ปกติ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่ https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about growing up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.8 วิธีให้ อาหารลูกน้อย กินแล้วสุขภาพดี

2.เริ่ม อาหารเสริมลูกน้อย อย่างไรให้ปลอดภัย