อาหารติดคอ เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะกับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบที่ยังไม่สามารถจะเคี้ยวอาหารให้ละเอียดได้ อาการดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่คุณแม่ทุกคนจะต้องระวังให้มากเป็นพิเศษในขณะที่ป้อนข้าวลูก เพราะหากเกิดอาหารติดคอและคุณแม่ไม่สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ ก็อาจจะอันตรายส่งผลถึงชีวิตได้เช่นกัน เมื่อลูกมีอาการ อาหารติดคอ คุณแม่จะมีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไรมาดูวิธีกัน

อาหารติดคอลูก อันตรายมากแค่ไหน

อาหารติดคอ เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ ที่ยังไม่สามารถเคี้ยวอาหารให้ละเอียดได้ และกับเด็กที่ชอบหยิบจับเอาสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปาก จนไปติดหลอดอาหาร ปิดกั้นทางเดินหายใจ ไม่สามารถหายใจได้ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ อาหารติดคอสามารถแบ่งอาการออกได้เป็นสองแบบคือแบบที่ไม่รุนแรง และแบบรุนแรงดังนี้

  • อาหารติดคอ แบบไม่รุนแรง หากเด็กมีอาการอาหารติดคอแบบไม่รุนแรงเด็กยังสามารถที่จะหายใจได้ ไอได้ และพูดออกเสียงได้
  • อาหารติดคอแบบรุนแรง หากเด็กมีอาการอาหารติดคอแบบรุนแรงเด็กจะมีอาการหายใจลำบาก ไม่สามารถไอ หรือพูดออกเสียไม่ได้ หน้าเริ่มซีดเขียว เด็กจะใช้มือทั้งสองข้างกุมคอตัวเองไว้ตลอด หากไม่สามารถ ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ ก็อาจจะอันตรายถึงขั้นชีวิตได้

วิธีการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น

อาหารติดคอ  สามารถเกิดขึ้นได้ถึงแม้ว่าจะระวังแล้วก็ตาม เพราะบางครั้งเด็กก็อาจจะหยิบสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปากโดยที่คุณแม่ไม่รู้ คุณพ่อคุณแม่จึงต้องพยายามระวังสิ่งของชิ้นเล็กอย่างเช่นเม็ดมะขาม ลูกแก้ว หรือของเล่นประเภทต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก ไม่ให้อยู่ใกล้มือเด็ก เพื่อป้องกันเด็กหยิบเข้าปาก อย่างไรก็ตามหากเด็กมีอาการ อาหารติดคอ สิ่งที่คุณพ่อแม่ผู้ปกครองจะจะต้องทำคือตั้งสติ อย่าลนลานจนทำอะไรไม่ถูก และพยายาม ปฐม พยาบาลเบื้องต้น ให้กับเด็ก เพื่อเอาอาหารออกจากคอ หรือหลอดลมทางเดินอาหารอย่างปลอดภัย

กรณีเด็กยังหายใจเองได้อยู่ควรปฏิบัติดังนี้

  • ให้เด็กพยายามไอออกมาแรงๆ ด้วยตัวเอง เพื่อให้เศษอาหาร หรือสิ่งของที่เข้าไปติดหลอดลมออกมา
  • รีบโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉินที่เบอร์ 1669 หรือหากอยู่ใกล้โรงพยาบาลก็ให้รีบนำส่งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

กรณีอาการอาหารติดคอแบบรุนแรงควรปฏิบัติดังนี้

  • ให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองรีบช่วยเหลือเบื้องต้น โดยใช้วิธีจับเด็กนอนคว่ำและตบแรงๆ บริเวณทรวงอกด้านหลังระหว่างกระดูกสะบัก ตบจนกว่าอาหารจะหลุดออกมา หรือเด็กสามารถกลืนอาหารลงคอได้
  • ไม่ใช้นิ้วล้วงช่องปากเด็ก หรือจับเด็กห้อยศีรษะและตบหลังอย่างเด็ดขาด เพราะจะยิ่งทำให้เศษอาหารที่อุดตันที่กล่องเสียงจนขาดอากาศหายใจได้
  • ในกรณีที่เด็ดเกิดการสำลักและมีอาการหายใจไม่ออก ปากเริ่มเขียว อาการนี้ถือเป็นอาการฉุกเฉินเด็กอาจจะเสียชีวิตภายในไม่กี่นาทีได้ คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองควรรีบช่วยเหลือแบบ Heimlichคือให้เด็กนั่งหรือยืนและโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย จากนั้นคุณพ่อคุณแม่ใช้แขนสอดสองข้างโอบลำตัว กำมือวางไว้ที่ใต้ลิ้นปี่ ดันมือลงตรงตำแหน่งลิ้นปี่อย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดแรงดันช่องท้องดันให้เศษอาหารหลุดออกมา

ป้องกันอย่างไร ไม่ให้อาหารติดคอลูก

อาหารติดคอ เป็นอาการที่น่ากลัวมาก สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะเด็กเท่านั้น อาหารติดคออาจจะอันตรายถึงชีวิตได้ เราจึงมักจะได้ยินข่าวที่น่ากลัวเกี่ยวกับอาหารเข้าไปติดลำคอจนเกิดการสูญเสียถึงชีวิตมาแล้วมากมาย สิ่งสำคัญเมื่อเกิดอาการดังกล่าวคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองจะต้องตั้งสติให้ดี และรีบพยาม ปฐมพยาบาลเบื้องต้น อย่างถูกต้องก็จะสามารถช่วยให้เด็กปลอดภัยได้ อย่างไรก็ตามเราสามารถป้องกันอาหารติดคอได้ หากไม่อยากให้ลูกอาหารติดคอคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกันได้ดังนี้

1.ป้องกัน  อาหารติดคอ ไม่ป้อนข้าวในท่านอน หากเป็นเด็กควรมีหมอนรอง หรือจับลูกนั่งตัวตรงในเก้าอี้เด็ก ขณะป้อนข้าว และไม่ควรนอนทันทีหลังจากทานอาหารเสร็จควรนั่งพัก หรือเดินย่อยก่อน 15 – 20 นาที

2.ป้อนอาหารลูกช้าๆ เพื่อให้ลูกเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนค่อยกลืน

3.ไม่ทานอาหารขณะที่เหนื่อย หรือรีบเร่ง ควรพักก่อนประมาณ 30 นาที

4.อาหารที่กินควรเป็นชิ้นเล็กๆ พอดีคำไม่ใหญ่จนเกินไป

5.ขณะทานข้าวไม่ควรเดิน หรือพูดคุย หัวเราะ เพราะจะยิ่งเสี่ยงทำให้เกิด อาหารติดคอ ได้

Sponsored

6.ทานอาหารสลับกันเช่น อาหารเหลว และอาหารเคี้ยว เพื่อให้กลืนง่ายขึ้นไม่ทำให้ฝืดคอ

7.กินอาหารคำละพอดี ไม่ใหญ่จนเกินไป และหากเป็นเนื้อสัตว์ควรเคี้ยวให้ละเอียดมากขึ้น เพื่อป้องกันการสำลัก

8.หากอาหารแข็ง หรือแห้งไป ควรมีน้ำซุป หรืออาหารที่มีซอสชุ่มๆ อยู่ด้วยจะช่วยทำให้กลืนลื่นคอขึ้น

อาหารติดคอ ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะอาจจะอันตรายถึงชีวิตได้ และหากติดนานไปถึงจะสามารถช่วยชีวิตไว้ได้ก็อาจจะกลายเป็นเจ้าเจ้าหญิงเจ้าชายนิทราได้ เนื่องจากสมองขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นคุณแม่จะต้องระวังในการป้อนข้าวลูก พยายามให้ลูกเคี้ยวให้ละเอียดก่อนทุกครั้งก่อนกลื่น เพื่อป้องกันอาหารติดกล่องเสียง หลอดลม จนทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่www.konthong.com
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

youtube: KonThong Channel คนท้อง
IG : Team_konthong
Tiktok : Teamkonthonth

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ฝันว่าท้องใกล้คลอด ทำนายฝันว่าอย่างไร ลางดีหรือลางร้าย

2.7 ไอเดียจัดห้องนอน ให้สวยน่าอยู่ถูกใจสาวๆ ในสไตล์มินิมอล