ฟันกระต่าย เด็ก ๆ จะมีฟันขึ้นในช่วงอายุ 3-9 เดือน โดยทั่วไปมักเป็นช่วงอายุประมาณ 6 เดือน และ ทุก ๆ 4 เดือน ลูกจะมีฟันซี่ใหม่ขึ้นหนึ่ง หรือสองซี่ ต่อไปนี้เป็นอาการฟัน (กระต่าย) ของลูกน้อย ที่กำลังจะขึ้น มาดูกันว่าคุณแม่จะมีวิธีการช่วยคุณลูกที่กำลังจะมีฟันขึ้นได้อย่างไร
ฟันกระต่าย ของลูกน้อย
1. สังเกตอาการน้ำลายไหล การที่น้ำลายไหลออกมามากกว่าปกติ เป็นอาการแสดงอย่างแรกว่าฟันกำลังขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าฟันของลูกจะขึ้นทันทีหลังจากนั้น เด็กบางคนน้ำลายไหลอยู่หลายสัปดาห์ หรือ หลายเดือนกว่าฟันซี่แรกจะขึ้น คุณควรเช็ดน้ำลายให้ลูกบ่อยๆ และทายาให้ลูก หากว่าลูกมีผื่นขึ้นที่ใบหน้าร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์
2.เมื่อลูกไม่สบายตัว ฟันของลูกจะโผล่ขึ้นมา จากเหงือกอย่างช้า ๆ ซึ่งอาจจะทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัว และ หงุดหงิด หรือร้องไห้โยเยได้ คุณอาจใช้ยาสำหรับทาเหงือกลดอาการเจ็บปวดได้ ควรทาให้ลูกในปริมาณเล็กน้อย และทาด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากยาอาจทำให้ปากของลูกรู้สึกชาเป็นบริเวณกว้างกว่าที่ควรได้
3.อาการเจ็บปวด หากลูกของคุณมีไข้ หรือ แสดงอาการเจ็บปวดจากฟันที่กำลังขึ้น คุณอาจใช้ ยาพาราเซตามอล ในขนาดที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวลูกได้ แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
4.ถูนวด ใช้นิ้วของคุณช่วยนวดเหงือกให้ลูกเพื่อลดอาการเจ็บปวด
5.เคี้ยว ให้ลูกของคุณกัดของเล่นพลาสติกที่ทำไว้สำหรับให้เด็กกัดเล่น หรือกัดขนมปังกรอบที่ทำไว้ให้เด็กกัด อาจเลอะเทอะสักหน่อย แต่เด็กบางคนก็ชอบวิธีนี้
6.ของเล่นแช่เย็น นำของเล่นพลาสติก หรือ ห่วงยางสำหรับให้ลูกกัดไปแช่ไว้ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็ง เพื่อให้ความเย็นช่วยลดอาการเจ็บปวดบริเวณเหงือกของลูกเวลาที่ลูกกัด
คุณแม่ทีมคนท้อง อย่ากังวลหากฟันของลูกในช่วงปีแรก ๆ จะขึ้นไม่เป็นระเบียบ เพราะการจัดเรียงตัวของฟันน้ำนมไม่ได้เป็นสิ่งที่แสดงว่าฟันแท้จะขึ้นอย่างไร … แต่สิ่งที่สำคัญ คือเมื่อลูกเริ่มมีฟันขึ้นแล้ว คุณแม่ต้องทำความสะอาดและบำรุงรักษาสุขภาพฟัน ของลูกน้อยอย่างสม่ำเสมอ คุณพ่อคุณแม่ ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์ เมื่อฟันของลูกเริ่มขึ้นตั้งแต่ซี่แรก เพื่อให้ทันตแพทย์แนะนำวิธีการดูแลสุขภาพฟันที่ถูกต้อง และให้ลูกน้อยคุ้นเคยกับบรรยากาศในห้องทำฟัน และการพบหมอเพื่อทำฟัน เด็กจะได้ไม่กลัว และมีทัศนคติที่ดีในการไปหาหมอฟัน เป็นการปลูกฝังสุขนิสัยที่ดีตั้งแต่เด็ก ๆ ในการพาลูกไปหาทันตแพทย์จะตรวจประเมิน สุขภาพช่องปาก และความเสี่ยงของการเกิด ฟันผุของเด็ก ตามระยะเวลาต่าง ๆ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เอง ต้องพาลูกไปตรวจตามนัดอย่างสม่ำเสมอ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์