อาการปวดท้องในเด็ก … ความผิดปกติทางร่างกายที่เด็กเล็กพบเจอ โดยเฉพาะอาการปวดท้องที่ไม่สามารถบอกกับคุณแม่ได้ว่า รู้สึกอาการปวดท้องอย่างไร หรือมีอาการปวดมากแค่ไหน สิ่งที่สามารถสื่อและแสดงออกได้ถึงความผิดปกติของร่างกายพวกเขานั่นคือ การร้องไห้ ซึ่งแน่นอนว่าคุณแม่มือใหม่หลาย ๆ ท่านที่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจ และไม่ทราบว่าลูกเป็นอะไร มีอาการรุนแรงมากน้อยเพียงใด เมื่อลูกบ่นว่าปวดท้อง ให้คุณแม่ลองสังเกตดูว่า ลูกมีอาการเป็นอย่างไร ถึงแม้อาการจะไม่รุนแรง แต่อาจจะมีผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้ค่ะ ซึ่งคุณแม่สามารถสังเกตอาการปวดท้องของลูกได้ตามรายละเอียดดังนี้ค่ะ

อาการปวดท้องที่พบบ่อยในเด็กเล็ก

วัยทารกแรกเกิดถึง 1 ขวบ เป็นวัยที่มีความเสี่ยงสูง เพราะไม่สามารถอธิบายอาการป่วยของตัวเองได้ คุณแม่จึงควรดูแลและหมั่นสังเกตอยู่ตลอดเวลา หากลูกเริ่มมีอาการปวดท้อง คุณแม่ก็ควรสังเกตว่าปวดท้องบริเวณใด มีอาการปวดมากหรือปวดน้อย ถ้าลูกปวดมากจนร้องไห้ไม่หยุดอย่างนี้ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันทีนะคะ เพื่อตรวจและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไปค่ะ

อาการปวดท้องที่พบมากในเด็กเล็ก มีดังนี้

  1. อาการท้องอืด แน่นท้อง ท้องเฟ้อ อาการเหล่านี้เป็นอาการที่เกิดจากแก๊สในกระเพาะอาหารค่ะ โดยอาการเริ่มจากลมไปดันอยู่ในลำไส้ ทำให้ลูกมีอาการท้องอืด ปวดท้องแน่นท้อง สาเหตุของอาการนี้เกิดจากการให้ลูกดูดนมขวด การปวดท้องเช่นนี้คุณแม่ไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะหลังจากการดูดนมอิ่มแล้ว ลูกจะเรอและหายอึดอัดท้องไปเองโดยธรรมชาติค่ะ
  2. กรดไหลย้อน เด็กทารกแรกเกิดสามารถเป็นกรดไหลย้อนได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ค่ะ เนื่องจากกระเพาะอาหารของลูกยังทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดกรดไหลย้อน จนลูกเกิดการอาเจียนออกมากได้นั่นเองค่ะ คุณแม่สามารถป้องกันไม่ให้กรดไหลย้อนในเด็กได้ โดยการควบคุมปริมาณการดื่มนม การจัดท่านั่ง ท่านอนที่เหมาะสม เท่านี้ก็ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอาการปวดท้อง เพราะกรดไหลย้อยอีกต่อไปค่ะ
  3. ท้องผูกในเด็ก อาการนี้สามารถพบเจอได้กับเด็กทุกคน โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้ดูดนมแม่ตั้งแต่แรก การดื่มนำนมผสมเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกมีอาการท้องผูก เนื่องจากนมไม่ย่อยได้ ซึ่งไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าเมื่อใดที่ลูกถ่ายออกมาเป็นเลือด ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพื่อตรวจหาโรคอื่น ๆ ต่อไป
  4. โรคท้องร่วง ท้องเสียสำหรับอาการท้องเสียในเด็กเล็ก อันตรายอย่างมาก เพราะอาจจะทำให้ทารกขาดน้ำ สูญเสียเกลือแร่ ไม่มีแรงสู้กับอาการ ปวดท้องมากจนร่างกายอ่อนเพลีย ถ้าคุณแม่พบว่าลูกถ่ายเป็นน้ำบ่อย ๆ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที่เพื่อรับการตรวจหาโรคอื่น ๆ ที่อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้

สัญญาเตือนที่คุณแม่ควรรู้ เมื่อลูกปวดท้อง

อาการปวดท้องในเด็กที่เราได้กล่าวมาข้างต้นนั้น ถึงแม้จะเป็นอาการที่พบโดยทั่วไปแต่เด็กเล็กที่ยังไม่สามารถบอกหรืออธิบายเกี่ยวกับอาการได้ว่า มีอาการปวดอย่างไร หรือมีอาการปวดระดับใด มากหรือน้อย พวกเขาไม่สามารถบอกกับคุณแม่ได้ค่ะ แต่พวกเขาจะแสดงอาการเหมือนกันนั่นคือ บอกว่า ปวดท้องแล้วร้องไห้เท่านั้น คุณแม่จะต้องสังเกตอาการด้วยตัวเอง โดยใช้หลักการสังเกตดังนี้ค่ะ

วิธีสังเกตอาการปวดท้องของลูกน้อย

การสังเกต คุณแม่สามารถสังเกตจากอาการอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับอาการปวดท้อง เช่น การอาเจียน ท้องแข็ง ถ่ายเหลว กินน้อย อิ่มเร็ว เรอ ท้องอืด ท้องป่อง ผายลมบ่อย ควบคุมอุจจาระไม่ได้ มีอาการเกร็งร่างกาย สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญทุ่ณแม่ควรเฝ้าสังเกตอาการค่ะ ถ้าพบว่าลูกมีอาการปวดท้องรุนแรง ท้องแข็ง มีไข้ หรือมีไข้ร่วมกับอาเจียนหลายครั้ง อาเจียนเป็นเลือด หรือน้ำดีสีเขียว ถ่ายเหลวหลายครั้ง หรือถ่ายปนมูกเลือดเ คุณแม่ต้องไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

การสังเกตอาการปวดท้องที่เป็นอันตราย

Sponsored
  • เมื่อคุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการปวดท้อง อาเจียน มีไข้ ถ่ายเหลวเป็นน้ำ หรือเนื้อเละ ๆ ลักษณะอาการเช่นนี้ลูกอาจจะมีภาวะอาหารเป็นพิษ คุณแม่จะต้องรีบพาไปหาหมอเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องและขอคำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีการดูแลลูกอย่างถูกต้องและเหมาะสมค่ะ
  • เมื่อคุณแม่สังเกตเห็นว่า ลูกมีอาการปวดบริเวณลิ้นปี่ หรือใต้ชายโครงซ้าย มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หรือมีน้ำมูกมากก่อน ส่วนมากจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งลักษณะอาการเช่นนี้ลูกอาจจะเป็นโรคกระเพาะอักเสบได้ค่ะ
  • เมื่อคุณแม่เห็นว่าลูกมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง บางคนปวดจนนอนไม่ได้ ทำกิจกรรมไม่ได้ หรือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนและเบื่ออาหารร่วมด้วย ลักษณะอาหารเช่นนี้อาจเป็นเพราะ ลูกมีแผลในกระเพาะอาหาร คุณแม่ควรพาไปพบแพทย์ทันทีเมื่อลูกมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงจนไม่สามารถนอน หรือรับประทานอาหารได้
  • อาการปวดท้องที่ไม่รุนแรง แต่ลูกจะถ่ายติดต่อกันหลายวัน มีอาการปวดเกร็งเวลาถ่ายจะลำบากมาก เนื่องจากอุจจาระแข็งและเป็นก้อนใหญ่ ซึ่งอาการปวดท้องนี้จะเป็นอยู่หลายวันค่ะ อาการเช่นนี้บ่งบอกได้ว่าลูกคุณมีอาการท้องผูก วิธีการแก้ไขคุณแม่อาจจะลองเปลี่ยนอาหารให้ลูก และเลือกอาหารที่มีเส้นใยสูง ๆ ให้ลูกรับประทานเป็นประจำ เท่านี้ก็น่าจะช่วยได้ค่ะ แต่ถ้าลูกมีอาการปวดท้องที่รุนแรงและไม่ยอมถ่ายคุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
  • เมื่อลูกมีอาการอาเจียนและแหวะนมบ่อยๆ ไปพร้อมกับอาการปวดท้อง ขับถ่ายเป็นของเหลวปนมูกเลือดหลายครั้ง ลูกมีอาการซึมเศร้า ไม่ยอมดูดนม และมีไข้ อาการเหล่านี้อาจเป็นเพราะ ลูกเกิดภาวะลำไส้อักเสบ ซึ่งถ้ามีอาการปวดที่รุนแรง หรือลูกไม่ยอมดูดนมอีก คุณแม่ควรพาไปพบแพทย์ทันทีเช่นกัน เพราะอาจถึงชีวิตได้ค่ะ
  • ลูกมีอาการปวดท้องมากตลอดเวลา ปวดท้องบริเวณทางด้านขวาล่างของช่องทอ้ง มีอาการอาเจียน เป็นไข้ และคลื่นไส้อยู่ตลอดเวลา อาการเหล่านี้บอกได้ว่าลูกอาจมีภาวะไส้ติ่งอักเสบ เมื่อลูกมีอาการปวดมากขึ้น คุณแม่ต้องพาไปพบแพทย์ทันที ไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียได้เช่นกันค่ะ

คุณแม่คงเห็นแล้วว่าอาการปวดท้องในเด็กเล็ก ไม่ใช่เรื่องธรรมชาติอีกต่อไป คุณแม่ควรเฝ้าสังเกตอาการ สีหน้า และลักษณะอาการอื่น ๆ ที่เป็นร่วมด้วย เพื่อให้ทราบถึงอาการผิดปกติทางร่างกายที่ลูกน้อยเผชิญอยู่ การรับรู้ของแม่ที่เร็วเท่าไร ลูกก็จะปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้นค่ะ

ขอบคุณรูปภาพ : developmentalscience

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในเด็ก ร้ายแรงมากแค่ไหน

2.8 วิธีการดูแลลูกน้อย เมื่อมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด