เด็กนอนดึก … การอดนอน เป็นความรู้สึกที่หลาย ๆ คนคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่คงเทียบไม่ได้กับคนเป็นแม่ ที่ต้องเจอกับการอดนอนมากกว่าคนอื่น เพราะเด็กทารกยังไม่รู้ช่วงเวลาตอนกลางวันหรือกลางคืน บ่อยครั้งที่คุณแม่จะต้องตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อคอยดูแลลูกน้อย และยิ่งช่วงกลางวันคุณแม่มีงานบ้านต้องรับผิดชอบด้วยแล้วยิ่งไม่ได้พักผ่อนเท่าที่ควร ทั้งนี้ ยิ่งถ้าลูกน้อยแสนน่ารักของคุณ ถึงเวลานอนแล้วไม่ยอมนอนอีกคุณแม่ก็จะยิ่งเหนื่อยเป็น 2 เท่าค่ะ เห็นไหมว่าคนเป็นแม่นั้นนอกจากต้องมีความรัก ความทุกเทแล้ว ยังต้องมีความพยายามและความอดทนควบคู่กับไปด้วย

เด็กนอนดึก ส่งผลให้มีพัฒนาการช้า จริงหรือไม่

สำหรับคุณแม่ท่านใดที่กำลังเจอปัญหาการนอนยากของลูก จนเกิดความกังวลถึงผลกระทบต่อสุขภาพ จากการนอนที่ผิดปกตินี้อยู่ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับสาเหตุของการนอนยาก และวิธีการแก้ไขมาฝากค่ะ รายละเอียดตามนี้ค่ะ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนของเด็กเล็ก

พฤติกรรมการนอนของเด็กทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน เด็กวัยนี้ส่วนมากแล้วจะนอนมากถึง 16 ชั่วโมงต่อวันค่ะ แต่จะตื่นร้องทุก ๆ  3 – 4 ชั่วโมง ช่วงแรก ๆ จึงเป็นช่วงเวลาที่คุณแม่จะเหนื่อยมากเป็นพิเศษ เพราะต้องคอยตื่นมาดูลูกน้อยตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน เมื่อลูกน้อยมีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป หรือมีอายุเพิ่มขึ้น ก็จะนอนช่วงกลางคืนนานขึ้นไปเองโดยธรรมชาติค่ะ

ปัญหาที่ทำให้ลูกไม่ยอมนอน

สาเหตุของปัญหาลูกไม่ยอมนอน ส่วนหนึ่งอาจมาจากพฤติกรรมของคุณแม่เอง เนื่องจากเด็กทารก – 3 เดือนจะตื่นกลางคืนบ่อย เพราะหิว จึงทำให้คุณแม่เคยชินเมื่อลูกตื่นมากลางดึก แม่คิดว่าลูกคงหิวนม จึงป้อนนมทุกครั้งที่ลูกตื่น ซึ่งเมื่อลูกมีอายุได้ 4 – 6 เดือน การตื่นกลางคืนอาจจะไม่ได้หิวอีกต่อไป แต่คุณแม่กลับยังคงคิดเช่นเดิมว่าลูกยังรู้สึกหิวอยู่ แม่ก็รีบป้อนนมทันที การทำเช่นนี้เป็นการฝึกให้ลูกตื่นขึ้นมาร้องตลอดคืน

อีกปัญหาหนึ่งที่ทำให้ลูกไม่ยอมนอน คือ คุณแม่กลับจากทำงานดึก ลูกรอคุณแม่กลับบ้านทุกคืน ทำให้เกิดการนอนดึกจนเป็นนิสัย และไม่ยอมนอนถ้าคุณแม่ไม่ยอมกลับ การฝึกให้เด็กนอนดึกเช่นนี้ทุกวัน จะทำให้ลูกไม่ยอมนอนและร้องไห้งอแงเมื่อรู้สึกง่วงมาก ๆ ได้

นอกจากการที่ลูกไม่ยอมนอนอาจจะมาจากปัจจัยบางอย่าง เช่น ก่อนนอนเด็กได้รับการกระตุ้นทำให้ร่างกายไม่ยอมหลับ หรือเด็กมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ไม่สบายตัว ทำให้นอนไม่ได้ ปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกนอนยาก และไม่ยอมนอนได้

ปัญหาที่ได้กล่าวมาทั้งหมด เป็นสาเหตุสำคัญที่มีผลโดยตรงกับการนอนของเด็ก ยิ่งนอนยาก หรือนอนดึกเป็นประจำนอกจากจะทำให้ร่างกายของทั้งคุณแม่และลูกน้อยอ่อนเพลียแล้ว ก็ส่งผลถึงพัฒนาการต่าง ๆ ของลูกน้อย รวมถึงมีผลทางอารมณ์ความรู้สึกของลูกในระยะยาวอีกด้วยค่ะ

พัฒนาการของลูกน้อย กับการนอนไม่เป็นเวลา

เด็กเล็กที่มีอายุในระหว่าง 1 – 2 เดือน โดยปกติจะนอนไม่เป็นเวลาอยู่แล้ว ดังนั้นคุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ แต่ถ้าลูกมีอายุได้ 4 – 6 เดือนแล้ว เวลากลางคืนยังนอนน้อยอยู่ อย่างนี้อาจจะทำให้มีผลต่อพัฒนาการได้ เนื่องจากเด็กที่นอนไม่เพียงพอร่างกายจะมีพัฒนาการในการเจริญเติบโตช้า เพราะฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth Hormone) ที่หลั่งออกมาในสมองของเด็ก จะเกิดขึ้นเฉพาะเวลานอนหลับตอนกลางคืนเท่านั้น ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะไม่หลั่งเวลาเช้าหรือสายนะคะ ดังนั้น จึงแนะนำให้ลูกนอนไม่เกิน 4 ทุ่มค่ะ จะทำให้ร่างกายสามารถเจริญเติบโตได้อย่างสมวัยค่ะ สำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 2 – 3 ขวบแล้วยังมีพฤติกรรมการนอนยากอยู่ ให้คุณแม่ลองสังเกตดูว่าต่อวันลูกน้อยกลางวันครั้ง ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กที่มีอายุ 2 – 3 ขวบนี้จะนอนกลางวันเพียงครั้งเดียว เพื่อให้สามารถหลับเวลากลางคืนได้นานขึ้น

Sponsored

วิธีแก้ไขปัญหาการนอนดึกของลูกน้อย

  • เมื่อลูกอายุมากกว่า 3 เดือนแล้วไม่ยอมนอน หรือตื่นกลางดึกอยู่เป็นประจำ การแก้ปัญหานี้คุณแม่ควรปรับวิธีการนอนใหม่ โดยให้ลูกหลับบนเบาะหรือเตียงเสมอ ไม่แนะนำให้อุ้มเดินนะคะ เพราะเด็กอาจจะติดและเคยชิน ทำให้คุณแม่ต้องคอยอุ้มทุกครั้งหลังจากตกใจตื่นนอนกลางดึก การทำเช่นนี้อาจจะไม่ใช่ความคิดที่ดีค่ะ เพราะยิ่งลูกโตขึ้นน้ำหนักตัวของเขาก็เพิ่มขึ้น ดังนั้น การที่คุณแม่อุ้มให้พวกเขาได้นอนเป็นเวลาหลายชั่วโมงทุกคืน อาจทำให้ร่างกายของคุณแม่โทรมเร็วขึ้นได้ค่ะ
  • จัดสภาพภายในห้องนอนให้เหมาะสม ห้องนอนควรจะเงียบ ไม่สว่างมาก อาการเย็นสบาย ไม่มีแมลงหรือสิ่งใดมารบกวน ก่อนนอนคุณแม่ควรงดการเปิดทีวี และปิดไฟทุกครั้ง เพื่อให้ลูกได้รับรู้ว่า เมื่อแม่ปิดไฟลูกจะต้องนอนแล้วนะ ช่วงนี้เป็นเวลานอน ซึ่งวีธีนี้จะช่วยฝึกให้ลูกรู้จักเวลา และสามารถนอนหลับได้เป็นเวลามากขึ้นค่ะ
  • ไม่ควรเล่นกับลูกก่อนเข้านอน ควรเปลี่ยนจากการเล่นไปเปิดเพลงเบา ๆ ให้ลูกฟัง หรือเล่านิทานก่อนนอนทุกวันก็จะช่วยให้ลูกนอนหลับได้ดีขึ้น เพราะการเล่นเป็นการกระตุ้นฮอร์โมนภายในร่างกายของลูก ทำให้เกิดการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา พบถึงเวลานอนร่างกายไม่สั่งให้นอน ทำให้เด็กไม่อยากนอนหรือนอนยากนั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนทุกวันเป็นประจำ จะช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนของลูกน้อยได้ในที่สุดค่ะ เพียงแค่คุณแม่ให้เวลา อดทนและพยายามสักหน่อย เมื่อลูกน้อยของคุณโตขึ้นพวกเขาก็จะเรียนรู้ และสามารถนอนเป็นเวลาได้เองค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในเด็ก ร้ายแรงมากแค่ไหน

2.8 วิธีการดูแลลูกน้อย เมื่อมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด