เราเชื่อว่าคุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจจะมีปัญหาหนึ่ง คือ คุณแม่ไม่สามารถแยกเสียงร้องของลูกได้แบบชัดเจน ไม่รู้ว่าการร้องลักษณะนี้ลูกต้องการสิ่งใด เช่น หิว เหนื่อย ไม่สบาย ต้องการเรียกร้องความสนใจ และอื่นๆ แต่วันนี้เรามีวิธีการสังเกตอาการและ วิธีการรับมือกับ อาการป่วยของทารกเบื้องต้น มาแนะนำให้คุณแม่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง มาดูพร้อมกันเลยค่ะ
อาการป่วยโดยทั่วไปของเด็กทารก
เด็กวัย 0 – 1 ขวบ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ร่างกายกำลังเจริญเติบโต และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดอาการป่วยบ่อย จนคุณแม่มือใหม่เกิดความกังวลว่า อาการป่วยเหล่านี้เป็นอันตรายหรือไม่อย่างไร ดังนั้นคุณแม่ควรทราบถึงอาการป่วยโดยทั่วไปของเด็กทารกว่ามีลักษณะอย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ
- อาการโคลิค ด้วยความเชื่อของคนโบราที่ว่า “ลูกจะร้องร้อยวัน” เป็นอาการปวดท้องที่เกิดในเด็กทารก ที่มีสาเหตุมากจากลมในช่องท้อง อาการที่เห็นได้ชัด คือลูกร้องไห้เป็นช่วย ๆ และยกขาขึ้นมาบริเวณท้องค่ะ ท่านี้สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดท้องลงได้ ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ยิ่งลูกร้องไห้มากเท่าใด ลมก็จะเข้าท้องมากขึ้น ลูกก็ยิ่งปวดท้องมากขึ้น
- ผื่นผ้าอ้อม เป็นเรื่องปกติธรรมชาติ ที่ผิวบอบบางของทารกจะสัมผัสกับความชื้น จนเกิดเป็นแผล และเกิดเป็นผื่นคันขึ้นมา โดยอาการส่วนมากเกิดจากการที่ลูกสวมใส่ผ้าอ้อมที่มีความชื้นสูงประกอบกับไม่ได้รับการดูแลรักษาความสะอาดบริเวณที่เปียกอยู่เสมอ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรคจึงเกิดอาการแพ้บริเวณดังกล่าวได้ค่ะ
- ฟันงอก ลูกจะมีอาการปวดและร้องไห้งอแง เนื่องจากฟันงอกใหม่ ๆ ลูกจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณช่องปาก เมื่อฟันงอกมาได้สักระยะหนึ่งแล้วลูกจะมีอาการคัน และอยู่ไม่สุข ทุกอย่างที่คว้าได้ก็จะนำเข้าปาก ในช่วงเวลานี้ที่เชื้อโรคมีโอกาสเข้าสู่ร่างกายของเด็กได้สูงนั่นเองค่ะ
- อาการปวดหู เมื่อคุณแม่สังเกตุว่าลูกเริ่มมีอาการปวดหู มีอาการเจ็บบริเวณหู ลูกจะดึงหู ป้องหู เมื่อคุณแม่พบอาการเหล่านี้ควรนำไปพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้องค่ะ
- อาการท้องผูก โดยทั่วไปเด็กที่ดูดนมแม่จะไม่ค่อยมีอาการท้องผูก เนื่องจากนมแม่เป็นนมที่ย่อยง่าย สามารถดูดซึมได้รวดเร็ว ไม่ทำให้ท้องผูก แต่เด็กที่มีภาวะอาการท้องผูกเกิดจากการดูดนมผสม หรือช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนนม ทำให้ลูกมีอาการปวดท้องและไม่ยอมถ่านนั่นเองค่ะ
อาการที่กล่าวมาข้างต้นนี้ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยกับเด็กเล็ก ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่รุนแรงค่ะ แต่อาจจะสร้างความกังวลให้กับกคุณแม่มากสักหน่อย ดังนั้น เพื่อความสบายใจคุณแม่ควรรู้จักวิธีการรับมือกับอาการเหล่านี้ในเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาอาการก่อนที่จะไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป วิธีการจะเป็นอย่างไร มาดูกันต่อค่ะ
วิธีรับมือกับอาการป่วยในเบื้องต้น
- เมื่อลูกมีอาการเป็นโรคโคลิก หรือมีอาการร้องมากที่เกิดจากอาการปวดท้อง คุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ โดยการงดอาหารที่มีคาเฟอีน อาหารรสจัด และอาหารที่ทำให้เกิดลม เช่น ถั่ว, กระหล่ำปลี, และอื่นๆ ซึ่งอาจรวมถึงงดผลิตภัณฑ์จากนมทุกชนิด เนื่องจากโคลิคอาจเกิดจากการที่ร่างกายย่อยแล็คโตสได้ไม่ดี ให้คุณแม่ลองเปลี่ยนสุตรที่ทำจากถั่วเหลืองแทน และระหว่างไม่ให้ลูกถูกกระตุ้นมากเกินไป เพราะความตื่นเต้นจทำให้เกิดอาการโคลิคได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะหายได้เอง เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 4 – 5 ดังนั้น คุณแม่ควรสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย และเปิดเพลงเพื่อปรับอารมณ์ของลูก เท่านี้ก็สามารถช่วยให้ลูกน้อยสงบลงได้แล้วล่ะค่ะ
- อาการผื่นผ้าอ้อม คุณแม่สามารถลดความชื้นลงได้ โดยการโรยแป้งข้าวโพดสำหรับทารกทุกครั้งหลักเปลี่ยนผ้าอ้อมค่ะ แต่ถ้าคุณแม่ยังพบว่าลูกเป็นผื่นอยู่ แนะนำให้ลองใช้ขี้ผึ้งสำหรับผื่นผ้าอ้อมโดยเฉพาะ เพื่อลดอาการคันที่เกิดขึ้นจากผื่นและความชื้นที่มาจากผ้าอ้อมลงได้ เมื่อคุณแม่ดูแลรักษาความสะอาดไปพร้อมกับป้องกันไม่ให้เกิดความชื้นไม่นานผื่นผ้าออมก็จะหายไปเองตามธรรมชาติค่ะ
- เมื่อสังเกตว่าลูกฟันเริ่มงอกแล้ว คุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดของลูกได้
- เมื่อลูกปวดหู คุณแม่สามารถบรรเทาอาการปวดโดยการให้ยาแก้ปวดสำหรับเด็ก (เฉพาะแพทย์จัดให้เท่านั้น) หรือโปะแผ่นประคบอุ่น หรือถุงน้ำอุ่นไว้บนหู ระวังอย่างให้ร้อนเกินไปนะคะ ถ้าอาการปวดหูยังไม่ดีขึ้น คุณแม่ควรรีบนำไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
- เมื่อลูกมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง คุณแม่สามารถช่วยบรรเทาอาการเบื้องต้นได้โดยการลองป้องอาหารใหม่ทีละอย่าง เสริมอาหารหลักด้วยแอปเปิ้ลเหลว พรุน หรือน้ำองุ่นเล็กน้อย เพื่อช่วยย่อยอาหารในกระเพาะ และบรรเทาอาการปวดลงได้
วิธีการรับมือกับอาการป่วยที่เราแนะนำไปนั้น น่าจะเป็นแนวทางให้กับคุณแม่มือใหม่ได้ทราบและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ การดูแลลูกน้อยสำหรับคนเป็นแม่แล้ว ย่อมต้องการให้ทุกอย่างปลอดภัยที่สุดอยู่แล้วใช่ไหมค่ะ ดังนั้นการรู้จักวิธีการดูแลลูกน้อยในเบื้องต้น ก็สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของลูกลงได้บ้างไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ถ้าคุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการรุนแรงอย่างต่อเนื่อง แนะนำให้รีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที เพราะร่างกายของเด็กยังไม่สามารถทนต่อสภาพอาการเหล่านี้ได้ อาจจะส่งผลต่อสุขภาพและสภาวะทางจิตใจในระยะยาวได้ค่ะ
ขอบคุณรูปภาพ : Happiest Baby
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..