สัญชาตญาณ หลังจากที่คุณแม่ได้ให้กำเนิดทารก ออกมาสู่โลกภายนอกเป็นที่เรียบร้อยแล้วนั้น คุณแม่ก็ต้องมาฝึกเรียนรู้ และ ทำความเข้าใจ ถึงความต้องการของทารก ว่าเขาต้องการอะไร

สัญชาตญาณ ปฏิกิริยาของทารก

ส่วนทารกเอง ก็ต้องเรียนรู้ และปรับตัวต่อการใช้ชีวิตเช่นกัน แต่สิ่งที่คุณแม่ อาจไม่ทราบว่าทารกนั้นมีความสามารถในการรับรู้ กระทำ และ ตอบสนอง ต่อบางเรื่องได้ โดยไม่ได้ต้องมีการเรียนรู้ หรือผ่านประสบการณ์มาก่อน ซึ่งเราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า “สัญชาตญาณ” ปฏิกิริยาตอบสนอง ตามสัญชาตญาณ จะช่วยให้ลูกน้อยอยู่รอดได้ เมื่อเกิดภาวะคับขัน ปฏิกิริยาตอบสนองตามสัญชาตญาณของทารกแรกเกิด 5 เรื่อง มีดังนี้

1.ระบบการหายใจ ปฏิกิริยาทางธรรมชาติขั้นพื้นฐานที่สุด เมื่อเด็กคลอดแล้ว ไม่มีถุงน้ำคร่ำอยู่รอบกาย ร่างกายของเด็กจะบังคับให้ ระบบการหายใจ ทำงานทันที  อัตราการหายใจ ของเด็กแต่ละราย ก็แตกต่างกันไป ตามความต้องการของเด็กเอง ยกเว้นเด็กที่มีปัญหาหลังคลอดทันที ซึ่งทีมแพทย์อาจพา ทารกเข้าตู้อบ เพื่อรักษาต่อไป

2.การมองเห็น หลังคลอดเด็ก ๆ ยังไม่ลืมตาทันที เพราะดวงตายังปรับสภาพต่อแสงภายนอกไม่ได้ เนื่องจากการอยู่ในครรภ์มารดา ไม่เกิดปฏิกิริยาต่อการมองเห็น แต่ภายในไม่เกิน 3 วัน ทารกจะเริ่มลืมตา อาจกระพริบตาบ่อย ๆ เพราะดวงตายังปรับต่อสภาพแสงไม่ดีนัก การเคลื่อนไหวดวงตา ถือเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง เพื่อปกป้องดวงตา ที่แสนจะบอบบางจากโลกภายนอก

3.การดูดกลืนสิ่งต่างๆ  เมื่อคุณเริ่มให้นมจากอกแม่ สิ่งที่เด็กทำคือ ดูดนม และ กลืนนมอัตโนมัติ หรือคุณพ่อขี้แกล้ง ที่ลองนำนิ้วใส่ปากลูกน้อย เด็ก ๆ จะดูดทันทีเช่นกัน ช่วงนี้ครอบครัว ต้องระมัดระวัง ของที่เป็นอันตราย หากลูกน้อยพลาดพลั้งกลืนสู่ร่างกายได้ จะเป็นอันตรายทันที

4.การหันหาหัวนม  การฝึกเด็กให้หันหน้าหาเต้านม คุณแม่ลองเขี่ยแก้มลูกเบา ๆ สัญชาตญาณของเด็กจะหันหน้าเข้าหาทันที คุณแม่ไม่จำเป็นที่ต้องหมุนศีรษะลูกน้อยเลย แค่เขี่ยแก้มเขาเบา ๆ เด็กจะเกิดความอยากรู้อยากเห็นและหันศีรษะเข้าหาได้ง่าย ๆ

5.การคว้าจับด้วยมือ เมื่อคุณแม่ใช้นิ้วมือ สัมผัสลงบนฝ่ามือของทารก เค้าจะคว้าจับนิ้วมือของคุณทันที แต่ถ้ามีอะไรที่ทำให้ตกใจ ทารกน้อยก็จะมีสัญชาตญาณสะดุ้ง โดยนิ้วก็จะกางออกปล่อยมือคุณแม่ทันทีเช่นกัน

Sponsored

สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องธรรมชาติของ ทารกแรกเกิด ที่คุณแม่อาจไม่ทราบว่ามันคือ  สัญชาตญาณ  เพื่อการมีชีวิตรอดในช่วงวัยนี้ แต่ถึงแม้ทารก จะมีปฏิกิริยาเหล่านี้ก็ตาม คุณแม่ก็ควรใส่ใจดูแลเค้าเป็นอย่างดี เพราะต้องไม่ลืมว่าการที่ลูกน้อยออกมาสู่โลกภายนอก นั้นแตกต่างจากการอยู่ในครรภ์ของแม่เป็นอย่างมาก

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์