ทารกสะอึก เพราะอะไร? อาการสะอึก ถือเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย จัดอยู่ในอาการที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน และอาการสะอึกไม่ใช่โรค ในทารกอาการสะอึกก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงหลังให้นมเสร็จ เนื่องจากกระเพาะอาการขยายตัวหลังดื่มนมเสร็จ หรือทานอาหารเสร็จแล้ว ส่งผลให้กระบังลมด้านหน้าถูกเบียด ซึ่งเมื่อหายใจจะทำให้กระบังลมเกิดการหดตัว อาการสะอึกจึงเกิดขึ้นอย่างที่เห็นนั่นเองค่ะ
ทารกสะอึก อันตรายหรือไม่
อาการสะอึก ที่นำมาซึ่งลักษณะอาการสะดุ้ง อาการหายใจไม่ค่อยสะดวก อาการไม่สบายตัว อาการงอแง และอื่นๆ คุณพ่อคุณแม่หลายคนเห็นคงเกิดความกังวลใจ เพราะความกลัวต่าง ๆ ตามมา บ้างก็กลัวลูกหายใจติดขัด บ้างกลัวลูกเป็นอันตราย บ้างกลัวลูกไม่สบาย บ้างกลัวลูกป่วย บ้างกลัวลูกเป็นอันตรายต่อชีวิต ฯ
สำหรับเรื่องนี้ต้องบอกว่า อาการสะอึกของทารกถือเป็นเรื่องปกติ เป็นเรื่องที่ไม่อันตรายค่ะ ซึ่งทารกส่วนใหญ่ที่อายุน้อยกว่า 4 เดือน สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ดังนั้นอย่างตกใจไปนะคะ โดยเฉพาะในคุณแม่มือใหม่ที่มีความกังวลใจ เพราะสักพักอาการนี้ก็จะสามารถหยุดได้เอง กระทั่งเมื่อทารกอายุมากกว่า 4-5 เดือนขึ้นไป อาการสะอึกจะค่อย ๆ ลดลง
เรื่องน่ารู้วิธีแก้ไข ทารกสะอึก
ต้องบอกว่าอาการสะอึกของทารกกับผู้ใหญ่ มีความแตกต่างทีกัน ดังนั้นเมื่อทารกสะอึก การนำวิธีแก้ไขแบบผู้ใหญ่มาใช้จึงไม่ใช้เรื่องที่ถูกต้อง เพราะมีคุณพ่อคุณแม่บางคนมีความเข้าใจผิด นำวิธีที่ใช้กับตนเองได้ผลมาใช้กับทารก ซึ่งต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวังอย่างมาก ทีมคนท้อง มีข้อมูลดีๆ ในการแก้ไขเรื่องนี้ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุกคนค่ะ ไปเริ่มกันเลย
1.ให้จับทารกพาดบ่า แล้วใช้มือลูบหลังทารกเบาๆ เป็นการไล่ลม ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
2.หลังให้นมเสร็จ คุณแม่ควรจัดท่าที่เหมาะสมเพื่อให้ทารกเรอ และเพื่อไล่ลมออกจากกระเพาะอาหาร โดยการอุ้มทารกพาดบ่า แล้วใช้มือตบหลังทารกเบาๆ จนกระทั่งทารกเรอออกมา
3.ให้ทารกดูดนมแม่โดยไม่ต้องหยุด จะช่วยแก้ไขอาการสะอึกได้
4.ให้คุณแม่วนนิ้วมือเป็นวงกลมบริเวณท้องของทารก ก็จะสามารถช่วยให้ทารกเรอได้
5.ให้คุณแม่ลองวิธีนี้ลองดูค่ะ เริ่มต้นด้วยการงอขาของทารก (ข้างใดข้างหนึ่ง) ไปที่หน้าอกของเขา ซึ่งนี่ถือเป็นวิธีช่วยในการขับลมของทารกนั่นเอง
6.คุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องการให้นมทารก คือ ไม่รีบเร่ง ควรให้เวลาให้นมทารกเป็นเวลาที่มีความสุข และมีความสงบ ซึ่งก็จะช่วยให้ทารกมีความสุขและสงบตามไปด้วย เพราะหากรีบเร่งในบางครั้งทารกอาจเกิดความตกใจ จนนำมาซึ่งอาการสะอึก
7.ข้อควรระวังคือ ไม่ควรนำวิธีการแก้ปัญหาแบบผู้ใหญ่ เช่น ทำให้ทารกตกใจเพื่อให้หยุดสะอึก หรือ บีบจมูกเพื่อให้หยุดสะอึก หรือให้ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อหยุดสะอึก เป็นต้น มาใช้กับทารก
8.ให้คุณแม่ใช้ผ้าอุ่นๆ วางลงบริเวณท้องของทารก จะช่วยให้ทารกเรอหรือผายลม ค่ะ
9.ให้คุณแม่จัดท่านั่งทารกแบบตัวตรงบนตัก โดยให้ตัวของทารกเอนไปข้างหน้าเล็กน้อย จากนั้นใช้มือลูบหลังทารกเบาๆ (ลูบจากด้านหลัง) โดยลูบจากเอวขึ้นมาถึงคอทารก เพื่อช่วยในการไล่ลมนั่นเอง
10.ในกรณีที่ผิดปกติ เช่น สะอึกต่อเนื่องกิน 3 ชั่วโมง สะอึกจนไม่สามารถดื่มนมได้ สะอึกจนมีอาการหายใจไม่ค่อยออก มีไข้ อาเจียน ควรรีบพาไปพบแพทย์
อาการสะอึกเป็นเรื่องปกติของทารก แต่ขณะเดียวกันคุณแม่คุณพ่อก็ต้องหมั่นสังเกตด้วยว่าอาการสะอึกเป็นนานและต่อเนื่องหรือไม่ ซึ่งหากมีอย่างต่อเนื่องควรรีบพาไปพบแพทย์นะคะ
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/
We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook
https://www.facebook.com/teamkonthong/
บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..
1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง
2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์