อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง การเลี้ยงดูลูกน้อยด้วยความรัก อาจจะไม่เพียงพอ สำหรับคนเป็นแม่แล้ว ทุกอย่างที่เกี่ยวกับลูกน้อย ต้องใส่ใจ ในเรื่องของโภชนาการก็เช่นเดียวกัน เพราะปัจจัยของการดำรงชีวิตมนุษย์จำเป็นต้องอาศัยสารอาหาร ไม่ว่าจะได้จากธรรมชาติ หรือปรุงแต่งขึ้นมาเอง แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่า เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ไม่ควรรับประทานอาหารแบบใดบ้าง คุณแม่มือใหม่หลายท่านอาจจะยังไม่รู้ วันนี้เรามีข้อมูลเรื่องโภชนาการมาฝากค่ะ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับเด็กต่ำกว่า 2 ขวบ

  • อาหารที่มีรสเค็มจัด และมีส่วนผสมของเกลือมากเกินไป

อาหารรสชาติเค็มจัด หรืออาหารที่มีเกลือเป็นส่วนผสมมาก คุณแม่มือใหม่ที่คิดเพียงว่าถ้าอาหารไม่ปรุงรสด้วยเกลือ อาจทำให้รสชาติของอาหารไม่ดีได้ แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่า “เกลือ” ไม่เหมาะสมกับร่างกายของเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบ เพราะเด็กในวัยนี้ไตกำลังพัฒนา และไตนั้นยังไม่พร้อมสำหรับกรองอาหารที่มีรสเค็มมากเกินไป ในการปรุงอาหารให้ลูกจะมีส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ผัก เนื้อสัตว์ หรือสมุนไพรต่าง ๆ ที่ทำให้รสชาติดีอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องใช้เกลือในการปรุงอาหารเลย

ร่างกายของเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบควรได้รับเกลือน้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน แนะนำให้ปรุงอาหารด้วยตัวเอง ถ้าต้องการทำน้ำซุป คุณแม่ควรใช้ผักสดเคี้ยวจนได้ที่ แทนการใช้เครื่องปรุงรสสำเร็จรูป เพราะเครื่องปรุงรสสำเร็จรูปนั้น มีปริมาณเกลือมาก ซึ่งไม่เหมาะสมกับร่างกายของเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบ

  • อาหารที่มีรสหวานจัด และมีส่วนผสมของน้ำตาลมากเกินไป

ร่างกายของเด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ไม่ต้องการน้ำตาล หรืออาหารที่มีรสชาติหวานจัด ถึงแม้ลูกน้อยของคุณจะชื่นชอบรสหวามมากเป็นพิเศษก็ตาม การที่ร่างกายของเด็กเล็กได้รับน้ำตาลในปริมาณมาก อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน และเป็นโรคฝันผุได้ ดังนั้น คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำตาลลงไปเพิ่มรสชาติในนม หรือในอาหารเพื่อกระตุ้นให้ลูกรับประทาน ถ้าต้องการให้ลูกรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น แนะนำให้คุณแม่เลือกใช้ผัก และผลไม้ที่มีรสชาติหวานปรุงอาหารแทนการใส่น้ำตาลดีกว่าค่ะ เพราะนอกจากร่างกายของลูกน้อยจะได้รับวิตามินจำเป็นจากผักผลไม้แล้ว ยังได้ริมลองอาหารที่หลากหลายขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้คุณแม่ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับการให้ลูกรับประทานอาหารสำเร็จรูป เพราะอาหารบางอย่างอาจมีปริมาณน้ำตามมากกว่าที่คุณคิด โดยทั่วไปแล้วจะพบในรูปของน้ำเชื่อมข้าวโพด แบบฟรุคโตส (Fructose Corn Syrup) ร่างกายของเด็กเล็กยังไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลเหล่านี้ได้ดี และอาจจะเกิดการสะสมในรูปแบบของไขมันได้ อาหารหวานที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  1. น้ำผึ้ง ถึงแม้คุณแม่หลายท่านอาจจะเข้าใจว่า น้ำผึ้งเป็นน้ำหวานที่ได้จากธรรมชาติ ไม่น่าเป็นอันตรายต่อร่างกายของลูกน้อย แต่คุณแม่รู้หรือไม่ว่า น้ำผึ้งนั้น ไม่ใช่แค่น้ำตาลที่มีรสหวานเท่านั้น แต่น้ำผึ้งเป็นสารให้ความหวานด้วยเช่นกัน เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี จึงไม่ควรกินน้ำผึ้ง เพราะในน้ำผึ้งอาจมีเชื้อแบคทีเรีย คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) เชื้อแบคทีเรียที่สามารถผลิตสารพิษในลำไส้ของทารกได้ ส่งผลให้ลูกมีอาการท้องผูก เบื่ออาหาร และส่งผลให้เด็กมีอาการซึ่งเศร้าได้ บางคนมีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการปวดบวม หรือ ขาดน้ำได้
  2. เจลลี่ องุ่น และ Popcorn อาหารที่มีลักษณะเหนียว แข็ง และลื่น รวมถึงอาหารที่มีลักษณะกลม ถือว่าเป็นอาหารที่อันตรายอย่างมาก คุณแม่ควรระมัดระวัง ไม่ควรให้ลูกรับประทานอาหารเหล่านี้ เพราะอาหารอาจเข้าไปติดภายในหลอดลม เป็นอันตราย จนทำให้เสียชีวิตได้

นอกจากอาหารที่ให้ความหวานตามธรรมชาติ อย่างเช่น น้ำผึ้งจะเป็นอันตรายต่อเด็กเล็กแล้ว ลักษณะและรูปร่างของอาหารก็เป็นอันตรายด้วยเช่นกัน ก่อนที่ลูกน้อยจะรับประทานอะไรเข้าไป คุณแม่จะต้องดู และพิจารณาอย่างรอบคอบนะคะ เพราะนั่นคือ สุขภาพร่างกายของลูกน้อย ถึงแม้อาหารบางอย่างอาจจะมองแล้วว่าไม่น่าจะเป็นอันตราย แต่ถ้าให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบรับประทานอาจจะเป็นอันตรายมากกว่าที่คุณคิดได้ ดังนั้นคุณแม่ต้องใส่ใจทุกรายละเอียดในเรื่องโภชนาการของลูกน้อย

  • อาหารที่ปรุงไม่สุก หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ

การปรุงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ ไม่เหมาะสมกับร่างกายของเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสัตว์ หรือผักต่างๆ การปรุงแบบไม่สุก หรือกึ่งสุกกึ่งดิบนั้น เป็นอันตรายมาก อาหารที่ไม่ควรปรุงกึ่งสุกกึ่งดิบ ได้แก่

Sponsored
  1. เนื้อปลา ถึงแม้ว่าปลาจะเป็นอาหารที่ดีต่อสมองของลูกน้อยแต่ถ้าคุณแม่รู้หรือไม่ว่า เนื้อปลาส่วนมากจะมีปรอทสะสมอยู่ ยิ่งคุณไม่ปรุงเนื้อปลากึ่งสุกกึ่งดิบด้วยแล้วล่ะก็ สารพิษเหล่านั้นก็ยังสะสมอยู่ ซึ่งสารปรอทเป็นอัตรายต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาท ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบรับประทานปลาดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ
  2. หอย ในหอยดิบอาจจะมีเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอันตราย และก่อให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษอย่างรุนแรง เด็กทารก ยังมีภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอ หากรับประทานหอยดิบเข้าไปอาจจะทำให้ลูกท้องเสีย และมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรงได้ค่ะ
  3. ไข่ดิบ เมื่อลูกน้อยได้อายุ 6 เดือนขึ้นไป คุณแม่สามารถให้ทานไข่ได้ค่ะ แต่ควรระวังในเรื่องของการปรุง ควรจะต้มให้สุกทั่วทั้งฟอง เพราะไข่มีเชื้อแบคทีเรียซาลโมเนลา ที่ทำให้เกิดโรคอาหารเป็นพิษ การที่ให้ลูกรับประทานไข่กึ่งสุกกึ่งดิบ อาจจะทำให้ลูกปวดท้องอย่างรุนแรงได้ และนอกจากหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของไข่ดิบแล้ว ยังต้องหลีกเลี่ยง ช็อคโกแลตมูส และมายองเนสด้วย

นอกจากเนื้อสัตว์ที่ต้องปรุงสุกแล้ว ผักก็เช่นเดียวกัน เพราะผักที่ต้มไม่สุกจะมีลักษณะแข็ง มีรสขม หรือมีกลิ่นเหม็นเขียว เด็กบางคนทานผักยากอยู่แล้ว ก็ยิ่งไม่ชอบทานเข้าไปใหญ่ ดังนั้น การปรุงอาหารสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ คุณแม่ต้องใส่ใจทุกขั้นตอน และพยายามปรุงอาหารเหล่านั้นให้สุกได้ที่ด้วย เพื่อสุขภาพที่ดี และพัฒนาการที่สมวัยค่ะ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ตะกอนในน้ำคร่ำ คืออะไร ส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

2.เจาะน้ำคร่ำ Q&A : อายุ 34 ต้องเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจภาวะสุขภาพครรภ์