เด็กช่วงวัย 7 เดือน สามารถนั่งทานอาหารร่วมกับครอบครัวได้แล้ว ซึ่งเด็กวัยนี้ฟันกำลังขึ้น จึงพร้อมหยิบจับสิ่งต่างๆ เข้าปาก ดังนั้นจึงเป็นช่วงที่เหมาะสมที่จะให้ลูกได้ลองอาหารที่หลากหลายมากขึ้น โดย อาหารทารก 7 เดือน ที่เหมาะสมมีอะไรบ้าง และควรเลือกอาหารให้ลูกทานอย่างไร เราก็มีคำแนะนำมาฝากคุณแม่กันด้วย

ลักษณะของ อาหารทารก 7 เดือน ที่เหมาะสม

สำหรับลักษณะของอาหารที่เหมาะกับเด็กวัย 7 เดือนก็มีดังต่อไปนี้

1.ให้พลังงาน

เด็กวัยนี้มีการเคลื่อนไหวที่มากขึ้น บางคนกำลังคืบ ส่วนบางคนก็คลานเก่งแล้ว คุณแม่จึงควรเลือก อาหารทารก 7 เดือน ที่ให้พลังงานเพื่อให้เพียงพอกับกิจกรรมของเด็กในแต่ละวัน ซึ่งเด็กในช่วงวัย 6-8 เดือนนั้นต้องการพลังงานจากอาหาร 219 กิโลแคลลอรีต่อวัน สำหรับอาหารเด็ก 7 เดือนที่ให้พลังงานได้ดี ได้แก่ ข้าวสวย ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น

2.เพิ่มโปรตีน

คุณแม่ควรเสริมโปรตีนให้กับลูก ทั้งโปรตีนจากตับบด ไข่ ปลา หรือ ถั่ว โดยคุณแม่สามารถสังเกตว่าลูกเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่จากน้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 300 กรัมต่อเดือน

3.ลองรสชาติใหม่

คุณแม่จะเห็นได้ว่าเด็กวัย 7 เดือนนี้เริ่มบอกได้แล้วว่าชอบอาหารบางอย่าง คุณแม่จึงควรให้ลูกได้เรียนรู้รสชาติอาหารใหม่ๆ แต่ที่สำคัญต้องไม่ละเลยเรื่องสารอาหารที่ควรต้องครบ 5 หมู่ในแต่ละวันด้วย

4.บดละเอียด

อาหารทารก 7 เดือนควรมีลักษณะเป็นอาหารที่บดละเอียด เนื่องจากลูกยังเคี้ยวอาหารได้ไม่ค่อยดีมากนัก ประกอบกับเด็กบางคนฟันยังไม่ขึ้นจึงยังไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้นั่นเอง

5.ให้ finger food

finger food คืออาหารที่ทำพอดีคำ เพื่อให้ลูกได้ใช้มือสัมผัสและหยิบกินอาหารได้ด้วยตัวเอง ซึ่งวัยที่เหมาะสมคือช่วงวัย 7 เดือนขึ้นไปนี่เอง โดยคุณแม่ควรเริ่มด้วยการให้ลูกทาน finger food สัก 2-3 คำในช่วงแรก ให้ลูกได้หยิบกิน แล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อลูกต้องการ ส่วนอาหารควรมีลักษณะที่เคี้ยวและละลายได้ง่าย เช่น ผักต้มสุกหั่นชิ้นเล็กๆ โดยการให้ลูกกินแบบ finger food เป็นการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้เนื้อสัมผัส กลิ่น สี รสชาติของอาหาร รวมทั้งฝึกการควบคุมการใช้นิ้วมือในการหยิบจับสิ่งต่างๆ อีกด้วย

แนะนำเมนูสำหรับเด็ก 7 เดือน

สำหรับคุณแม่ที่กำลังมองหาอาหารทารก 7 เดือน เราก็มีเมนูมาแนะนำดังนี้

1.ซุปปลาผักรวม

วัตถุดิบ เนื้อปลา ฟักทอง แครอท ฟักอ่อน

วิธีทำ

  1. หั่นฟักทอง แครอท ฟักอ่อน ให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปต้มจนสุกนิ่ม
  2. ต้มปลาให้สุก แล้วยีเนื้อปลาออกเป็นชิ้นเล็กๆ
  3. นำปลาและผักมาผสมให้เข้ากัน

2.อาหารสำหรับเด็ก ข้าวตุ๋นไข่ใส่ฟักทอง

วัตถุดิบ ข้าวตุ๋น ฟักทอง ไข่แดง เต้าหู้

วิธีทำ

  1. ตุ๋นข้าว
  2. หั่นฟักทองและเต้าหู้ให้เล็กแล้วนำไปต้มจนสุกนิ่ม
  3. ต้มไข่ให้สุก แล้วปลอกเปลือกเอาแต่ไข่แดง
  4. ผสมไข่แดง ฟักทอง เต้าหู้ และข้าวตุ๋นให้เข้ากัน

3.ข้าวต้มใบเตยหมูบด

วัตถุดิบ ข้าวต้ม หมูบด ใบเตย ปวยเล้ง

วิธีทำ

  1. ต้มข้าวกับใบเต
  2. ตักใบเตยออก ใส่หมูบด ใส่ปวยเล้ง ต้มต่อจนสุก
  3. บดอาหารก่อนนำมาป้อน

4.อาหารทารก 7 เดือน ข้าวตุ๋นผักตับบด

วัตถุดิบ ข้าวตุ๋น แครอท ฟักทอง ผักบุ้ง ตับไก่บด

วิธีทำ

  1. ตุ๋นข้าว ใส่ตับไก่บด แล้วคนจนเข้ากัน
  2. หั่นแครอท ฟักทอง เป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปต้มจนสุกนิ่ม
  3. ลวกผักบุ้ง
  4. ผสมทุกอย่างให้เข้ากัน

5.ข้าวโอ๊ตตุ๋นนมงาดำ

วัตถุดิบ ข้าวตุ๋น ข้าวโอ๊ต งาดำคั่วบดหยาบ นมแม่

Sponsored

วิธีทำ

  1. ตุ๋นข้าว
  2. ใส่ข้าวโอ๊ต งาดำ และราดด้วยนมแม่ คนให้เข้ากันก่อนนำไปป้อน

คำแนะนำการให้อาหารลูกน้อย

มีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการเตรียมอาหารให้เด็กวัย 7 เดือนดังต่อไปนี้

1.เพียง 1 มื้อ

เด็กวัย 7 เดือนยังมีนมเป็นอาหารหลัก ส่วนข้าวถือเป็นอาหารเสริม ดังนั้นให้ลูกกิน 1 มื้อ หรือประมาณ 5-7 ช้อนโต๊ะก็เพียงพอ ซึ่งคุณแม่สามารถเพิ่มอาหารว่างให้เด็กด้วยผักและผลไม้เนื้ออ่อน ที่ต้องนำไปบดก่อนกิน 1-2 ชิ้น เช่น บล็อกโคลี แอปเปิ้ล สาลี่ กล้วย มะละกอสุก เป็นต้น และควรจัดให้เด็กนั่งเก้าอี้อยู่กับที่ ไม่เดินป้อนอาหารไปมา

2.ให้ไข่แดงเท่านั้น

เด็กที่อายุยังไม่ครบ 1 ปี คุณแม่ควรให้แต่ไข่แดง เพื่อป้องกันการแพ้อาหารจากไข่ขาว นอกจากนี้ อาหารทุกชนิดควรปรุงให้สุกก่อนนำมาป้อนลูก เช่น ไข่ ไม่ควรนำไข่ลวก หรือไข่แดงที่ยังไม่สุกมาให้ลูกกิน เพราะอาจทำให้ลูกติดเชื้อจากอาหารที่ไม่สุกได้

3.ปลาน้ำจืด

คุณแม่สามารถให้ลูกกินปลาได้ โดยเริ่มจากปลาน้ำจืดก่อน เช่น ปลาสวาย ปลาช่อนนา ซึ่งต้องระวังปลาที่มีก้างเยอะ โดยควรนำก้างออกให้หมดก่อนให้ลูกกิน

4.ให้ลูกกินนมแม่ต่อไป

เด็กควรได้กินนมแม่ 5-6 มื้อในแต่ละวัน ซึ่งขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว และคุณแม่สามารถนำนมแม่มาประกอบอยู่ในอาหารของลูกได้ แต่มีข้อแนะนำว่าไม่ควรนำนมแม่ไปผ่านความร้อนและปั่น เพราะจะทำให้คุณค่าสารอาหารในนมแม่ลดลง

5.ลูกต้องการไขมัน

คุณแม่สามารถเพิ่มน้ำหนักต้วให้ลูกได้ด้วยการใส่น้ำมันมะกอก extra virgin ลงในอาหารสำหรับเด็กที่ลูกกิน ครั้งละ ½ ช้อนชา

6.เน้นผัก

เพื่อไม่ให้ติดรสหวานจากผลไม้ คุณแม่ควรเน้นให้ลูกได้กินผักแทน ซึ่งสามารถนำมาทำเป็น finger food ให้เด็กๆ ได้ถือและกัดกินเองได้ด้วย

7.สังเกตอาการแพ้อาหาร

คุณแม่ควรสังเกตอาการแพ้อาหารของลูก โดยอาการแพ้อาหารของเด็กจะแสดงออกได้ดังนี้ เช่น มีผื่นขึ้น ปากและตาปวม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเป็นมูกเลือด ซึ่งถ้าพบว่าลูกแพ้อาหาร ควรให้หยุดกิน แล้วพาไปพบแพทย์ในทันที

ในช่วงวัยแรกเกิดถึง 3 ปีถือเป็นวัยทองที่ลูกจะได้รู้จักกับอาหารที่หลากหลาย ดังนั้นคุณแม่ควรให้ลูกได้ลองทาน อาหารทารก 7 เดือน เมนูต่างๆ โดยเน้นรสที่เป็นธรรมชาติ ปรุงแต่งให้น้อยที่สุด และที่สำคัญคือต้องมีประโยชน์และสารอาหารที่ครบถ้วน

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.10 อาหารเพิ่มน้ําหนักลูก เหมาะสำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อย

2.อาหารที่แม่กิน มีผลต่อการสร้างน้ำนม จะเลือกกินอย่างไรดี