หลังจากลูกน้อยกินนมแม่มาจนครบ 6 เดือนแล้ว ช่วงนี้ฟันของลูกเริ่มงอกบางส่วน เหงือกเริ่มมีความแข็งแรงมากขึ้น จึงถึงเวลาที่จะป้อนอาหารสำหรับเด็กทารกได้แล้ว เพื่อจะได้กระตุ้นพัฒนาการของช่องปาก กระพุ้งแก้ม และการกลืนอาหารของลูกให้พัฒนาตามวัย อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้เส้นใยสมองของลูกน้อยมีการเชื่อมต่อมากขึ้นจากการได้สัมผัสกับอาหารแปลกใหม่อีกด้วย
อาหารสำหรับเด็กทารก เริ่มได้ตอน 6 เดือน
วัย 6 เดือนของลูกน้อย ลำไส้ยังคงมีความบอบบางต่อการย่อยอาหารที่ย่อยยาก เช่น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ คุณแม่จึงจำเป็นต้องปรุงอาหารชนิดอ่อนให้ลูกน้อยลองกินดูก่อน เริ่มต้นแต่น้อยๆ และยังไม่ต้องข้นมากเพื่อให้ลูกมีความคุ้นเคยกับอาหาร ซึ่งอาหารสำหรับเด็กทารกที่เหมาะกับเด็กวัยนี้มีอะไรบ้างมาดูกันเลย
1.ข้าวบดผสมนมแม่
นำข้าวที่ต้มจนนุ่ม มาบดหรือครูดให้ละเอียดจนได้ที่ แล้วนำมาผสมกับนมแม่ คนให้กึ่งเหลวแล้วนำมาป้อนให้ลูกน้อย
2.ฟักทองบดกับนมแม่
ฟักทองนึ่งสุกปอกเปลือกออกบดละเอียด นำมาคนผสมกับนมแม่หรือน้ำซุปต้มกระดูกก็ได้ คนให้มีความเข้มข้นเป็นครีมแล้วป้อนลูกครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ
3.แครอทบดกับนมแม่
เตรียมแครอทต้มผสมกับข้าวต้มจนเละ แล้วนำมาครูดในกระชอนอีกครั้ง หากข้าวมีความข้นหนืดก็สามารถใช้น้ำนมแม่มาผสมให้มีความเหลวเพื่อสะดวกในการกลืนของลูกน้อย โดยป้อนให้ลูกครั้ง 1 ช้อนโต๊ะ
4.ซุปแอปเปิ้ล
อาหารสำหรับเด็กทารกสามารถนำแอปเปิ้ลมาปอกเปลือกหั่นชิ้นเล็ก นำไปตุ๋นกับน้ำซุปกระดูก แล้วป้อนลูกเพื่อช่วยให้ลูกได้รับเส้นใยชนิดละลายน้ำได้จากแอปเปิ้ล ซึ่งมีส่วนช่วยในการขับถ่ายของลูกน้อยได้ดี
5.ข้าวโอ๊ตกับนมแม่
สำหรับคุณแม่ที่ไม่ได้เตรียมอาหารให้ลูกน้อย หากมีข้าวโอ๊ตอยู่ในบ้าน สามารถนำเข้าโอ๊ตมาคนกับน้ำจนอิ่มตัว แล้วนำไปนึ่งให้สุก หลังจากนั้นก็ผสมน้ำนมแม่ คนให้เป็นครีมและนำมาป้อนให้ลูกกินได้เลย
6.กล้วยน้ำว้าครูดผสมข้าวและนมแม่
บดข้าวผสมกล้วยน้ำว้า โดยนำข้าว 1 ช้อนโต๊ะผสมกล้วยน้ำว้าครูดเอาแต่เนื้อครึ่งผล บดให้เข้ากันนำมาป้อนให้ลูก เพื่อเปลี่ยนรสชาติอาหารให้หลากหลายอย่าง ลูกน้อยจะได้ไม่เบื่อและมีความรู้สึกสนุกกับการกินอาหารเสริมอีกด้วย
5 อุปกรณ์ที่ต้องมี ในการทำอาหารเด็ก
คุณแม่ที่จะทำอาหารสำหรับเด็กทารกให้ลูกน้อย ได้กินอาหารแปลกใหม่หลากหลายชนิด จำเป็นต้องใช้เวลาในการเตรียมตัวหลายชั่วโมง จะดีกว่าไหม หากคุณแม่เตรียมตัวในครั้งเดียวแล้วสามารถจัดแบ่งอาหารแต่ละชนิดให้ลูกได้กินหลายวันโดยไม่เสียคุณค่าอาหาร วันนี้เรามีตัวช่วยมาแนะนำกันค่ะ
1.บล็อกซิลิโคนถ้วยรวมถึงกล่องเก็บอาหารแช่แข็ง
อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้คุณแม่สะดวกสบายในการเก็บอาหาร ที่จะเตรียมไว้ให้ลูกกินแต่ละมื้อ โดยไม่ต้องเสียเวลาเตรียมทุกมื้อ เพียงแค่นำอาหารที่ปรุงเรียบร้อยแล้วมาใส่ซิลิโคนเก็บอาหาร ซึ่งมีคุณสมบัติที่ทนต่อการแช่แข็งและความร้อนได้ เพื่อช่วยเก็บรักษาอาหาร และนำออกมาอุ่นให้ลูกน้อยกินได้ทันที ช่วยให้สะดวกและประหยัดเวลาในวันที่คุณแม่ไม่มีเวลามากพอในการเตรียมอาหารสำหรับเด็กทารกได้
2.ถ้วย ชามสำหรับใส่อาหาร
ช่วงวัยที่ลูกเริ่มกินอาหารเสริมคุณแม่ควรเตรียมถ้วย ชาม และช้อนที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติ เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อลูกน้อย โดยเฉพาะช้อนควรเลือกที่มีความนุ่มนวลอ่อนโยนต่อเหงือกของลูก เพราะขณะป้อนอาหารว่างสำหรับเด็กอาจจะไม่รู้จังหวะการกิน จนทำให้ช้อนที่แข็งเกินไปกระทบกับเหงือกจนอักเสบได้
3.แก้วน้ำสำหรับดูด
การเตรียมแก้วน้ำสำหรับดูดอาหารเหลวไว้ให้ลูกน้อยวัย 6 เดือน เพื่อได้ฝึกกินอาหารอย่างสะดวก แถมคุณแม่ยังช่วยให้ลูกน้อยสามารถใช้มือจับ และบังคับมือให้สัมพันธ์กับการดูดอาหารเข้าปากได้อีกด้วย
4.ผ้ากันเปื้อน
ผ้ากันเปื้อนนับว่ามีความจำเป็นสำหรับลูกน้อยวัยเพิ่งหัดกินอาหาร เพราะจะช่วยป้องกันเสื้อผ้าไม่ให้เปื้อนคราบอาหาร และเพิ่มความสะดวกในการทำความสะอาดให้กับคุณแม่มากขึ้น
5.ที่บดอาหาร
ที่บดอาหารมีความจำเป็นสำหรับการเตรียมอาหารให้ลูกน้อยวัย 6 เดือน เนื่องจากวัยนี้ต้องการอาหารที่บดละเอียดเพื่อสะดวกต่อการกลืน ประกอบลูกน้อยยังไม่พร้อมสำหรับการเคี้ยวอาหารชิ้นใหญ่ คุณแม่จึงจำเป็นต้องมีที่บดอาหารไว้ติดบ้านจะทำให้สะดวกมากขึ้น
เมื่อมีอุปกรณ์ทุกอย่างเตรียมพร้อมแล้ว ก็เริ่มทำอาหารสำหรับเด็กทารกได้เลย แต่คุณแม่ไม่ควรตื่นเต้นที่ลูกน้อยกินอาหารได้ดี จนเพลิดเพลินในการป้อนทำให้เผลอป้อนให้ลูกกินมากเกินไป เพราะจะส่งผลเสียต่อลูกน้อยได้ เช่นปวดท้อง ท้องอืด หรือในเด็กบางรายอาจมีการแพ้อาหารได้ ซึ่งคุณแม่ควรเริ่มจากน้อยๆ ไปหามากนะคะ และที่สำคัญหากลูกปฏิเสธอาหารก็ควรหยุดไปก่อน เว้นระยะแล้วค่อยมาป้อนใหม่จะดีที่สุด
= = = = = = = = = = = =
ติดตามความรู้ดี ๆ และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่