ลูกไม่ยอมดูดนมขวด ทำอย่างไรดี … ยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้คุณแม่ยุคนี้จำเป็นต้องรับภาระหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น จากแต่ก่อนที่คุณแม่สามารถเลี้ยงดูลูกน้อยได้ตลอดทั้งวัน ทั้งคืน โดยให้คุณพ่อเป็นผู้รับผิดชอบในการหาเลี้ยงครอบครัว แต่ยุคสมัยที่อะไร ๆ ก็จำเป็นต้องใช้เงิน คุณแม่จึงต้องออกมาทำงานเพื่อหารายได้เข้าสู่ครอบครัวเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้คุณแม่มือใหม่หลายท่านจึงประสบกับปัญหาอย่างหนึ่งคือ การให้ลูกอยู่กับผู้ดูแล และให้ลูกยอมดื่มนมจากขวดแทนการดูดจากเต้าของคุณแม่

ลูกไม่ยอมดูดนมขวด ทำอย่างไรดี

ปัญหานี้ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่มักพบเจอกับคุณแม่ที่น้อยประสบการณ์และไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไรถึงจะเหมาะสมและถูกต้องดี ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถหาทางออกได้โดยง่ายค่ะ เพียงคุณแม่รู้เทคนิคและวิธีการฝึกให้ลูกยอมดูดนมจากขวดแทนโดยธรรมชาติ คุณแม่จะต้องทราบเกี่ยวกับรายละเอียดดังนี้ก่อนค่ะ

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้ลูกดูดนมขวด

เด็กเล็กที่มีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่ที่จำเป็นต้องไปทำงานหลังคลอด 3 เดือนแรก ทำให้ช่วงเวลาแรกเกิด – 3 เดือน คุณแม่จึงควรให้เวลากับลูกน้อยอย่างเต็มที่ ดูแลด้วยตนเองเพื่อสร้างความรัก ความผูกพัน ถึงแม้ว่าคุณแม่จะไปทำงานหลังจากครบ 3 เดือนแรกแล้วก็ตาม แต่ไม่ใช่ว่าคุณแม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ใม่ได้นะคะ แนะนำให้คุณแม่ปั๊มน้ำนมเตรียมไว้ก่อนที่จะไปทำงานทุกครั้ง เพื่อให้ลูกยังคงได้รับคุณค่าจากน้ำแม่ ในการสร้างภูมิคุ้มกันให้นานที่สุด อย่างน้อย ๆ ควรจะให้ลูกมีอายุ 1 ขวบถึงจะเปลี่ยนเป็นนมผสม

สาเหตุที่ต้องให้ลูกดูดนมจากขวด

เหตุผลหลักที่คุณแม่หลายคนต้องการให้ลูกดูดนมจากขวด ก็คือ คุณแม่ต้องกลับไปทำงาน มีภาระหน้าที่ในการหารายได้เข้าครอบครัว และต้องการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของเจ้าตัวเล็ก ซึ่งเหตุผลเหล่านี้จึงทำให้คุณแม่หลายท่านตัดสินใจที่จะให้ลูกดูดนมขวดเร็วกว่ากำหนด เพื่อให้ลูกเคยชิน และไม่งอแง้เมื่อคุณแม่จะต้องกลับไปทำงาน

ข้อเสียของการให้ลูกดูดนมจากขวดเร็วกว่ากำหนด

เมื่อทราบสาเหตุของการให้ลูกดูดนมจากขวดแล้ว คุณแม่หลายท่านอาจจะไม่ทราบถึงข้อเสียบางอย่างที่มีผลในระยะยาว และอาจจะเป็นปัญหาสร้างความหนักใจให้กับคุณแม่ก็ได้ ซึ่งข้อเสียมีดังนี้

  1. ลูกจะติดขวดนม ถึงแม้จะมีอายุเกิดเกณฑ์ที่จะดูดนมขวดแล้วก็ตาม ลูกจะไม่ยอมเลิกดูด และร้องไห้งอแง้ได้
  2. กล้ามเนื้อบริเวณช่องปาก จะไม่แข็งแรง และมีลักษณะที่ผิดรูปได้ เนื่องจากการดูดนมจากจุกยาง ลูกจะดูดได้ง่าย และออกแรงไม่มาก ส่งผลเสียต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพราะไม่ได้ถูกกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง
  3. ลูกจะสับสน และไม่ยอมดูดนมจากเต้าของคุณแม่อีก ด้วยเหตุผลที่ว่าดูดนมจากจุกยางดูดได้ง่ายและทำให้อิ่มท้องเร็วกว่า ผลเสียที่ลูกไม่ยอมดูดนมแม่อีก คือ น้ำนมของคุณแม่จะลดปริมาณลง หรือไหลออกมาไม่มาก ส่งผลให้ลูกได้รับน้ำนนแม่ไม่เพียงพอ จนต้องอาศัยนมผสมแทน ซึ่งไม่ดีต่อสุขภาพของเด็กเล็กค่ะ

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่มีภาระหน้าที่ต้องให้ลูกดูดนมจากขวดนั้น แนะนำให้ลูกมีอายุมากกว่า 3 เดือนไปแล้วจะเป็นการดีที่สุดค่ะ ซึ่งคุณแม่สามารถทำตามเทคนิคง่าย ๆ ดังนี้

เทคนิคให้ลูกดูดนมแม่จากขวด

  • หลีกเลี่ยงการให้ลูกดูดขวดเวลาหิวจัด เพราะอาจจะทำให้ลูกโมโหและหงุดหงิดจนไม่ยอมกินได้ แนะนำให้ป้อนก่อนสัก 15 นาที ก่อนจะถึงเวลาที่เคยดูดนมแม่ปกติค่ะ หรือในขณะที่กำลังหลับ ๆ อยู่ใกล้จะตื่น
  • ลองเปลี่ยนวิธีการอุ้มไม่ ที่ไม่ใช่ท่าอุ้มเหมือนตอนที่คุณลูกดูดนมแม่ เพราะเด็กบางคนจะจำและเรียนรู้ได้ว่า ถ้าอุ้มในลักษณะนี้จะต้องดูดนมแม่เท่านั้น แนะนำให้เปลี่ยนจากการอุ้มแนบอก เป็นการนอนแปล หรือนอนบนที่นอนแทนขณะป้อน ในกรณีที่ลูกชอบให้มีการเคลื่อนไหวขณะดูดนม แนะนำให้คุณแม่ลองนั่งบนโต๊ะโยก ทุกครั้งขณะป้อน น่าจะทำให้ลูกยอมดูดนมจากขวดได้ดีขึ้นค่ะ
  • ลองเปลี่ยนจุกนมหลายแบบ แล้วสังเกตว่าลูกชอบดูดจากจุกแบบใดมากที่สุด เพื่อให้การดูดนมจากขวดง่ายขึ้นคุณแม่ควรตามใจเลือกในสิ่งที่ลูกต้องการนะคะ สำหรับจุกยางที่เหมาะสมและน่าจะเป็นทางเลือก ควรจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับนมแม่ มีความนุ่ม ยืดหยุ่นพอเหมาะ และสามารถดูดได้ง่าย ๆ จะทำให้ลูกยอมดูดนมจากขวดค่ะ
  • ให้ลูกดูดนมจากขวดบ่อย ๆ เพื่อสร้างความเคยชิน โดยให้ลูกลองดูดนมขวดเวลากลางวัน และลดการดูดนมแม่เวลากลางคืนลง เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับจุกยางและสามารถดูดนมขวดได้อย่างที่คุณแม่ต้องการ
  • กรณีที่คุณแม่ต้องให้ผู้อื่นดูแลแทน ในการหัดป้อนนมขวดครั้งแรก คุณแม่ควรจะอยู่อีกห้องหนึ่งและปล่อยให้คนที่จะทำหน้าที่สำคัญนี้แทนคุณ หัดทำด้วยตัวเอง ไม่แนะนำให้คุณแม่อยู่ใกล้ ๆ เวลาที่กำลังฝึก เพราะลูกจะไม่ยอมกินนมจากผู้อื่น และร้องไห้งอแงได้นั่นเองค่ะ

สำหรับในกรณีที่คุณแม่มีวันหยุดยาว แล้วต้องดูแลลูกตลอดเวลา อาจจะให้ลูกดูดนมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลานาน ทำให้ลูกไม่ยอมกลับไปดูดนมขวดอีก ดังนั้น เพิ่มหลีกเลี่ยงปัญหานี้ แนะนำให้คุณแม่ให้นมลูกเหมือนเดิม โดยการป้อนด้วยนมขวดบ้างเหมือนกับทุกวันที่คุณแม่ต้องไปทำงาน เพื่อป้องกันลูกกลับมาติดนมแม่อีกครั้ง ส่งผลให้คุณแม่ต้องเริ่มต้นการฝึกใหม่ซึ่งเสียเวลาอย่างมากเลยทีเดียวค่ะ

Sponsored

ทั้งนี้การฝึกให้ลูกดูดนมขวดจากผู้ที่รับหน้าที่แทน อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ คุณแม่จะต้องมีความอดทน และพยายามสักหน่วยนะคะ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการฝึก อาจจะทำให้คุณแม่เกิดความเหนื่อยทั้งกายและใจมากเป็นพิเศษ แต่ก็ขอให้ตั้งใจและมุ่งหมั่นให้มาก ๆ นะคะ เพื่อความสำเร็จและความสบายใจ

= = = = = = = = = = = =

ติดตามความรู้ดี ๆ  และสาระดี ๆ เพิ่มเติม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ และลูกน้อย ได้ที่ www.konthong.com หรือ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้ที่
https://www.facebook.com/teamkonthong/

We promise to provide the knowledge and know-how for new mom. More and more solutions about how can you grow up your baby. Feel free to contact us if any problems have occurred or have any questions you would like to know. Don’t forget to follow and keep in touch with us on Facebook

https://www.facebook.com/teamkonthong/

บทความน่ารู้ เพิ่มเติม คลิกเลย …..

1.ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในเด็ก ร้ายแรงมากแค่ไหน

2.8 วิธีการดูแลลูกน้อย เมื่อมีอาการป่วยเป็นไข้หวัด