ลูกท้องผูกไม่ถ่ายหลายวันถือเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณแม่เป็นอย่างยิ่ง เพราะการขับถ่ายถือเป็นการขับของเสียออกจากร่างกาย และหากไม่มีการขับถ่ายก็เหมือนกับร่างกายได้เก็บกักของเสียเอาไว้ ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้ก่อให้เกิดอาการท้องอืดปวดท้องตามมาได้ หากปล่อยไว้จะทำให้ลำไส้ขยายตัวใหญ่ขึ้น การบีบตัวของลำไส้น้อยลงและอาจจะเป็นแผลในลำไส้ได้ โดยหาก ทารกไม่ถ่าย ท้องผูก อึแข็ง อุจจาระไม่ออกต้องทำอย่างไรดี วันนี้เรามีวิธีแก้อาการท้องผูกมาแนะนำ ลองเอาไปปรับใช้ดูเชื่อว่าจะช่วยบรรเทาอาการท้องผูกให้กับลูกน้อยได้อย่างแน่นอน
ทารกไม่ถ่าย กี่วันถือว่าผิดปกติ
โดยปกติแล้ว เด็กทารก ที่กินนมแม่ล้วนนั้น จะทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น มีการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกายได้เร็ว และสามารถย่อยนมได้ง่ายไม่เหลือกากอาหารสำหรับไว้ขับถ่าย ก็อาจจะทำให้ ทารกไม่ถ่าย หลายวันหรืออาจจะนานถึง 2 – 3 วันเลยก็ยังถือว่าปกติดีอยู่ โดยคุณแม่ควรสังเกตอุจจาระของลูกด้วยว่ามีอุจจาระนิ่มหรือแข็ง แต่ถ้าแข็งเล็กน้อยก็ยังถือว่าปกติดี แต่ถ้าแข็งและมีอาการท้องผูกนานมากกว่า 5 วันขึ้นไป อาการนี้ถือว่าผิดปกติอาจจะมีอาการท้องผูก คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
ทำอย่างไร เมื่อลูกไม่ถ่ายหลายวัน
ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ หากมีอาการท้องผูกไม่ขับถ่ายก็จะทำให้เกิดอาการอึดอัด ไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว หงุดหงิดได้ง่าย หากลูกมีอาการท้องผูกไม่ถ่ายมาแล้วหลายวัน คุณแม่สามารถแก้อาการท้องผูกให้กับลูกน้อยได้หลายวิธี ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1.ปรับการกินอาหารของทารก
ทารกไม่ถ่าย หากลูกอยู่ในช่วงตั้งแต่ 0 – 6 เดือนที่อยู่ในช่วงทานนมแม่อย่างเดียว ช่วงวัยนี้จะไม่ค่อยมีปัญหาระบบขับถ่ายหรือท้องผูก แต่ถ้าลูกมีอาการท้องผูก ไม่ถ่าย คุณแม่ลองปรับอาหารการกินของคุณแม่ หันมาทานผักและผลไม้เพิ่มมากขึ้น หรือบางครั้งอาการท้องผูกอาจเกิดมาจากการแพ้อาหารก็ได้ คุณแม่จึงควรเลี่ยงอาหารที่ส่งผลต่อการขับถ่ายของลูก แต่ถ้าลูกมีอายุ 6 เดือนขึ้นไปที่สามารถรับอาหารเสริมได้แล้ว คุณแม่ควรเสริมใยอาหารให้กับลูกด้วยการให้ลูกกินผักผลไม้บดนั่นเอง
2.ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ
อาการท้องผูกส่วนใหญ่มักจะมาจากสาเหตุดื่มน้ำไม่เพียงพอ แต่ 6 เดือนแรกก็ดื่มนมเป็นหลักเพียงอย่างเดียว แต่ถ้า 6 เดือนขึ้นไปแล้วควรให้ลูกดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เพื่อกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ และทำให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายง่าย
3.ให้ลูกออกกำลังกาย
นอกจากการปรับอาหารการกินและการดื่มน้ำให้เพียงพอแล้ว การออกกำลังกายก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้เป็นอย่างดี เมื่อ ทารกไม่ถ่าย คุณแม่สามารถพาลูกออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นการขับถ่ายโดยการยกขาทั้งสองข้างของลูกขึ้นมาและทำการหมุนช้าๆ เหมือนการปั่นจักรยานในอากาศ ท่านี้จะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้คลายตัวได้ดี ทำให้ลูกมีระบบขับถ่ายดีขึ้น
4.นวดท้องใต้สะดือ
การนวดบริเวณช่วงใต้สะดือก็เป็นการกระตุ้นลำไส้ได้ดี ส่งผลให้ เด็กทารก ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น โดยคุณแม่ลองใช้นิ้วมือกดนวดท้องลูกบริเวณใต้สะดือและบริเวณรอบๆ สะดือ นวดวนไปมาเป็นเข็มนาฬิกาเบาๆ ประมาณ 3 นาที วันละหลายๆ ครั้งจนกว่าลูกจะมีการขับถ่ายเป็นปกติ
5.ฝึกให้ลูกขับถ่ายทุกวัน
หากลูกโตพอที่จะสามารถเข้าห้องน้ำขับถ่ายได้แล้ว คุณแม่ควรฝึกลูกให้มีการขับถ่ายทุกวันเป็นเวลา โดยเฉพาะช่วงเวลาเช้า เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว และเมื่อถึงเวลาก็จะทำให้มีอาการปวดท้องอยากขับถ่ายขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ
6.ปรึกษาแพทย์
หากลองมาแล้วเกือบทุกวิธีและยังไม่ดีขึ้น ทารกไม่ถ่าย คุณแม่ลองไปปรึกษาแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำหรือใช้ยาเพื่อรักษาอาการท้องผูกของลูก โดยแพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้ยาช่วยให้อุจจาระไม่แข็งตัว ช่วยให้เด็กถ่ายง่ายขึ้น หรืออาจจะให้ยากลีเซอรีนมาเพื่อเหน็บ แต่ก็ไม่ควรใช้ยาเหน็บบ่อยๆ เพราะจะทำให้เคยชินและไม่สามารถถ่ายเองโดยธรรมชาติ นอกจากนี้ไม่ควรซื้อยามาให้ลูกทานเองหากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์
ควรสวนอุจจาระให้ลูกหรือไม่
หากพบว่า ทารกไม่ถ่าย มีอาการท้องผูก ไม่แนะนำให้สวนอุจจาระให้กับลูก เพราะการสวนอุจจาระจะเป็นการรบกวนกระบวนการทำงานของลำไส้และยังเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อีกทั้งยังทำให้เด็กเคยตัวและจะไม่ยอมขับถ่ายเองโดยธรรมชาติ การสวนอุจจาระจึงไม่ควรทำให้ลูก ควรหันมาแก้ที่ต้นเหตุด้วยการปรับพฤติกรรมการกินและหมั่นพาลูกออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นระบบขับถ่ายให้ลูกจะดีกว่า แต่ทั้งนี้หากจำเป็นจริงๆ และแพทย์บอกให้สวนได้ ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ไม่ควรทำทุกครั้งที่ลูกท้องผูกนั่นเอง
อาการท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กที่ทานนมแม่และเด็กที่ทานนมชง หากเด็กที่ทานนมแม่มีอาการไม่ถ่ายหลายวันก็ไม่น่าตกใจเท่าไหร่ เพราะนมแม่ย่อยง่ายและไม่ค่อยเหลือกากให้ขับถ่าย แต่ถ้าเกิดกับเด็กที่ทานนมชง คุณแม่สามารถนำวิธีที่เราได้แนะนำมาข้างต้นนี้ไปปรับใช้แก้ไขอาการท้องผูกให้กับลูกดู แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้น ทารกไม่ถ่าย แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาหาวิธีรักษาให้เหมาะสม เพราะอาการท้องผูกบางทีอาจจะมีสาเหตุเกิดจากปัญหาสุขภาพอย่างอื่นแทรกซ้อนก็ได้
= = = = = = = = = = =